
10 ธันวาคม 2566 กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานพยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้นเล็กน้อย แต่ยังคงมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้าบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ในขณะที่ลมตะวันออกพัดความชื้นเข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกและภาคกลางตอนล่าง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนบางแห่งเกิดขึ้นได้ ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย
สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคใต้ตอนล่างยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองในระยะนี้ไว้ด้วย
ออกประกาศ 10 ธันวาคม 2566
พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทย
06:00 น. วันนี้ ถึง 06:00 น. วันพรุ่งนี้
ภาคเหนือ
อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้นเล็กน้อย
โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และเชียงราย
อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส
บริเวณยอดดอยอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-16 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้นเล็กน้อย
อุณหภูมิต่ำสุด 18-23 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส
บริเวณยอดภูอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-16 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ภาคกลาง
อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง
อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ภาคตะวันออก
มีหมอกในตอนเช้า และมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง
อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร
ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก) มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส
ตั้งแต่จังหวัดสุราษฏร์ธานีขึ้นมา : ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป : ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดพังงา กระบี่ และตรัง
อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
กรุงเทพและปริมณฑล
มีหมอกในตอนเช้า
อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 34-35 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ออกประกาศ 10 ธันวาคม 2566
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เปิด 10 อันดับ พื้นที่ร้อนจัด! 'แม่ฮ่องสอน' ทะลุ 42.3 องศา
กรมอุตุนิยมวิทยารายงานว่า อุณหภูมิสูงสุดบริเวณประเทศไทย เมื่อวานนี้ (27 เม.ย. 68) วัดได้ 42.3 องศาเซลเซียส ที่ อ.เมืองแม่ฮ่องสอน จ.แม่ฮ่องสอน
กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 9 เตือน 'พายุฤดูร้อน' ถล่มถึง 1 พ.ค.
นางสาวสุกันยาณี ยะวิญชาญ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบในช่วงวันที่ 28 เมษายน – 1 พฤษภาคม 2568) ฉบับที่ 9 โดยมีใจความว่า
อุตุฯ เตือนพายุฝนฟ้าคะนอง 64 จังหวัด ลมแรง ลูกเห็บตก ฟ้าผ่า
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตก
ภาพถ่ายดาวเทียมพบกลุ่มเมฆฝนปกคลุม 12 จว. กำลังเคลื่อนไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ
กรมอุตุนิยมวิทยา โพสต์ข้อความระบุว่า ภาพถ่ายดาวเทียมและภาพเรดาร์
กรมอุตุเตือนพายุฤดูร้อนไทยตอนบน ฝนตกหนักบางพื้นที่
ประกาศกรมอุตถนิยมวิทยา ฉบับที่ 7 พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน มีผลกระทบในช่วงวันที่ 27 เมษายน – 1 พฤษภาคม 2568
กรมอุตุฯ เตือนทั่วไทย รับมือภัยอากาศแปรปรวน!
กรมอุตุนิยมวิทยาเตือนประชาชนไทยตอนบนระวังพายุฤดูร้อน ฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตกบางพื้นที่ ขณะที่ภาคใต้ยังมีฝนตกหนักและคลื่นลมแรงในทะเลอันดามัน ชี้ฝุ่นละอองภาคเหนือ–อีสานสะสมสูงจากลมอ่อน