คลังรื้อใหญ่ภาษีมรดกลุยปรับอัตรา-มูลค่าจัดเก็บใหม่

“คลัง” เดินเครื่องรื้อใหญ่ภาษีมรดก ลุยปั้นใหม่ “อัตรา-มูลค่าจัดเก็บ” ขึงหลักการสร้างความเป็นธรรม กางสถิติผ่านไป 5 ปีเก็บภาษีได้ 800 ล้านบาท

17 ม.ค. 2566 – รายงานข่าวจากกระทรวงการคลัง ระบุว่า กรมสรรพากรได้ส่งหลักการแก้ไขภาษีการรับมรดก ซึ่งเป็นการดำเนินการตามนโยบายของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.การคลัง ที่มอบหมายให้กรมสรรพากรไปศึกษาการปรับปรุงกฎหมายการจัดเก็บภาษีการรับมรดกเมื่อเดือน ต.ค.2566 เพื่อให้การจัดเก็บภาษีมีความสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันมากขึ้น โดยการแก้ไขภาษีการรับมรดกจะส่งผลต่อการจัดเก็บจะส่งผลให้รัฐสามารถจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้น สร้างความเป็นธรรมให้ผู้เสียภาษี และลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม มากกว่าการเป็นกฎหมายที่มีขึ้นในเชิงสัญลักษณ์เท่านั้น

สำหรับขั้นตอนพิจารณาแก้ไขจากนี้กระทรวงการคลังโดยสำนักงานปลัดกระทรวงการคลังจะพิจารณาการปรับปรุงหลักการดังกล่าว เพื่อให้ รมว.การคลังเห็นชอบ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในไตรมาส 1/2567 จากนั้นจะส่งรายละเอียดทั้งหมดกลับไปที่กรมสรรพากร เพื่อจัดทำร่างแก้ไขพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ภาษีการรับมรดกเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเห็นชอบต่อไป

รายงานข่าว ระบุอีกว่า หลักการแก้ไขภาษีการรับมรดก คาดว่าจะปรับปรุงใน 2 ประเด็นคือ 1.มูลค่าการจัดเก็บภาษีการรับมรดกในส่วนที่มีมูลค่าเกินกว่า 100 ล้านบาทต่อราย จะมีการปรับใหม่ให้มีความเหมาะสมมากขึ้นเพื่ออุดช่องโหว่ในการหลีกเลี่ยงภาษีได้ เช่น การกระจายการรับมรดกหลาย ๆ คน เพื่อไม่ให้จำนวนมรดกอยู่ในฐานที่ต้องเสียภาษี และ 2.อัตราการจัดเก็บภาษี ก็จะต้องมีการปรับเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่ 5% และ 10% แต่ยังคงภาษี 2 อัตราสำหรับบุพการีหรือผู้สืบสันดานของผู้ส่งมอบมรดก และสำหรับผู้ที่ไม่ใช่บุพการีหรือผู้สืบสันดานของผู้ส่งมอบมรดก

“จากข้อมูลพบว่าที่ผ่านมา 5 ปี มีการเสียภาษีรับมรดกราว 700-800 ล้านบาทถือว่าไม่สูงมากเพราะเป็นภาษีกรณีเฉพาะคงไม่ได้มุ่งเน้นที่จะเก็บรายได้เพิ่มอย่างมีนัยยะสำคัญ แต่การปรับปรุงการจัดเก็บใหม่จะทำให้เกิดความเป็นธรรม และเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับหลายประเทศ ซึ่งมีการเก็บในอัตราที่สูงกว่าไทยมากเฉลี่ยราว 30% เช่น ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้จัดเก็บ 10-50%”

ขณะที่ทรัพย์สินมรดกที่เข้าข่ายต้องเสียภาษี อาทิ อสังหาริมทรัพย์ หุ้น ตราสารหนี้ เงินฝาก ยานพาหนะที่มีหลักฐานทางทะเบียน ทรัพย์สินทางการเงิน ส่วนมรดกที่ไม่ต้องเสียภาษี เช่น เงินสด ทองคำ เครื่องเพชร พลอย ของสะสมของโบราณ และทรัพย์สินทางปัญญา คาดว่าจะยังคงไว้ตามเดิม

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กระทุ้ง 'วิโรจน์' ร้องศาลรธน. วินิจฉัย 'นายกฯอิ๊งค์' ส่อไม่ซื่อสัตย์ ปมตั๋วPN

นายดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม ประธานสถาบันสุจริตไทย และอดีตสมาชิกวุฒิสภา (สว.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ชื่นชมนายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน

'วิโรจน์' บุกสรรพากร บี้วินิจฉัยทางการ 'อิ๊งค์' ใช้ตั๋วPN ส่อเลี่ยงภาษีหรือไม่ จ่อเรียกอธิบดีแจงกมธ.

'วิโรจน์' บุกกรมสรรพากร สอบ 'นายกฯ' ใช้ตั๋ว P/N ซื้อขายหุ้นทิพย์ จี้วินิจฉัยเป็นทางการ-ลายลักษณ์อักษร หวั่น ปชช.ทำตาม กระทบระบบจัดเก็บภาษีประเทศ จ่อให้ กมธ.เศรษฐกิจ เรียก 'อธิบดี' แจง

'อิ๊งค์' ย้อน 'วิโรจน์' ยื่นสรรพากรสอบ 'ตั๋วPN' ยังไม่จ่ายตังค์จะคิดภาษีได้อย่างไร

น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณี นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.บัญชีรายชื่อและรองหัวหน้าพรรคประชาชน ไปยื่นกรมสรรพากร ให้ตรวจสอบกรณีใช้ตั๋วPN

'จุลพงษ์' เตือนสรรพากรอย่าพึ่งรีบตีความตั๋วP/Nลองย้อนดูอดีต รมช.การคลังที่ติดคุกก่อน

เตือนอธิบดีกรมสรรพากร ตีความตั๋วP/N นายกฯ เลี่ยงภาษีหรือไม่ อย่าให้ซ้ำรอยอดีต รมช.การคลัง 'เบญจา หลุยเจริญ' อดีตรองอธิบดีสรรพากรที่ต้องเข้าคุก ชี้เป้า 2 ปมผิดปกติ เป็นการฝากหุ้นเพื่อเลี่ยงภาษี