เชฟรอนฯ และ ปตท.สผ. ลงนามข้อตกลงเตรียมเข้าพื้นที่เอราวัณ รับข้อสรุปล่าช้า 2 ปี

เชฟรอนฯ และ ปตท.สผ. ลงนามข้อตกลงความร่วมมือฯเตรียมเข้าพื้นที่เอราวัณ ผลิตก๊าซต่อเนื่อง รับสรุปข้อตกลงล่าช้า 2 ปี หวั่นส่งผลกระทบต่อปริมาณการผลิตก๊าซธรรมชาติในช่วงเปลี่ยนผ่าน ย้ำทั้ง 2 บริษัทพร้อมที่จะดำเนินการบรรเทาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น

25 ธ.ค. 2564 นายสราวุธ แก้วตาทิพย์ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ(ชธ.) เปิดเผยว่าบริษัท ปตท.สผ. เอนเนอร์ยี่ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด หรือ ปตท.สผ. อีดีในฐานะผู้ดำเนินการรายใหม่ภายใต้ระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต ของแปลง G1/61 และบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ผู้รับสัมปทานรายเดิมได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือในช่วงเปลี่ยนผ่านของแหล่งก๊าซธรรมชาติกลุ่มเอราวัณ ซึ่งประกอบด้วย ข้อตกลงการเข้าพื้นที่ (SAA) ข้อตกลงการเข้าพื้นที่เพื่อดำเนินกิจกรรมการรื้อถอนสิ่งติดตั้ง (ARAA) และ ข้อตกลงการถ่ายโอนการดำเนิน (OTA) ซึ่งจะทำให้การดำเนินการตามสัญญาแบ่งปันผลผลิตในโครงการแปลง G1/61 เดินหน้าต่อไป

“ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา จากปัญหาความล่าช้าในการเข้าพื้นที่แหล่งเอราวัณนั้นกรมฯ ในฐานะหน่วยงานที่กำกับดูแลการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศ ได้ใช้ความอุตสาหะพยายามอย่างเต็มที่ในการดำเนินการเพื่อประสานให้ทั้ง 2 บริษัทมาหารือเพื่อให้ได้ข้อตกลงต่าง ๆ ร่วมกัน ที่จะส่งผลให้การดำเนินงานในช่วงเปลี่ยนผ่าน เป็นไปอย่างราบรื่น กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติมีความกังวลที่การลงนามในข้อตกลงฯ ดังกล่าวเกิดความล่าช้าเป็นเวลากว่า 2 ปี แต่ก็มีความยินดีที่ ณ ปัจจุบันการลงนามข้อตกลงฯ ส่งผลให้เกิดความชัดเจนมากขึ้น สำหรับการเข้าพื้นที่ของ ปตท.สผ.อีดี เพื่อเตรียมความพร้อมในการผลิตก๊าซธรรมชาติในแหล่งดังกล่าวเพื่อประโยชน์ต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ และความเป็นอยู่ของประชาชนเป็นสำคัญ”นายสราวุธ กล่าว

สำหรับความสำคัญของข้อตกลงทั้ง 3 ฉบับ ได้แก่ 1. ข้อตกลงการเข้าพื้นที่ (SAA) ซึ่งเป็นข้อตกลงเพื่อให้ผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตสามารถเข้าพื้นที่ไปดำเนินกิจกรรมเตรียมการ เช่น การติดตั้งแท่นหลุมผลิต การเจาะหลุมผลิต และการเชื่อมต่อแท่นหลุมผลิตใหม่เข้ากับแท่นหลุมผลิตเดิม 2. ข้อตกลงการเข้าพื้นที่เพื่อดำเนินกิจกรรมการรื้อถอนสิ่งติดตั้ง (ARAA) ซึ่งเป็นข้อตกลงเพื่อให้ผู้รับสัมปทานสามารถเข้าพื้นที่เพื่อดำเนินกิจกรรมการรื้อถอนสิ่งติดตั้งที่รัฐไม่รับมอบภายหลังสิ้นสุดอายุสัมปทาน ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 80/1 แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และข้อ 22 แห่งกฎกระทรวง กําหนดแผนงาน ประมาณการค่าใช้จ่าย และหลักประกันในการรื้อถอนสิ่งติดตั้งที่ใช้ในกิจการปิโตรเลียม พ.ศ. 2559 ซึ่งผู้รับสัมปทานมีหน้าที่ในการจัดทำข้อตกลงการส่งมอบสิ่งติดตั้ง (ATA) รวมถึงข้อกำหนดในสัมปทานปิโตรเลียม

และ 3. ข้อตกลงการถ่ายโอนการดำเนินงาน (OTA) ซึ่งเป็นข้อตกลงที่กำหนดกรอบความร่วมมือในการถ่ายโอนการดำเนินงานระหว่างผู้รับสัมปทานและผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิต เช่น การส่งมอบข้อมูลที่จำเป็นต่อการประกอบกิจการปิโตรเลียมให้แก่ผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิต การถ่ายโอนการดำเนินงานระหว่างกัน เป็นต้น ซึ่งเป็นการดำเนินการตามข้อ 6 ของประกาศกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เรื่องข้อตกลงการส่งมอบสิ่งติดตั้ง พ.ศ. 2561

ทั้งนี้ บริษัท ปตท.สผ. อีดี เป็นผู้ชนะการประมูลและจะเป็นผู้ดำเนินงานรายใหม่ในแหล่งก๊าซธรรมชาติเอราวัณหลังจากสัมปทานของบริษัท เชฟรอนฯ หมดอายุลงในเดือนเม.ย. 2565 ซึ่งตามเงื่อนไขในการประมูลนั้น บริษัท ปตท.สผ.อีดี จะต้องผลิตก๊าซธรรมชาติให้ได้ในอัตรา 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ซึ่งความล่าช้าในการทำข้อตกลงฯ ของทั้ง 2 บริษัทอาจส่งผลกระทบต่อปริมาณการผลิตก๊าซธรรมชาติในช่วงเปลี่ยนผ่าน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

พนักงานโครงการผลิตนอกชายฝั่ง ปตท.สผ. สมทบทุนทรัพย์ช่วยเหลือผู้ป่วยโรคหัวใจภาคใต้

12 เม.ย.67 – คณะผู้บริหารและพนักงาน ปตท.สผ. โครงการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมนอกชายฝั่ง ร่วมบริจาคทุนทรัพย์ส่วนตัวสมทบโครงการกองทุนพัฒนาศูนย์โรคหัวใจและหลอดเลือดในพื้นที่ภาคใต้ รวมกว่า 7 แสนบาท

“กรมเจ้าท่า ร่วมกับ ปตท.สผ.” จัดฝึกอบรมและประชุมเชิงปฏิบัติการเตรียมความพร้อมและการตอบสนองเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหล ครั้งที่ 2

เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567 นายภูริพัฒน์ ธีระกุลพิศุทธิ์ รองอธิบดีกรมเจ้าท่า ด้านปลอดภัย เป็นประธานฯ เปิดการอบรมและประชุมเชิงปฏิบัติการเตรียมความพร้อมและการตอบสนองเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหล ครั้งที่ ๒ ณ ห้องประชุม ลากูนาคิงเอ โรงแรม ลากูน่า แกรนด์ โฮเทล แอนด์ สปา

ลุ้นศาลปกครองสูงสุดชี้ขาดคดีขุดเจาะปิโตรเลียมบนบกที่บุรีรัมย์!

ระทึก! 13.30 น.ศาลปกครองสูงสุดเตรียมชี้ขาดปมฟ้องขุดเจาะปิโตรเลียมบนบกที่บุรีรัมย์ หลังศาลปกครองชั้นต้นพิพากษายกฟ้องมาแล้ว เพราะผู้ฟ้องไม่ใช่ผู้เสียหาย

ปตท.สผ. เผย 6 เดือนทำรายได้ 1.4 แสนล้านบาท

ปตท.สผ. เผย 6 เดือนทำรายได้ 4,359 ล้านเหรียญสหรัฐ โวทำงานตามแผน ทั้งการเพิ่มอัตราการผลิตก๊าซโครงการจี 1/61 ช่วยบรรเทาผลกระทบด้านต้นทุนพลังงาน และการเดินหน้าพัฒนาพลังงานรูปแบบใหม่ พร้อมอนุมัติเงินปันผลระหว่างกาล 4.25 บาทต่อหุ้น