TICA เชื่อมความสัมพันธ์ไทย-สปป.ลาวมอบ26ทุนการศึกษาระดับป.โท

ตลอดระยะเวลา 70 ปีของความสัมพันธ์ทางการทูตไทย และ สปป.ลาว สิ่งที่รัฐบาลไทยให้ความสำคัญมาโดยตลอด คือ การดำเนินงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนา โดยเฉพาะการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งเป็นหัวใจของการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ และเป็นรากฐานสำคัญที่นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

ล่าสุด ณ สถานเอกอัครราชทูตแห่งราชอาณาจักรไทย ประจำสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) จัดพิธีมอบทุนการศึกษาและทุนฝึกอบรมของรัฐบาลไทย ประจำปีการศึกษา 2565-2566  โดยกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงต่างประเทศ(TICA)  ภายใต้ความร่วมเพื่อพัฒนาทวิภาคีไทย-ลาว โดยในปีนี้ผู้รับทุนการศึกษาระดับปริญญาโททั้งสิ้น 26 ทุน และผู้รับทุนฝึกอบรม หลักสูตร Knowledge of Diplomacy for Participants from Lao People’s Democratic Republic จำนวน 5-8 ราย เพื่อสนับสนุนการเพิ่มศักยภาพบุคลากร ซึ่งจะได้รับการเข้าศึกษาในสาขาที่จำเป็นต่อการพัฒนา สปป.ลาว ผ่านการมอบทุนการศึกษาเพื่อศึกษาหลักสูตรต่างๆในประเทศไทย

อุรีรัชต์ เจริญโต

อุรีรัชต์ เจริญโต อธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงต่างประเทศ กล่าวว่า ที่ผ่านมารัฐบาลไทยได้มีการมอบทุนการศึกษาให้กับนักศึกษาสปป.ลาว ประมาณปีละ 30 ทุน โดยในปีนี้ได้คัดเลือกผู้ที่ผ่านเกณฑ์ได้รับทุนการศึกษาในระดับการศึกษาปริญญาโทจำนวน 26 ทุน ในภาคการศึกษาที่ 2 ปี 2565 เพื่อเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศไทย โดยผู้ที่ได้รับทุนจะเป็นบุคลากรในหน่วยงานราชการประจำสปป.ลาว เพราะเมื่อจบการศึกษาความรู้และประสบการณ์ต่างได้รับจากไทย จะต้องนำกลับมาพัฒนาเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศของผู้รับทุน ซึ่งเป็นบุคคลเหล่านี้จะเป็นส่วนหนึ่งในอนาคตของความสัมพันธ์ไทย-ลาว  

“โดยผู้ที่ได้รับทุนนั้นจะได้เข้าเรียนเตรียมความพร้อมเพื่อพัฒนาทักษะด้านภาษาไทยและภาษาอังกฤษก่อนเริ่มเรียนมหาวิทยาลัยที่ไทย ซึ่งจัดขึ้นโดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นระยะเวลาประมาณ 2 เดือน ตั้งแต่กลางเดือนกันยายน-กลางเดือนพฤศจิกายน 2565 หวังเป็นอย่างยิ่งว่านักศึกษาทุกคนที่ได้รับทุนจะสามารถพัฒนาทักษาทางด้านภาษา เพื่อการสื่อสารและเข้าใจในเชิงวิชาการจนสามารถสำเร็จการศึกษา และนำความรู้ ประสบการณ์ กลับมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการพัฒนา สปป.ลาว ความร่วมมือในครั้งนี้เปรียบเสมือนการปลูกต้นไม้ใหญ่ ที่หยั่งรากลึก แผ่กิ่งก้าน และออกดอกออกผลให้ประโยชน์กับทั้งสองประเทศได้อย่างยั่งยืน” อธิบดี TICA กล่าว

ดร.บัววัน วิระวง

ดร.บัววัน วิละวง  อธิบดีกรมอุตสาหกรรมและหัตถกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ได้เล่าถึงประสบการณ์ที่เคยได้รับทุนการศึกษาของไทยว่า  ได้รับทุนการศึกษาในระดับปริญญาตรี เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ คณะเศรษฐศาสตร์ ม.จุฬาฯ ในปี 2538-2541 นับว่าเป็นเกียรติที่ได้รับทุนเข้าศึกษามหาวิทยาลัยอันดับต้นของไทย ซึ่งการปูพื้นฐานด้านเศรษฐศาสตร์และการภาษาอังกฤษในการสื่อนับว่าดี พอเรียนจบก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้ที่สปป.ลาวได้เลย อาทิ การเจรจาการค้า หรือในระบบการค้าระหว่างประเทศต่างๆ รวมถึงการต่อยอดศึกษาในต่อในระดับปริญญาโทและเอก ที่ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งการมอบทุนการศึกษาให้กับนักศึกษา สปป.ลาว เป็นสิ่งที่สำคัญในสร้างทรัพยากรมนุษย์ และเป็นการต่อยอดในการสร้างอาชีพไม่ว่าจะทำงานกับทางรัฐบาลหรือเอกชน

ลั่งละนา ไซยะวงสา

ด้านผู้ได้รับทุน ลั่งละนา ไซยะวงสา อาจารย์ประจำสถาบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  กระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสาร สปป. ลาว โดยได้รับทุนเข้าศึกษาที่ มหาวิทยาลัยพระจอมเจ้าพระนครเหนือ สาขาวิทยาศาสตร์ข้อมูลสำหรับนวัตกรรม บอกว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในสังคม ทำให้ใช้ชีวิตประจำวันในการสื่อสาร และการเข้าถึงสื่อมีเดียต่างๆ ซึ่งการเข้าเลือกสาขานี้ในไทย จะสามารถนำมาต่อยอดความรู้ได้ และหลายคนในสปป.ลาว ให้ความสนใจในสาขาเทคโนโลยีและการสื่อสาร เรียกได้ว่าอยู่ในระดับท็อป รวมไปถึงการนำนวัตกรรมมาพัฒนาด้านต่างๆ ทั้งการศึกษา พัฒนาบุคคล เศรษฐกิจ การค้า การเกษตร เพื่อการประยุกต์ใช้ได้หลากหลาย และการก้าวทันเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

สีพม มุนปัน

สีพม มุนปัน อาจารย์ประจำคณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรป่าไม้ มหาวิยาลัยสุพานุวง โดยได้รับทุนเข้าศึกษาปีนี้ และเข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สาขาวิชาการจัดการและการพัฒนาทรัพยากร กล่าวว่า หลังจากเรียนจบสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร ที่มหาวิทยาลัยสุพานุวง และได้เข้าเป็นอาจารย์ประจำมหาลัย และตัดสินใจเข้าคัดเลือกรับทุนจากประเทศไทย รู้สึกดีใจมากที่ผ่านการคัดในปีนี้จาก TICA เพราะได้มีการเตรียมตัวและค้นคว้าเกี่ยวกับสาขาที่อยากจะเรียน  เพื่อจะต่อยอดความรู้เพราะมองเห็นว่าที่ประเทศลาว ยังมีการเติบโตเศรษฐกิจไม่มากมากนัก ซึ่งการเรียนรู้ตรงนี้จะเป็นส่วนสำคัญในการช่วยพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะทางการเกษตร ที่อยากจะต่อยอดสิ้นค้าทางด้านเกษตรในการนำเทคโลยีมาประยุกต์ใช่เรื่องการถนอมอาหาร เป็นต้น

ทั้งนี้โครงการความร่วมมือด้านการศึกษาเหล่านี้ จะมีส่วนช่วยให้ สปป. ลาว บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน Sustainable Development Goals หรือ SDGs ข้อที่ 4 คือ ความเท่าเทียมกันในด้านการศึกษา ซึ่งรัฐบาลไทยมีความภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาที่ยั่งยืนของ สปป. ลาว ต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เซ็นทารา เปิดตัว “โคซี่ เวียงจันทน์ น้ำพุ” โรงแรมไลฟ์สไตล์สมัยใหม่ ใจกลางเมือง พร้อมอิสระแห่งการเดินทาง

ประสบการณ์ความสนุกครั้งใหม่ในสปป.ลาว กับโรงแรมไลฟ์สไตล์แห่งแรกในเวียงจันทน์ พร้อมห้องพักทันสมัย ดีไซน์เรียบง่าย และเทคโนโลยีเชื่อมต่อสุดล้ำ

สั่ง กต.ตรวจสอบ ฟินแลนด์ระงับวีซ่าแรงงานไทยเก็บเบอร์รี่

นายกฯ เผยรับรายงานแล้ว ปมฟินแลนด์ ระงับให้วีซ่าแรงงานไทยเก็บผลไม้ป่า  สั่ง กต.ตรวจสอบ ชี้ไม่อยากให้ความระคายเคืองในช่วงเจรจาฟรีวีซ่า

ม่วนซื่นพี่น้องไทยลาว 'บิ๊กป้อม' ยกทีม พปชร.ข้ามโขง กระชับความสัมพันธ์ 'นายกฯสปป.ลาว'

“ประวิตร” ยกทีม พปชร.เยี่ยมพบปะหารือ”นายกฯสปป.ลาว”กระชับความสัมพันธ์ แก้ฝุ่น P.M 2.5 ชายแดน หนุนพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อ ปชช.สองฝั่งโขง

'รัดเกล้า' ชูประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ช่วยเพิ่มความสะดวกการค้า

“รัดเกล้า” เผย ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ 9 มี.ค. ช่วยเสริมสร้างความเชื่อมโยงอย่างไร้รอยต่อ ยกระดับและอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ