ศธ.มอบของขวัญปีใหม่ 'ดึงเด็กกลับสู่ระบบการศึกษา' หลังได้รับผลกระทบจากโควิด พร้อมส่งเสริมอาขีพ

21ธ.ค.2564-นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวในงานแถลงข่าวกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มอบของขวัญปีใหม่ 2565 ให้แก่ประชาชน ตอนหนึ่งว่า ตลอดระยะเวลาเกือบ 2 ปี ที่เราเผชิญกับปัญหาโควิด ซึ่งพบว่า ทำให้มีเด็กจำนวนหนึ่งหลุดออกนอกระบบการศึกษา โดยศธ.มุ่งเน้นทำโครงการสร้างความสุขให้คนไทย ผ่านโครงการที่ 1. "Chance - พาน้องกลับห้องเรียน" ค้นหาและติดตามเด็กตกหล่นและออกกลางคันกลับเข้าสู่ระบบการศึกษา ศธ. ให้ความสำคัญอย่างยิ่งการเสริมสร้างโอกาสทางการศึกษาให้เด็ก เยาวชน และประชาชน อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพสูงสุด ภายใต้แนวคิดการศึกษาไทยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ด้วยการบูรณาการระหว่างหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้แก่ โครงการ สพฐ. ห่วงใย ปักหมุด นำนักเรียนไทย กลับสู่ห้องเรียน ค้นหาและติดตามเด็กตกหล่นและออกกลางคันกลับเข้าสู่ระบบการศึกษา โดยใช้ข้อมูลของเด็กจากชื่อและที่อยู่ เพื่อให้เด็กได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพและศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น รวมทั้งสร้างระบบเครือข่ายการส่งต่อข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษาของเด็กตกหล่นและออกกลางคันที่กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา และนำไปใช้ในการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ โดยสถนศึกษาสังกัด สพฐ. ทุกแห่ง และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 245 เขต ดำเนินการปีงบประมาณ พ.ศ.2565

ทั้งนี้หากพบเด็กแล้ว เด็กไม่สามารถเข้าระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ เราก็จะส่งต่อให้แก่ กศน.ดำเนินการ โดยกศน. ก็มีโครงการ กศน.ปักหมุด เพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาสำหรับคนพิการและผู้ด้อยโอกาส ปักหมุดบ้านคนพิการและผู้ด้อยโอกาส อายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 12,649 คน ได้เข้าสู่ระบบการศึกษา โดย ครู กศน.ตำบล ลงพื้นที่สำรวจความต้องการของผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษา และนำข้อมูลเข้าสู่ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ caper พร้อมปักหมุดทุกบ้าน เพื่อจัดการศึกษาและการเรียนรู้ให้กับผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสในสถานศึกษาสังกัดกศน. อย่างเหมาะสมตามศักยภาพและความต้องการจำเป็น และสามารถศึกษาต่อในระดับสูงขึ้น รวมทั้งสามารถประกอบอาชีพ มีงานทำ พึ่งพาตนเองได้ โดยเริ่มดำเนินการนำร่องไปเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2564 ณ จังหวัดระนอง และจะต่อยอดขยายผลสู่ 18 จังหวัด

นางสาวตรีนุช กล่าวต่อว่า โครงการที่ 2. ศ.ค.ส. ศึกษาธิการ ส่งความสุขให้น้องปีที่ 3 สำนักงาน กศน.จังหวัดทุกแห่ง/กทม. และ กศน.อำเภอ/เขต ส่งมอบความสุขให้กับน้อง ๆ เด็กด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ ในพื้นที่ห่างไกล ทุรกันดาร และชายแดน จำนวน 46,400 คน โดยมอบสิ่งของ เช่น ของเล่น อุปกรณ์การเรียน อุปกรณ์กีฬา เครื่องนุ่งห่ม ชุดกีฬา ขนม อาหารแห้ง ระหว่างวันที่ 17 ธันวาคม 2564 ถึง 8 มกราคม 2565 โครงการที่ 3. อาชีวะ สร้างโอกาสทางการศึกษาให้เยาวชนเพื่อผลิตกำลังคนของประเทศ "อาชีวะอยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพ" มอบทุนเรียนฟรีต่อเนื่อง 3 ปี มีหอพัก อาหาร 3 มื้อ ให้นักเรียนจบ ม.3 ได้เรียนต่อ 100% ในสถานศึกษาม.ปลาย (สพฐ.) และ ปวช. (สอศ.) จำนวน 5,000 คน และเร็วๆ นี้จะมีการคิกออฟในทุกภูมิภาคต่อไป

โครงการที่ 4. ฝึกอบรมอาชีพระยะสั้น Re - skill, Up skill และ New - Skill แก่นักเรียน นักศึกษา ผู้ปกครองและประชาชน ภายใต้ศูนย์พัฒนาอาชีพและการเป็นผู้ประกอบการ กระทรวงศึกษาธิการ ประจำจังหวัด (Ministry of Education Career and Entrepreneurship Center) ของ สอศ. ทั้งตั้งเป้า Re-skill, Up-skill และ New-Skill แก่นักเรียน นักศึกษา ผู้ปกครองและประชาชน 38,500 คน ไม่น้อยกว่า 7 7 หลักสูตร ดำเนินการใน 77 ศูนย์ทั่วประเทศ บูรณาการการดำเนินงานร่วมกันระหว่าง สอศ. กศน. สพฐ. และ สช. ในพื้นที่ ดำเนินการระหว่าง 27 ธันวาคม 2564 ถึง 31 มกราคม 2565 รวมถึงยังมีโครงการที่ กศน. ร่วมกับ สอศ.ฝึกอบรมอาชีพ ฟรี 1 สัปดาห์ 1 อำเภอ 1 อาชีพ โดยศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน 928 กลุ่ม ดำเนินการระหว่างวันที่ 4 - 10 มกราคม 2565 โดยฝึกอบรมอาชีพระยะสั้นและการเป็นผู้ประกอบการให้กับประชาชน 150,000 คน และสถานศึกษา 1 อาชีพ สร้างรายได้ ต่อยอดสู่วิสาหกิจชุมชน เป้าหมาย 928 กลุ่ม 10,208 คน เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนที่ดีขึ้น

นางสาวตรีนุช กล่าวอีกว่า และในช่วงปีใหม่ ศธ.ยังมีการจัดอาชีวะอาสา ร่วมด้วยช่วยประชาชน เทศกาลปีใหม่ ปี พ.ศ. 2565 ออกบริการประชาชนช่วงเทศกาลปีใหม่ตลอด 24 ชั่วโมง ระหว่างวันที่ 29 ธันวาคม 2564 - 4 มกราคม 2565 โดยให้บริการจุดพักรถ-พักคน บนถนนสายหลักและสายรอง 242 ศูนย์ ทั่วประเทศ กิจกรรม พักรถ ได้แก่ บริการตรวจสภาพรถยนต์ รถจักรยานยนต์และกิจกรรมพักคน ได้แก่ บริการสอบถามข้อมูลเส้นทาง/สถานที่ท่องเที่ยว /ที่พัก /ร้านอาหาร และอื่น ๆ รวมทั้งให้บริการที่นั่งพักผ่อน /บริการน้ำดื่ม กาแฟ ผ้าเย็น เป็นต้น รวมถึงจัดศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน เพื่อลดรายจ่ายให้แก่ประชาชน ผ่านแอปพลิเคชัน "ช่างพันธุ์ R อาชีวะซ่อมทั่วไทย" ทีมช่างพันธุ์ R อาชีวะจิตอาสา จาก 100 ศูนย์ Fix it Center ทั่วไทย ออกให้บริการซ่อมถึงบ้านฟรี โดยประชาชนสามารถใช้บริการผ่านแอปพลิเคชัน ทำให้มีความสะดวก รวดเร็ว ลดเวลา ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ไม่ต้องนำเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้มาที่ศูนย์บริการ อีกทั้งยังสอดคล้องกับสภาพสังคม และวิถีชีวิตยุคใหม่ New Normal สร้างความมั่นใจการใช้บริการช่างอาชีวะ และยังเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดี สร้างความภาคภูมิใจให้แก่ผู้เรียนที่ใช้ทักษะจากการลงมือปฏิบัติช่วยเหลือประชาชน และสามารถสร้างอาชีพได้ในอนาคต ดำเนินการตลอดเดือนมกราคม 2565 และให้บริการต่อเนื่องทั้งปี

"ศธ.ขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการส่งมอบ ส.ค.ส. หรือ ส่งความสุขให้กับคนไทย ในการสนับสนุน ส่งเสริมให้สังคมไทย เป็นสังคมที่เปี่ยมไปด้วยความสุข ซึ่งความสุขถือเป็นรากฐานสำคัญต่อการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ ตลอดจนสร้างโอกาสให้คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง และเท่าเทียม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ สร้างให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต ภายใต้แนวคิดและเป้าหมายทางการศึกษาที่ไม่ต้องการทิ้งใครไว้ข้างหลัง และทุกคนต้องก้าวไปอย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน"รมว.ศธ.กล่าว

ด้านนายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาฯ กพฐ.) กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่อาจจะส่งผลให้เกิดสภาวะความรู้ถดถอยนั้น ขณะนี้ ศธ.มีความพยายามอย่างเต็มที่ที่จะให้นักเรียนทุกคนได้เรียนในรูปแบบ On site ซึ่งในระดับเด็กเล็ก เราก็จะมุ่งให้เด็กสามารถอ่านออกเขียนได้ เด็กโตระดับมัธยมศึกษา ก็จะมุ่งในเรื่องของการเรียนรู้เกี่ยวกับอาชีพให้แก่นักเรียนทุกคนให้เข้าถึงโอกาสตรงนี้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“รมช.สุรศักดิ์” ร่วมถก การพัฒนาการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ ฯ

เมื่อวันศุกร์ ที่ 5 เมษายน 2567 นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง และสร้างจิตสำนึกในความเป็นไทย ครั้งที่ 1/2567 ที่

“รมช.สุรศักดิ์” เปิดงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ Kick Off Soft Power

เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 28 มีนาคม 2567 นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดงานการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ Kick Off Soft Power

"เสมา1" มอบ สพฐ. ใช้ระบบไอทีทำใบ ปพ.5 ช่วยลดขั้นตอนเอกสารของครูผู้สอน ใบสำคัญด้านการศึกษา หวังก้าวสู่องค์กรดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ

เมื่อวันที่ 21 มี.ค. นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะโฆษกกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า ตามที่ พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศึกษาธิการ ได้มีนโยบายลดภาระครู ซึ่งจะเร่งผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง หลุดกรอบการทำเอกสารของครูผู้สอนแบบเดิม

"รมช.สุรศักดิ์" ลงพื้นที่เมืองเชียงราย​ ลุย​ รับฟังสภาพปัญหาอุปสรรคจากหน่วยงานทางการศึกษา​ ก่อนนำข้อมูลเสนอต่อ​ที่ประชุม​ ครม.

เมื่อวันจันทร์​ ที่ ​18 มีนาคม 2567 นายสุรศักดิ์​ พันธ์​เจริญ​ว​ร​กุล​ รัฐมนตรี​ช่วยว่าการ​กระทรวง​ศึกษาธิการ​ ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล ก่อนการประชุม​ ครม.สัญจร​ ณ โรงเรียนวัดพระเกิดคงคาราม อ.เทิง จ.เชียงราย​ โดยมี​ นายรังสรรค์ วันไชยธนวงศ์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (ประจำนายอนุทิน ชาญวีรกูล)

ครูเฮ! คืนครูให้นักเรียนทั่วประเทศลดภาระครู “เสมา 2” เผย ศธ.ชงงบจ้างภารโรงให้ทุกโรงเรียนที่ขาด ดีเดย์ 1 พ.ค.นี้

เมื่อวันพุธ ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวถึงกรณีกระทรวงศึกษาธิการเสนอของบประมาณสนับสนุนให้จัดสรรนักการภารโรงให้สถานศึกษาทั่วประเทศ

“รมช.สุรศักดิ์” ลงพื้นที่เกาะติดการศึกษา จ.สุราษฎร์ธานี รับฟังเสียงสะท้อนปัญหาอุปสรรค ลั่นเรื่องไหนขับเคลื่อนเร่งด่วนได้ทำทันที พ

เมื่อวันจันทร์ ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2567 นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดอาคารเรียนแบบพิเศษ