'ดร.ธรณ์' เฉลย ฝนตกลงมาแล้ว จะช่วย 'ปะการังฟอกขาว' ได้แค่ไหน

8 พ.ค.2567- ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า

ฝนตกลงมาแล้ว จะช่วยปะการังได้แค่ไหน ? จึงมาอธิบายปัจจัยปะการังฟอกขาวที่สัมพันธ์กับฝน
ลองสังเกตภาพ จะเห็น 4 ปัจจัยหลัก ตัวอักษรไม่เท่ากันตามความสำคัญ
น้ำร้อน - นั่นคือสาเหตุหลัก น้ำร้อนเกิน 30.5-31 องศาต่อเนื่องกัน 3-4 สัปดาห์ ปะการังเริ่มแสดงอาการฟอกขาว
ฝนตกช่วยได้ไหม ? คำตอบคือได้นิดหน่อย แต่น้ำร้อนอาจเกี่ยวข้องกับความแปรปรวนของโลกร้อน เช่น marine heatwave ฯลฯ
ฝนช่วยได้บ้าง แต่น้ำฝนน้อยมากเมื่อเทียบกับปริมาณน้ำทะเล ในที่ลึกแทบไม่มีผล ยกเว้นในบริเวณชายฝั่งน้ำตื้น ฝนอาจช่วยได้มากขึ้น
แสงแดด - ปะการังที่อ่อนแอและใกล้ฟอกขาวจะเกลียดแดดแรง ฝนช่วยตรงนี้ได้ หรือแม้กระทั่งฝนไม่ตก เมฆเต็มฟ้าก็ช่วยบังแดดได้เยอะ
เรามีแนวคิดช่วยสร้างที่บังแดด shading ให้ปะการัง เมฆเต็มฟ้าคือ shading ธรรมชาติ แต่ต้องต่อเนื่องนานๆ ไม่ใช่มาวันเว้นไปหลายวัน
น้ำนิ่ง - หากน้ำร้อนแช่นาน ปะการังยิ่งแย่ ช่วงนี้เราต้องการน้ำไหลไปมา
คิดง่ายๆ ก็เหมือนพวกเรา อากาศร้อนอ้าว ลมนิ่ง มีพัดลมหรืออยู่ในที่อากาศถ่ายเทย่อมดีกว่า (ปะการังไม่มีแอร์ )
ลมที่มาพร้อมกับฝนช่วยให้เกิดคลื่น น้ำกระเพื่อม เรื่องนี้มีส่วนช่วยได้ แต่ถ้าแรงมากเป็นพายุฤดูร้อน อย่างนั้นก็อาจทำปะการังหักพัง
น้ำลงต่ำ - น้ำยิ่งลงต่ำยิ่งร้อนจัด หากลงต่ำจนแห้ง ปะการังตากแดดแรง อันนี้คือฟางเส้นสุดท้ายบนหลังลา
ในกรณีนี้ฝนให้ได้ข้อดีและข้อเสีย ถ้าน้ำลงแต่ไม่ต่ำเกินไป ฝนช่วยบังแดดลดอุณหภูมิน้ำ
แต่ถ้าตกช่วงน้ำแห้งปะการังโผล่ น้ำฝนคือน้ำจืด อาจทำให้ความเค็มเปลี่ยนฉับพลัน ปะการังแย่เหมือนกันฮะ
อื่นๆ - ฝนอาจพาตะกอนจากชายฝั่งลงทะเล ซ้ำเติมปะการังมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะตะกอนจากการเปิดหน้าดิน ฯลฯ
ปัญหานี้มักเกิดตามเกาะที่ฝนตกน้ำไหลลงแนวปะการังโดยตรง
ทั้งหมดนั้นคือเรื่องฝนกับปะการังฟอกขาว สรุปง่ายๆ คือมีฝนย่อมดีกว่า แต่ถ้ามาเป็นวูบก็อาจช่วยอะไรไม่ได้มาก ต้องมาต่อเนื่องแทบทุกวัน
นอกจากนี้ โลกร้อนทำให้อุณหภูมิน้ำทะเลโดยรวมสูงขึ้นจนทำลายสถิติ ฝนอาจช่วยในกรณีนี้ไม่ได้
พวกเราช่วยได้มากกว่า มาช่วยกันลดโลกร้อนและดูแลแนวปะการังยามอ่อนแอ อย่าให้อาหารปลา อย่ากินปลานกแก้ว/ฉลาม ลดขยะให้มากสุด
หวังว่าเพื่อนธรณ์คงเพลิดเพลินกับเลคเชอร์เรื่องฝนและปะการังฟอกขาวนะฮะ

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'โลกร้อน-โลกเดือด'! กระทบ 'พะยูน' เข้าใกล้จุดสูญพันธุ์

เป็นที่รับรู้กันมานานแล้วว่า พะยูนเป็นสัตว์ทะเลหายาก มีความเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ แต่สถานการณ์ปัจจุบันยิ่งทำให้พะยูน ก้าวข้าม

'ดร.ธรณ์' ดึงสติ ไม่ต้องตื่นตระหนกพายุลูกใหญ่ถล่ม หากมาจริงจะแจ้งล่วงหน้า

ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า

พายุเข้ามาที่ชายฝั่งเวียดนาม 'ดร.ธรณ์' แนะหน่วยงานในพื้นที่เตรียมตัวแจ้งเตือนหากฉุกเฉิน

ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศน์ทางทะเล และรองคณบดี คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า

'ดร.ธรณ์' เปิดภาพ 'ไต้ฝุ่น ยางิ' เห็น Eye of a storm ชัดเจน เหนือ อีสาน เตรียมรับมือ

ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศน์ทางทะเล และรองคณบดี คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊กว่า

'ดร.ธรณ์' เปิดข้อมูล 'สี่เทพโลมา' ที่จะสู้ 'ปลาหมอคางดำ' หากลงมาสู่ทะเล

ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊ก กรณีปลาหมอคางดำลงทะเล ก็มี 4 เทพจัดการ ว่า

'ดร.ธรณ์' เตือน โครงการสะพานไปเกาะสมุย กระทบหญ้าทะเล-แนวปะการัง

ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศน์ทางทะเล และรองคณบดี คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊ก “Thon Thamrongnawasawat” ระบุว่า