'ดร.ธรณ์' เปิดข้อมูล 'สี่เทพโลมา' ที่จะสู้ 'ปลาหมอคางดำ' หากลงมาสู่ทะเล

ภาพจากเฟซบุ๊ก Thon Thamrongnawasawat

14 ส.ค.2567- ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊ก กรณีปลาหมอคางดำลงทะเล ก็มี 4 เทพจัดการ ว่า

สี่เทพโลมาสู้ปลาหมอกลายเป็นข่าวเยอะเลย จึงอยากเล่าเรื่องเพิ่มเติมให้เพื่อนธรณ์ฟัง
ผมนำข้อมูลมาจากฐานข้อมูลกรมทรัพยากรทางทะเลฯ ที่มีการสำรวจติดตามประชากรโลมาอย่างต่อเนื่องเกิน 20 ปี
โลมาทั้งสี่คือพวกที่อยู่ริมฝั่ง ไม่นับโลมาที่หากินไกลออกไปอีกนับ 10 ชนิด
เริ่มจากเรามีโลมาชายฝั่งเยอะไหม ?
คำตอบคือ 4 ชนิดรวมกัน 2,926 ตัว (พ.ศ.2566)
เฮ้ย ! เยอะนะนั่น นับไหวเหรอ
ตัวเลขได้จากการคำนวณโดยผู้เชี่ยวชาญของกรมทะเล โดยใช้ข้อมูลจากการสำรวจแบบต่างๆ ทั้งเครื่องบิน เฮลิคอปเตอร์ โดรนปีกนิ่ง โดรนทั่วไป และการสำรวจทางเรือ
เป็นตัวเลขแบบเป็นทางการที่รายงานต่อนานาประเทศ เนื่องจากการอนุรักษ์โลมาเป็นกรณีระดับโลก (MMPA)
โลมาที่มีมากสุดคือ อิรวดี 1,030 ตัว
เพื่อนธรณ์อย่าสับสนกับโลมาอิรวดีในทะเลสาบสงขลา แม้จะชนิดเดียวกัน แต่พวกนั้นเป็นโลมาน้ำจืด เหลืออยู่น้อยนิด แต่ในทะเลชายฝั่งยังมีอีกเยอะ
รองลงมาคือโลมาหัวบาตรหลังเรียบ มีอยู่ 887 ตัว
โลมาหลังโหนก (สีชมพู) มีอยู่ 529 ตัว
ผมนำภาพมาให้ดูด้วย จะได้เห็นกันชัดๆ ว่าโลมาชนิดนี้อยู่ติดฝั่งมาก ผมเคยเจอโลมาเข้ามาไล่กินปลากระบอกถึงหาด
สุดท้ายคือโลมาปากขวด มีอยู่ 480 ตัว
เมื่อเทียบกับอดีต โลมา 3 ชนิด (อิรวดี หัวบาตรหลังเรียบ ปากขวด) มีจำนวนเพิ่มขึ้นบ้าง (ดูจากค่าเฉลี่ยทุก 3 ปี)
มีเพียงโลมาหลังโหนกที่จำนวนค่อนข้างใกล้เคียงเดิม ไม่เพิ่มไม่ลด
จะว่าไป โลมากลุ่มชายฝั่งอยู่กับคนไทยมานาน หากไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงฉับพลัน พวกเธอยังปรับตัวได้
ต่างจากโลมาในทะเลสาบสงขลาที่พื้นที่จำกัด ไม่เชื่อมต่อบริเวณอื่น เหลืออยู่น้อยมาก อนาคตจึงริบหรี่
ยังต่างจากพะยูนที่ระบบนิเวศหญ้าทะเลเปลี่ยนแปลงรุนแรง ทำให้เกิดปัญหา
ผมนำแผนที่ของกรมทะเลมาให้ดู เป็นบริเวณที่พบโลมาชุกชุม แต่ไม่ได้หมายความว่าที่อื่นไม่มี
จะเห็นว่าบางพื้นที่ทับซ้อนกับการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำที่เริ่มลงทะเล
บางพื้นที่ยังเป็นชายฝั่งที่อาจมีการแพร่ระบาดในอนาคต
ถึงตอนนี้ คงยังบอกไม่ได้ว่า โลมาจะกินปลาหมอคางดำหรือไม่ ?
แต่ถ้าคิดถึงผู้ล่าขนาดใหญ่ในบริเวณนี้ โลมาก็เป็นหนึ่งในกลุ่มนั้น
โลมายังอยู่บนสุดของพีระมิดอาหาร เป็นผู้ดูแลปกป้องระบบนิเวศชายฝั่ง
ระบบนิเวศที่แข็งแรงคือเกราะป้องกันสัตว์น้ำต่างถิ่นดีสุดๆ
เราจึงต้องช่วยกันปกป้องโลมา ดูแลขยะทะเล ช่วยกันทำประมงแบบน่ารัก ช่วยพวกเธอหากเกยตื้น แจ้งข่าวบอกต่อหากเจอโลมาเกยตื้นหรือบาดเจ็บ
ช่วยกันรักษาเหล่าโลมา สัตว์เทพที่ดูแลรักษาระบบนิเวศชายฝั่งบ้านเรา
นั่นคืออีกหนึ่งหนทางที่เราทำได้ครับ

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ดร.ธรณ์' เปิดภาพ 'ไต้ฝุ่น ยางิ' เห็น Eye of a storm ชัดเจน เหนือ อีสาน เตรียมรับมือ

ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศน์ทางทะเล และรองคณบดี คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊กว่า

'ดร.ธรณ์' เตือน โครงการสะพานไปเกาะสมุย กระทบหญ้าทะเล-แนวปะการัง

ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศน์ทางทะเล และรองคณบดี คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊ก “Thon Thamrongnawasawat” ระบุว่า

'ดร.ธรณ์' รับกำจัด 'ปลาหมอคางดำ' ไม่หมด ต้องพยายามลดความเสียหายให้มากที่สุด

ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศน์ทางทะเล และรองคณบดี คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊กว่า

'ดร.ธรณ์' หวั่น ผลกระทบ 'ปลาหมอคางดำ' ไม่เกิดเฉพาะพื้นที่ แต่จะส่งผลถึงทะเลข้างนอก

ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศน์ทางทะเล และรองคณบดี คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊กว่า ในกรณีที่ปลาหมอคางดำลงทะเล ระบบนิเวศที่จะได้รับผลกระทบคือหาดทราย หาดเลน ป่าชายเลน และแหล่งหญ้าทะเล

ดร.ธรณ์ ห่วงสถานการณ์เกาะร้องไห้ ลามขยายวงหลายจังหวัด ‘อ่าวไทย-อันดามัน’

เกาะร้องไห้แบบนี้ไม่ได้มีแห่งเดียว แต่มีเพียบเลย  ภาคตะวันออก เรื่อยไปถึงชุมพร สุราษฎร์ ยาวไปถึงสงขลา เกาะที่อยู่ใกล้ฝั่งเกือบทั้งหมดกำลังร้องไห้ ข้ามไปอันดามัน ตรัง กระบี่ สตูล หลายเกาะชายฝั่งเจอฟอกขาวรุนแรง