'นักวิชาการสิ่งแวดล้อม' ตอกย้ำ โลกร้อนทำให้เครื่องบินตกหลุมอากาศบ่อยขึ้น


19 มิ.ย.2567 - ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก หัวข้อ โลกร้อนทำให้เครื่องบินตกหลุมอากาศบ่อยขึ้น มีเนื้อหาดังนี้

1.สายการบินแอร์นิวซีแลนด์ เที่ยวบินNZ 607 บินจากเวลลิงตันไปยังควีนทาวน์บินลงทางใต้ของประเทศตกหลุมอากาศอย่างรุนแรงเมื่อวันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายนที่ระยะความสูง 34,000 ฟิตหรือ10,363 เมตร ทำให้มีผู้โดบาดเจ็บ 2 รายโดยรายที่ ถูกน้ำร้อนจากถ้วยกาแฟหกราดลงบนตัวผู้โดย สารผู้หญิงและอีกรายเกิดจากการที่ลูกเรือกระแทกกับผนังของเครื่องบินอย่างรุนแรง

2.สาเหตุมาจากที่เครื่องบินแอร์นิวซีแลนด์ ประสบกับ full on turbulance หรือตก หลุมอากาศ อย่างกะทันหันโดยไม่มีสัญ ญาณบอกเหตุมาก่อนทั้งท้องฟ้าแจ่ม ใส (Clean Air Turbulane)

3. นักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมของประ เทศสหรัฐอเมริกาพบว่าเครื่องบินตกหลุมอากาศอย่างรุนแรงบ่อยขึ้นซึ่งมีความสัม พันธ์โดยตรงจากการที่โลกร้อนขึ้นจึงแนะ นำให้ผู้โดยสารรัดเข็มขัดตลอดเวลาขณะที่นั่งอยู่บนเครื่องเครื่องบินเพื่อป้องกันการบาดเจ็บ จากการตกหลุมอากาศอย่างกะ ทันหันโดยที่ไม่มีสัญญาณบอกเหตุ

4. ก่อนหน้านั้นสายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์ก็ตกหลุมอากาศอย่างรุนแรงเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2567 มีผู้โดยสารเสียชีวิต 1 คนและผู้โดยสาร 79 คนและลูกเรือ 6 คนได้รับบาดเจ็บ จากกรณีที่เครื่องบินตกหลุมอากาศโดยไม่คาดฝันมาก่อนทั้งๆที่ท้องฟ้าแจ่มใส ขณะที่เมื่อวันที่ 26 พค. 2567 สายการบินการ์ต้าแอร์เวย์เที่ยวบิน QR 017 เดินทางจากกรุงโดฮาไปยังไอซ์แลนด์ ตกหลุมอากาศอย่างรุนแรงโดยที่ไม่คาดฝัน ทั้งๆที่ท้องฟ้าแจ่มใสเช่นกัน มีผู้โดยสารบาดเจ็บ 6 คนและลูกเรือบาดเจ็บ 6 คน

5. การที่โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นทำให้กระแสลมในระดับสูงที่เครื่องบินใช้เป็นเส้นทางบินมีความเร็วลดลงในบางขณะบางช่วงทั้งที่ท้องฟ้าแจ่มใส เหมือนกับการที่ขับรถมา บนทางที่ราบเรียบแล้วมาเจอทางขรุขระจึงเกิดการสะเทือนของรถยนต์ เช่นกันเมื่อเครื่องบินบินผ่านกระแสลมที่พัดมาด้วยความเร็วสม่ำเสมอและมาเจอช่วงที่อากาศร้อนขึ้นจึงทำให้ความเร็วของลมลดลงซึ่งมีผลทำให้ความหนาแน่นของมวลอากาศบริเวณดังกล่าวลดลงหรือบางลงด้วยเช่นกันซึ่งก็คือการเกิดอากาศแปรปรวนนั่นเองก็จะทำให้เครื่องบินที่บินผ่านเกิดการสั่นสะเทือน เมื่อมวลอากาศบางลงจะทำให้แรงโน้มถ่วงของโลกหรือค่าgจะฉุดเครื่องบินให้ตกลงมาซึ่งก็คือการตกหลุมอากาศ นักบินจึงต้องขับเครื่องบินขึ้นให้พ้นแรงดึงดูดของโลกและให้พ้นอากาศที่แปรปรวนต่อไป

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'นักวิชาการ' ยกงานวิจัยล่าสุด เตือนให้ระวัง โลกร้อน น้ำแข็งละลาย ทำให้เกิดแผ่นดินไหวถี่ขึ้น

ดร.สนธิ คชวัฒน์ นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เรื่อง โลกร้อนขึ้น..ทำให้เกิดแผ่นดินไหวถี่ขึ้น..ระวังตัวด้วย! มีเนื้อหาดังนี้

'ดร.ธรณ์' สรุปสถานการณ์ปะการัง 'อ่าวไทย' ตายมากกว่า 'อันดามัน' น้ำตื้นตายมากกว่าน้ำลึก

ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม โพสต์เฟซบุ๊กว่า

นักวิชาการ อธิบายชัดสัญญาณเกิดพายุฤดูร้อน เตือนระวังฟ้าฝ่า

นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย ได้โพสต์ เรื่อง พายุฤดูร้อนเกิดขึ้นได้อย่างไร?และจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร?ไม่เจอพายุฤดูร้อน

นักวิชาการ เตือนโลกร้อน โครงการขนาดใหญ่ในพื้นที่ชุ่มน้ำ อาจมีอันตรายในอนาคต

นักวิชาการระบุโลกร้อน น้ำทะเลหนุน แผ่นดินทรุดตัว โครงการขนาดใหญ่ที่เคยตั้งอยู่ในพื้นที่ชุ่มน้ำอาจมีอันตรายได้ในอนาคต

นักวิชาการ ชี้จุดออ่อน ไทยเจอมลพิษจากอุตสาหกรรม-สถานประกอบการเกลื่อนเมือง

นักวิชาการสิ่งแวดล้อม ชี้ไทยเจอมลพิษจากอุตสาหกรรมและสถานประกอบการเกลื่อนเมือง จุดอ่อนอยู่ที่ไหน?..ประเทศพัฒนาแล้วเขาป้อง กันอย่างไร

นักวิชาการ ชี้ รัฐบาล-กทม. ล้มเหลว แก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 ในเขตเมือง

รัฐบาลและกทม.ล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาฝุ่นPM2.5ในเขตเมืองของ กทมและจังหวัดใกล้เคียงในปีนี้ ตั้งแต่ปลายเดือนมกราคมจนถึงกลางเดือนกุมภา พันธ์