กมธ.ติดตามงบฯ ยื่นนายกฯ ล้มประมูลท่อส่งน้ำอีอีซี เปิดเอกชนแข่งขันเป็นธรรม ยังไม่พบเอื้อทุจริต

17 พ.ค.2565 - นายไชยา พรหมา ส.ส.หนองบัวลำภู พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานกรรมาธิการศึกษาการจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณ สภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงกรณีกมธ.เตรียมส่งหนังสือถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐ มนตรีและรมว.กลาโหม ขอให้ยกเลิกโครงการบริหารและดำเนินกิจการท่อส่งน้ำสายหลักภาคตะวันออกว่า กมธ.ยื่นหนังสือดังกล่าวถึงพล.อ.ประยุทธ์เรียบร้อยแล้ว มีข้อเสนอแนะให้นายกฯสั่งยกเลิกการประมูลโครงการระบบท่อส่งน้ำอีอีซีและให้เปิดคัดเลือกบริษัทเอกชนเข้าประมูลใหม่ ให้มีการแข่งขันอย่างเสรี เป็นธรรม เป็นไปด้วยความโปร่งใส เปิดกว้าง ตรวจสอบได้

นายไชยา กล่าวอีกว่า จากการเชิญกรมธนารักษ์ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก การประปาส่วนภูมิภาค บริษัทจัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด บริษัท วงศ์สยามก่อสร้าง จำกัด นายประภาศ คงเอียด อธิบดีกรมธนารักษ์ และนายยุทธนา หยิมการุณ อดีตอธิบดีกรมธนารักษ์ มาให้ข้อมูลพบว่า กระบวนการคัดเลือกบริษัทมาบริหารจัดการน้ำในอีอีซีนั้น มีการกำหนดทีโออาร์ที่ไม่ชัดเจนเรื่องปริมาณน้ำที่นำมาใช้ในการคำนวณ ทำให้เกิดข้อถกเถียงเรื่องผลประโยชน์ตอบแทนให้รัฐ และยังมีอีกหลายประเด็นที่ขาดความชัดเจนในขั้นตอนกระบวนการคัดเลือก อาทิ การเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการทีโออาร์และลดสเปกทีโออาร์ลงมาในการประมูลรอบ2 ที่กรมธนารักษ์ยังชี้แจงเหตุผลได้ไม่ชัดเจน

นายไชยา กล่าวว่า กมธ.ยังเห็นว่า การประมูลโครงการดังกล่าว มีแต่การใช้กฎหมายเฉพาะของหน่วยงานคือ พ.ร.บ.ที่ราชพัสุด พ.ศ.2562 ของกรมธนารักษ์เท่านั้น จึงมีข้อเสนอให้นำกฎหมายอื่นที่สอดคล้องกับบริบทในปัจจุบันและอนาคตมารองรับการขยายตัวการพัฒนาการใช้น้ำในเขตพื้นที่อีอีซี โดยให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(สกพอ.) ที่เป็นหน่วยงานในพื้นที่พัฒนาพิเศษภาคตะวันออกร่วมดำเนินการกับกรมธนารักษ์คัดเลือกบริษัทที่จะเข้ามาบริหารจัดการน้ำในพื้นที่อีอีซี อาจจะต้องออกเป็นมติครม.ให้ความเห็นชอบเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป และให้ สกพอ.ร่วมกับสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เป็นผู้กำหนดกลไกโครงสร้างราคาค่าน้ำในพื้นที่พัฒนาพิเศษภาคตะวันออกให้เหมาะสม เป็นธรรมเพื่อสร้างความมั่นคงการใช้น้ำและการบริหารเส้นท่อร่วมกัน

ทั้งนี้การดำเนินของกมธ.ตรวจสอบเฉพาะกระบวนการคัดเลือกบริษัทเอกชนมีขั้นตอนถูกต้องหรือไม่เท่านั้น ไม่ได้สอบลงลึกไปถึงขั้นว่า มีใครอยู่เบื้องหลังรับผลประโยชน์ทุจริตหรือไม่ เท่าที่ดูเบื้องต้นยังไม่พบมีการสั่งการจากบุคคลใดในการเอื้อประโยชน์ให้เอกชน ข้อเสนอของกมธ.ที่ยื่นให้พล.อ.ประยุทธ์นั้น ขึ้นอยู่กับนายกฯจะทำตามหรือไม่ หากผลสุดท้ายไม่มีการทบทวน ปล่อยให้เป็นไปตามการประมูลเหมือนเดิม ถ้าเกิดความเสียหายขึ้นมา รัฐบาลต้องรับผิดชอบ เพราะกมธ.ได้เตือนแล้ว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ลุยแก้รธน.ริบอำนาจศาล อ้างเดินสายกลาง 'ชูศักดิ์' มั่นใจประชามติ มีผลบังคับใช้ต้นปีหน้า

'ชูศักดิ์' ยันแก้รธน.ริบอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ-ตีกรอบปมจริยธรรม ไม่ขัดกันแห่งผลประโยชน์ แต่เดินสายกลางเพื่อความยุติธรรม ปัดอุ้ม 'นายกฯอิ๊งค์' หลังเสนอแก้ในนามพรรคการเมือง หวั่นอีหลักอีเหลื่อเพราะรบ.เตรียมแก้ทั้งฉบับ โวมั่นใจประชามติผ่านฉลุย เชื่อมีผลบังคับใช้ต้นปีหน้า ยังแย้มดาบสองเตรียมแก้อำนาจป.ป.ช.

'วิสุทธิ์' ลั่นรับไม่ได้ สุราก้าวหน้าฉบับ สส.เท่าพิภพ ให้ต้มเหล้าดื่มเอง แจกจ่ายในหมู่บ้านได้

นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานวิปรัฐบาล ให้สัมภาษณ์ถึงการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ภาษีสรรพสามิต ที่เริ่มพิจารณาเมื่อวานนี้ (18 ก.ย.) และจะลงมติสัปดาห์หน้า

สส.เพื่อไทย ยื่นแก้รัฐธรรมนูญรายมาตรา 6 ประเด็น

นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) เปิดเผยว่าในการประชุมสส.พรรคเพื่อไทย เมื่อ 17 ก.ย. ได้พูดคุยถึงการยื่นร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม

ปฏิรูปvsปฏิวัติ 'โบว์' งงปิยบุตร-ช่อ-อมรัตน์ โมโหอะไรกัน

น.ส.ณัฏฐา มหัทธนา หรือ โบว์ พิธีกรรายการวิเคราะห์ข่าว และนักกิจกรรมเพื่อสิทธิมนุษยชน โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ปฏิรูป VS ปฏิวัติ

'จตุพร' กระตุ้นพรรคส้มคิดใหม่ปรับตัว

“จตุพร”ชี้พรรครัฐบาลมีโมเดลรุมพรรคส้มแพ้ศึกเลือกตั้งได้ เผยเจรจาคัดผู้สมัครพรรคเดียวลงชิงพื้นที่พรรค ปชช. 112 เขต เชื่อบดขยี้และเพิ่มเสียงรัฐบาลมากขึ้น แนะพรรคส้มปรับตัวเลือกผู้สมัครมีฐานเสียงแล้วบวกด้วยคะแนนนิยมของพรรคจะพอเอาตัวรอดแค่ปกป้องพื้นที่เดิมไว้ได้บ้าง