14 ก.ค.2565 - เพจเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เปิดเผยภาพเปรียบเทียบ ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี เมื่อคืนนี้ คืนอาสาฬหบูชา 13 ก.ค.65 บันทึกจากหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา กับดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปี เมื่อวันที่ 18 ม.ค.65
"ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี" หรือ "ซูเปอร์ฟูลมูน" (Super Full Moon) ในปีนี้ เกิดขึ้นในช่วงหลังเที่ยงคืนของวันที่ 13 ก.ค.65 เวลา 01.39 น. ของวันที่ 14 ก.ค.65 มีระยะห่างจากโลก 357,256 กิโลเมตร หากเปรียบเทียบกับดวงจันทร์เต็มดวงช่วงเวลาปกติ จะมีขนาดใหญ่กว่าประมาณ 7% และสว่างกว่าประมาณ 16%
แม้ว่าดวงจันทร์จะโคจรเข้าใกล้โลกทุกเดือน แต่อาจไม่ปรากฏเต็มดวงทุกครั้ง สำหรับ “ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี” ในปีถัดไปจะตรงกับวันที่ 31 สิงหาคม 2566
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
คึกคัก! คนไทยสนใจชมฝนดาวตก 'เจมินิดส์' โต้ลมหนาวริมอ่างเก็บน้ำที่เชียงใหม่
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยว่า บรรยากาศการชมฝนดาวตกเจมินิดส์ คืน 14 ธันวาคม 2565 ชาวไทยสนใจติดตามชมฝนดาวตกกันคึกคัก โดยเฉพาะเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืด บริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยลาน
รออีก 3 ปี! เปิดภาพหาชมยาก จันทรุปราคาเต็มดวง สีแดงอิฐ
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เผยภาพปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงเหนือฟ้าเมืองไทย ขณะเกิดคราสเต็มดวง ดวงจันทร์เต็มดวงปรากฏเป็นสีแดงอิฐ
เปิด 3 เหตุผล ต้องชม 'จันทรุปราคาเต็มดวง' สีแดงอิฐ ในวันลอยกระทง
เพจเฟซบุ๊กสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เผย 3 เหตุผลที่ต้องชม "จันทรุปราคาเต็มดวงเหนือฟ้าเมืองไทย” ในวันที่ 8 พ.ย. 65 ดังนี้
เผยที่มา ความหมาย 'วันศารทวิษุวัต' เวลากลางวันยาวเท่ากับกลางคืน 23 ก.ย.นี้
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เปิดเผยว่า ในวันศุกร์ที่ 23 กันยายนนี้ เป็น "วันศารทวิษุวัต" เวลากลางวันยาวเท่ากับกลางคืน “ศารทวิษุวัต” (สาด-ทะ-วิ-สุ-วัด) (Autumnal Equinox) เวลากลางวันเท่ากับกลางคืน
ชวนชม 'ซูเปอร์ฟูลมูน' คืนวันอาสาฬหบูชา พระจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) แจ้งว่า คืนวันอาสาฬหบูชา 13 กรกฎาคม 2565 นี้