'บิ๊กตู่' โพสต์ข้อมูลเยียวยาน้ำท่วม รวมทุกหน่วยงาน ยันรัฐบาลเร่งช่วยเหลือ ไม่รอน้ำลด

25 ต.ค.2565 - พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า เรียน พี่น้องประชาชนที่รักทุกท่าน ในช่วงที่ผ่านมาผมได้ลงพื้นที่เพื่อติดตามดูแลการแก้ไขสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในหลายจังหวัด ได้รับฟังปัญหาจากพี่น้องในพื้นที่ และได้เร่งรัด กำชับให้ช่วยเหลือเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบอย่างเต็มที่และรวดเร็วที่สุด โดยผมได้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รายงานผลการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในการประชุม ครม. ในวันนี้ ดังข้อมูลต่อไปนี้

1. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) และจังหวัด ได้ให้ความช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2562 ได้แก่
- ค่าจัดการศพผู้เสียชีวิต รายละไม่เกิน 29,700 บาท
- กรณีบาดเจ็บสาหัสฯ ให้จ่ายเบื้องต้นรายละ 4,000 บาท
- ค่าวัสดุซ่อมแซมที่อยู่อาศัยประจำ เท่าที่จ่ายจริงหลังละ 49,500 บาท
- ด้านการเกษตร ช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยพิบัติที่พืชตาย หรือเสียหายตามจำนวนพื้นที่ทำการเกษตรจริงที่ได้รับความเสียหาย ไม่เกินครัวเรือนละ 30 ไร่ โดยคิดจากตันทุนการผลิตเฉลี่ย
- โดยช่วยเหลือไปแล้วรวมทั้งสิ้น จำนวน 79,013,666.76 บาท

2. กองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยสำนักนายกรัฐมนตรี ได้กำหนด
- ค่าจัดการศพ รายละ 50,000 บาท
- เงินทุนเลี้ยงชีพ แก่ครอบครัวผู้เสียชีวิต ครอบครัวละ 30,000 บาท
- เงินทุนเลี้ยงชีพ แก่ครอบครัวผู้เสียชีวิตที่มีบุตรอายุไม่เกิน 25 ปีบริบูรณ์ อีกครอบครัวละ 50,000 บาท
- ค่าวัสดุในการก่อสร้างซ่อมแซมบ้านเรือนที่เสียหายทั้งหลัง ไม่เกินหลังละ 220,000 - 230,000 บาท เสียหายมาก ไม่เกินหลังละ 70,000 บาท และเสียหายน้อย ไม่เกินหลังละ 15,000 บาท
- ค่าเครื่องอุปโภค และเครื่องใช้อื่น ๆ ที่จำเป็นแก่ครอบครัวแก่ผู้ประสบภัยพิบัติเฉพาะบ้านเรือนที่เสียหายทั้งหลัง และเสียหายมากครัวเรือนละ 5,000 บาท
- โดยได้จัดทำถุงยังชีพ และมอบไปแล้ว 92,361 ถุง ใน 13 จังหวัด คิดเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 64,652,700 บาท

3. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่งคงของมนุษย์ (พม.)
- ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย จำนวน 151 ราย ๆ ละ 3,000 บาท เป็นเงิน 453,000 บาท ตามระเบียบว่าด้วยการจ่ายเงินอุดหนุนเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคมกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2547

4. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยการยางแห่งประเทศไทย
- เงินช่วยเหลือแก่เกษตรกรชาวสวนยาง กรณีสวนยางประสบภัย รายละไม่เกิน 3,000 บาท

5. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)
- ได้ให้ความช่วยเหลือประชาชนไปแล้ว จำนวน 180,957,628.94 บาท ซึ่งเป็นการช่วยเหลือประชาชนในเบื้องต้นได้ทันที เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้า กรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วน อาจใช้เงินสะสมของ อปท. เพื่อช่วยเหลือตามความจำเป็นและเหมาะสม

6. สำนักงบประมาณ
- ได้ตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2566 ประกอบด้วย งบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 92,400 ล้านบาท และงบกลางรายการชดใช้เงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน จำนวน 2,000 ล้านบาท ซึ่งในกรณีหน่วยงานมีความจำเป็นต้องช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัยพิบัติ สามารถขอรับการจัดสรรจาก 2 ส่วนนี้ได้

นอกจากนั้น หน่วยงานภาครัฐอื่นๆ ยังระดมความช่วยเหลือสู่พี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบอย่างเต็มที่และต่อเนื่อง เช่น
- กรมสรรพากร มีมาตรการการลดหย่อนภาษี
- กรมสรรพสามิต ช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบโดยการขยายเวลายื่นแบบภาษี
- กรมธนารักษ์ ยกเว้นค่าเช่าสำหรับผู้เช่าที่ราชพัสดุเป็นเวลา 1 ปี
- กรมชลประทาน เร่งผลักดันน้ำจากพื้นที่ลุ่มต่ำออกไปสู่แม่น้ำสายหลักโดยเร็ว
- กรมประชาสัมพันธ์ รายงานข้อมูล ข่าวสารด้านพยากรณ์อากาศ สถานการณ์น้ำในพื้นที่ ให้คำแนะนำ และเตรียมช่องทางการติดต่อเพื่อขอรับความช่วยเหลือ

และยังมีมาตรการอื่นๆ ที่ผมได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งจัดทำข้อมูลและมาตรการเพิ่มเติมเพื่อเสนอให้ ครม. พิจารณาโดยด่วน ผมได้เน้นย้ำว่า สิ่งใดที่ทำได้ก่อน ขอให้ดำเนินการได้เลย โดยไม่ต้องรอน้ำลด ให้เร่งเข้าไปช่วยเหลือผู้ติดค้างอยู่ในบ้าน ผู้ป่วยติดเตียง พร้อมให้ใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีทุกประเภท ทั้งภาพถ่ายดาวเทียมสำรวจความเสียหายเพื่อให้ความช่วยเหลือเยียวยา เพื่อให้ประชาชนที่ประสบภัยในขณะนี้ สามารถดำเนินชีวิตได้ต่อไป

ขอให้พี่น้องประชาชนในทุกพื้นที่ทั่วประเทศไทยที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมได้เชื่อใจว่าผมและรัฐบาลได้รับทราบความเดือดร้อนของทุกท่านโดยไม่นิ่งนอนใจ ทั้งในพื้นที่ที่ผมได้ไปตรวจเยี่ยม หรือพื้นที่ที่ไม่ได้ไปก็ได้รับรายงานและติดตามอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา และจะเร่งดำเนินการอย่างเต็มที่ในช่วยบรรเทาทุกข์ให้กับทุกพื้นที่โดยเร็วที่สุดครับ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 13 'พายุซูลิก' เข้าไทยแล้ว ศูนย์กลางอยู่นครพนม

นางสาวกรรวี สิทธิชีวภาค อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุ “ซูลิก” ฉบับที่ 13 โดยมีใจความว่า

'พายุซูลิก' ถล่มมุกดาหาร ฝนกระหน่ำ 10 ชม. น้ำท่วมหลายพื้นที่

เกิดฝนตกต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงกลางดึกของคืนวันที่ 19 ก.ย. จนถึงช่วงเช้า 20 ก.ย. นานนับ 10 ชั่วโมง โดยมีฝนตกหนักในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองมุกดาหารหลายแห่ง

'ภูเก็ต' จับตาสถานการณ์ 24 ชม. หลังฝนถล่มต่อเนื่อง น้ำทะเลหนุนสูง

งานประชาสัมพันธ์เทศบาลนครภูเก็ต เปิดเผยว่า เมื่อเวลา 22.00 น. วันที่ 19 ก.ย. ที่ผ่านมา นายศุภโชค ละอองเพชร นายสุทธิพันธ์ สกุลเทพ รองนายกเทศมนตรีนครภูเก็ต

พยากรณ์อากาศ 10 วันล่วงหน้า ทิศทางลมแปรปรวน ปลายเดือนฝนลดลง

กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม. : (นับตั้งแต่ 07.00 น. ถึง 07.00น .วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.) 10 วันล่วงหน้า