ภาคใต้เจอฝนตกต่อเนื่อง 'กรุงเทพ-ปริมณฑล' ร้อยละ 60 ของพื้นที่

19 พ.ย.2565 - กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานลักษณะอากาศทั่วไป ร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนล่าง ในขณะที่ลมตะวันออกยังคงพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย

สำหรับบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้ยังคงมีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ สำหรับภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนยังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้า ขอให้ประชาชนในบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไว้ด้วย

พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทย

ภาคเหนือ อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา อุตรดิตถ์ ตาก กำแพงเพชร พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์ อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 7-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-15 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนบนของภาคมีอากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้าโดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ส่วนมากบริเวณจังหวัดเลย ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 14-18 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ภาคกลาง มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา ราชบุรี กาญจนบุรี นครปฐม สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครนายก ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร


ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก) มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี และนราธิวาส อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก) มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

กรุงเทพและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กรมอุตุฯ ประกาศด่วน พายุดีเปรสชัน ทวีกำลังขึ้นเป็นพายุโซนร้อน 'ซูลิก' ขึ้นฝั่งเวียดนามคืนนี้

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง พายุ “ซูลิก” ฉบับที่ 9 ระบุว่า เมื่อเวลา 07.00 น. ของวันนี้ (19 ก.ย. 67) พายุดีเปรสชันบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบน ได้ทวีกำลังขึ้นเป็นพายุโซนร้อน “ซูลิก” แล้ว และเมื่อเวลา 10.00 น.

'ณัฐพงษ์' ตั้งกระทู้ถามสด แนะรัฐบาลเพิ่มเงินเยียวยาน้ำท่วม ให้ท้องถิ่นช่วยอีกทาง

นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ สส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคประชาชน ตั้งกระทู้ถามสดด้วยวาจา เรื่องการช่วยเหลือเยียวยาประชาชนที่ประสบอุทกภัย

ขอนแก่นปรับลดระบายน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ พื้นที่ตัวเมืองเตรียมรับมือมวลน้ำจากพายุดีเปรสชัน

นายไกรสร กองฉลาด ผวจ.ขอนแก่น ลงพื้นที่ตรวจติดตามการระบายน้ำ ของบึงหนองโคตร ต.บ้านเป็ด อ.เมืองขอนแก่น ไปตามเส้นทางน้ำสายใหม่ หนองโคตร-บึงกี-แก่งน้ำต้อน ตามแผนการบริหารจัดการน้ำในเขตเมือง

ระดับแม่น้ำโขงที่นครพนม วัดได้ 11.79 เมตร ปลอดภัยใกล้สู่ภาวะปกติแล้ว

ที่ จ.นครพนม ระดับน้ำโขงเริ่มลดปริมาณลง ตั้งแต่ช่วงบ่ายวานนี้ ล่าสุดอยู่ที่ 11.79 เมตร ห่างจากจุดเฝ้าระวังเตือนภัย 21 เซนติเมตรคือที่ 12 เมตร ถือว่าปลอดภัยใกล้เข้าสู่ภาวะปกติ แต่ยังมีกระแสไหลเชี่ยว

'อ.เสรี ศุภราทิตย์' เปิดพื้นที่เสี่ยงภัยพิบัติจากอิทธิพลพายุโซนร้อน 19-23 ก.ย.

รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ ม.รังสิต และรองประธานมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ โพสต์ภาพกราฟิกพร้อมข้อความทางเฟซบุ๊กระบุว่า แชร์ให้ตระหนักไม่ควรมีการสูญเสียอีกเฝ้าระวังพื้นที่