อานิสงส์เอเปก เกาหลีเพิ่มโควตาส่งแรงงานไทยพุ่งกว่า 600%

26 พ.ย.2565 - นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า นายมุน ซึง-ฮย็อน (Mr. Moon Seoung-hyun) เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐเกาหลีประจำประเทศไทย และคณะ ได้เข้ามาพบเพื่อเยี่ยมคารวะเนื่องในโอกาสเข้ารับตำแหน่งและหารือประเด็นด้านแรงงาน เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ที่กระทรวงแรงงาน

โดยรัฐบาลไทยภายใต้การนำของท่าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และท่าน พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ที่กำกับดูแลกระทรวงแรงงาน ได้ให้ความสำคัญกับการจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศ เพื่อให้คนไทยมีงานทำ ยกระดับทักษะฝีมือ นำรายได้กลับมาพัฒนาประเทศ ซึ่งในเรื่องนี้เป็นพลพวงจากการประชุมเอเปคที่ผ่านมา เนื่องจากนายกรัฐมนตรีได้ให้เป็นตัวแทนไปส่งนายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐเกาหลีภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม และได้มีโอกาสพบปะพูดคุยกันในประเด็นความร่วมมือด้านแรงงาน โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาแรงงานไทยที่เข้าไปพำนักในเกาหลีอย่างผิดกฎหมายรวมถึงการขอเพิ่มโควตาการจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานในเกาหลีด้วย

นายสุชาติ กล่าวต่อว่า จากการพบกับท่านทูตเกาหลีในวันนี้ทั้งสองฝ่ายได้หารือในประเด็นสำคัญ 2 ประเด็น คือ การขอเพิ่มโควตาการจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานในประเทศเกาหลีใต้ในปี 2566 ทั้ง 3 กลุ่ม คือ กลุ่มแรก วีซ่าทำงานประเภท E-9 (แรงงานทั่วไป) ที่จัดส่งตามระบบการจ้างแรงงานต่างชาติ (EPS) ขอเพิ่มโควตาจากเดิมที่เคยจัดส่งไปปีละ 2,500 คน เป็น 5,000 คน กลุ่มที่ 2 วีซ่าทำงานประเภท E-7 (แรงงานประเภททักษะ/แรงงานฝีมือ) ไปทำงานสาขาช่างเชื่อม ช่างทาสี ในอุตสาหกรรมอู่ต่อเรือ จำนวน 5,000 คน และกลุ่มที่ 3 วีซ่าทำงานประเภท E-8 (แรงงานเกษตรตามฤดูกาล) จำนวน 5,000 คน รวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 15,000 คน ซึ่งจากเดิม 2,500 คนเพิ่มเป็น 15,000 คน คิดเป็นกว่า 600 เปอร์เซ็นต์

ทั้งนี้ ในอนาคตเกาหลียินดีที่จะเพิ่มโควตาให้แรงงานไทยได้เข้าไปทำงานในเกาหลีมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากปัจจุบันเกาหลีกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานจึงมีความต้องการนำเข้าแรงงานต่างชาติจำนวนมาก ที่สำคัญนายจ้างเกาหลีชื่นชอบแรงงานไทยเป็นอย่างมาก เพราะแรงงานไทย ขยัน ทำงานเก่ง ส่วนประเด็นกรณีคนไทยที่ลักลอบเข้าไปพำนักในเกาหลีอย่างผิดกฎหมายนั้น รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ ขณะนี้กระทรวงแรงงาน โดยกรมการจัดหางานได้ดำเนินการตรวจสอบสืบค้นข้อมูลและดำเนินคดีกับบริษัททัวร์ที่ลักลอบพาคนไทยเข้าไปพำนักในเกาหลีอย่างผิดกฎหมายแล้วจำนวน 37 ราย

“ผลพวงจากการประชุมเอเปคที่ผ่านมา ทำให้เกิดความร่วมมือตามมาในหลายๆ ด้าน รวมถึงความร่วมมือด้านแรงงานกับประเทศต่าง ๆ และจากการหารือในครั้งนี้ จะเป็นนิมิตรหมายที่ดีที่รัฐบาลและกระทรวงแรงงานได้กระชับความร่วมมือกับประเทศต่างๆ ให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น ซึ่งถือเป็นโอกาสดีของคนไทยที่จะได้ไปทำงานในต่างประเทศมากยิ่งขึ้น เพื่อให้คนไทยมีงานทำ มีโอกาสพัฒนาทักษะฝีมือให้สูงขึ้น และนำรายได้กลับมาพัฒนาประเทศ รวมทั้งช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอีกด้วย”นายสุชาติ กล่าวท้ายสุด

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“พิพัฒน์” นำผู้บริหาร ข้าราชการกระทรวงแรงงาน ร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567

วันที่ 25 กรกฎาคม 2567 เวลา 09.00 น. นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในพิธีถวายราชสักการะ

“พิพัฒน์” หารือมูลนิธิเพื่อการพัฒนาดิจิทัล ร่วมมือพัฒนาทักษะและสมรรถนะดิจิทัลแรงงาน สร้าง มาตรฐานฝีมือแรงงาน ด้าน AI

วันที่ 24 กรกฎาคม 2567 เวลา 11.00 น. นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ให้การต้อนรับ ดร.วิฑูรย์ สิมะโชคดี ประธานกรรมการมูลนิธิเพื่อการพัฒนาดิจิทัล และคณะ ในโอกาสเข้าพบเพื่อหารือ

เร่งขยายผลแก๊งพาคนไทยไปเก็บผลไม้ที่ฟินแลนด์ผิดกฎหมาย

'คารม' เผยกรมการจัดหางาน เร่งขยายผลขบวนการนำพาคนหางานเก็บผลไม้ป่าฟินแลนด์ผิดกฎหมาย ย้ำขณะนี้ยังชะลอจัดส่งแรงงานไทยทำงานเก็บผลไม้ป่า แนะผู้สนใจไปทำงานต่างประเทศปฏิบัติตามกฎหมาย

“พิพัฒน์”ต้อนรับทูตโอมาน ส่งแรงงานนับพันคน พร้อมชวนลงทุนด้านท่องเที่ยวและพลังงานในประเทศ

วันที่ 23 กรกฎาคม 2567 เวลา 13.00 น. นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ให้การต้อนรับ นายอิสซา อับดุลเลาะฮ์ ญาบิร อัลอาลาวี (Mr. Issa Abdullah Jaber Al-Alawi)

ครม. เห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจ ส่งแรงงานไทยไปเกาหลี ฉบับที่ 7

นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ ดังนี้ 1.ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงแรงงานแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงแรงงานแห่งสาธารณรัฐเกาหลี ด้านการส่งแรงงานไทยไปสาธารณรัฐเกาหลี

“พิพัฒน์” ยกคุณภาพแรงงานฟาร์มสุกร ใช้แนวปฏิบัติสากล (GLP) มุ่งเพิ่มโอกาสการค้าในตลาดโลก

วันที่ 17 กรกฎาคม 2567 ณ ห้องประชุมกระทรวงแรงงาน ชั้น 5 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในพิธีลงนาม MOU