มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดงาน ‘วันเชิดชูเกียรตินักวิจัย ประจำปี 2565’ เพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้คณาจารย์-นักวิจัย หลังคว้ารางวัลทั้งในระดับประเทศ-นานาชาติ สอดคล้องนโยบายยกระดับงานวิจัย ‘สร้างการเปลี่ยนแปลงระดับโลก’
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) จัดงาน “วันเชิดชูเกียรตินักวิจัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำปี 2565” ขึ้นเมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 2565 ณ อุทยานการเรียนรู้ป๋วย 100 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต โดยได้รับเกียรติจากศาสตราจารย์ ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ นายกสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นประธานในพิธี ทั้งนี้ เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติคุณคณาจารย์และนักวิจัยของ มธ. ที่สร้างผลงานด้านการวิจัยและนวัตกรรมก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงพัฒนาทั้งต่อสังคมไทยและสังคมโลก และสามารถคว้ารางวัลได้ทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ
รศ.เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวว่า ช่วงที่ผ่านมามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีนวัตกรรมจำนวนมากที่ได้รับรางวัลในประเทศ และสร้างชื่อเสียงในระดับโลก ซึ่งเน้นให้เห็นศักยภาพของบุคลากรธรรมศาสตร์ ที่มีความรู้ความสามารถในการประดิษฐ์คิดค้นอันตอบโจทย์การแก้ไขปัญหาสังคม
ฉะนั้น ธรรมศาสตร์เป็นสถาบันการศึกษาที่ให้ความสำคัญด้านวิชาการ งานวิจัย งานสร้างสรรค์ รวมถึงสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมมาโดยตลอด จึงมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมสร้างงานวิจัย และนวัตกรรมต่อไป ดังเช่นในขณะนี้ซึ่งมีการจัดตั้งกองทุนส่งเสริมงานวิจัย เพื่อสนับสนุนนักวิจัยทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ในการร่วมกันกับอาจารย์ และนักวิจัยของธรรมศาสตร์ ผลิตงานวิจัย อันจะนำไปสู่การยกระดับงานวิจัยให้มีคุณภาพ และเป็นที่ยอมรับในเวทีโลก
“ผลงานวิจัยของทุกคนที่ได้รับรางวัล ถือเป็นเครื่องพิสูจน์ความสำเร็จของธรรมศาสตร์ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงต่อสังคม (Social Impact) อย่างเป็นรูปธรรม เปรียบเสมือนแสงเทียนสองสว่างทำให้สังคมมองเห็นทิศทางการพัฒนา ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และดูแลคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ประชาชน นำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำ ตลอดจนเติบโตอย่างยั่งยืน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” รศ.เกศินี กล่าว
ศ.ดร.ทพญ.ศิริวรรณ สืบนุการณ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มธ. กล่าวว่า รอบปีที่ผ่านมาฝ่ายวิจัยและนวัตกรรมได้รับงบประมาณเพื่อการดำเนินงานตามแผนงานและกิจกรรมด้านการวิจัยที่กำหนดไว้อย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการทำวิจัยและนวัตกรรมในด้านต่างๆ เช่น งานสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ เผยแพร่ตีพิมพ์ผลงานดังกล่าว การจดทะเบียนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ฯลฯ
สำหรับความสำเร็จในปี 2565 ทีมนักวิจัยของ มธ. ได้คว้ารางวัลจากทั้งเวทีประกวดนวัตกรรมนานาชาติ และรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติอย่างมากมาย ซึ่งถือเป็นการตอกย้ำเป้าหมายความสำเร็จของมหาวิทยาลัยในการสร้างงานวิจัยคุณภาพสูง รวมถึงการพร้อมส่งเสริมนักวิจัยรุ่นใหม่ภายใต้โจทย์ที่ท้าทายในการเชื่อมโยงความรู้สหสาขาวิชา เพื่อนำไปสู่การเกิดประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมต่อสาธารณะอย่างแท้จริง
รศ.วิทยา ด่านธำรงกูล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TU RAC) กล่าวว่า ในปีก่อน TU RAC ได้มีโครงการวิจัยกว่า 500 โครงการ ซึ่งครอบคลุมองค์ความรู้ทุกศาสตร์ในโลกนี้ ซึ่งถือเป็นขุมพลังทางปัญญาอันยิ่งใหญ่ของสถาบันการศึกษา และประเทศชาติรวมอยู่ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทางสถาบันวิจัยจะร่วมกับฝ่ายวิจัยและนวัตกรรมต่อไป เพื่อผลักดัน รวมถึงส่งเสริมอาจารย์ และนักวิจัยทุกคนในฐานะผู้ผลิตงานวิจัยที่นำไปสู่การพัฒนาบ้านเมือง สังคม และยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คน เพื่อให้ธรรมศาสตร์เป็นสถาบันการศึกษาที่ก้าวไปอยู่ในระดับต้นของโลกด้านงานวิจัยในอนาคต
สำหรับผู้ที่ได้รับรางวัลในงาน “วันเชิดชูเกียรตินักวิจัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำปี 2565” แบ่งออกเป็น 7 ประเภทรางวัล ประกอบด้วย
1. ผู้ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ จำนวน 7 เหรียญ
2. ผู้ได้รับโล่รางวัลพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตน ราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี ศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น เมธีวิจัยอาวุโส และนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ
จำนวน 4 เหรียญ
3. ผู้ได้รับการกำหนดตำแหน่งศาสตราจารย์ ได้รับเงินเดือนขั้นสูง จำนวน 2 เหรียญ
4. ผู้ได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จำนวน 19 เหรียญ 4 ผลงาน
5. ผู้ได้รับทุนวิจัยโครงการขนาดใหญ่ จำนวน 11 เหรียญ
6. ผู้ได้รับรางวัลนักวิจัยรุ่นใหม่ดีเด่นระดับส่วนงาน จำนวน 12 เหรียญ
7. ผู้ได้รับรางวัลประกาศเกียรติคุณทางด้านการวิจัยจากหน่วยงานภายนอก จำนวน 21 เหรียญ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เพราะก้าวแรกของ 'นักศึกษา' คือช่วงเวลาเปราะบางที่ 'มหา’ลัย' ต้องโอบรับ'หอพัก' จึงต้องเป็น safe zone ที่เข้าใจ
การก้าวข้ามจากชีวิตนักเรียนเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัย ทำให้เยาวชน-คนรุ่นใหม่ต้องปรับตัวออกจาก ‘Comfort Zone’ เดิม เปลี่ยนทั้งสังคมใหม่ เพื่อนใหม่ สิ่งแวดล้อมใหม่ และประสบการณ์ใหม่
ค้านเลื่อนใช้พรบ.อุ้มหาย จี้เร่งนำพ.ร.ก.เข้ารัฐสภา
รุมคัดค้าน พ.ร.ก.เลื่อนบังคับใช้ พ.ร.บ.ป้องกันการทรมานอุ้มหาย
บทบาทใหม่ของ 'ธรรมศาสตร์' ในฐานะ 'มหาวิทยาลัยสุขภาพดีเพื่อคนทั้งมวล'
การดูแลสุขภาพกลายมาเป็นเทรนด์แห่งยุคสมัย โดยเฉพาะหลังจากที่โควิด-19 ผ่านจุดพีคของการแพร่ระบาด พบว่าคนไทยมีความตื่นตัวและรอบรู้ด้านสุขภาพมากยิ่งขึ้น
'จูเนียร์ กาจบัณฑิต' ออร่าพุ่งงานรุมแน่น ขึ้นแท่นดาวรุ่ง พระเอก 'ช่อง3'
กลายเป็นลูกรักมัมหมีคนใหม่ล่าสุดจาก ช่อง 3 สำหรับ “จูเนียร์-กาจบัณฑิต ใจดี” หนุ่มสุดฮอตเนื้อหอม จากละครเย็นที่กำลังออนแอร์อยู่ตอนนี้กับ “18 มงกุฎสะดุดเลิฟ” รับบทเป็น “จิระ” ทนายหล่อโอปป้า น่ารัก น่าฟัด เสน่ห์ออร่าเกินต้าน จนขึ้นแท่นลูกรักแม่ยกมัมหมีเต็มโลกโซเชียล หนุ่มคนนี้เป็นใคร เคยผ่านผลงานอะไรมาบ้าง วันนี้ได้รู้กันแน่นอน
ธรรมศาสตร์ ยืนหนึ่งหนุนศักยภาพ 'ผู้หญิง' มหา’ลัยแห่งเดียวในไทย ที่เป็น Signatory ของ UN Women’s WEPs
คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มธ. สร้างชื่อระดับโลก เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาแห่งแรกของไทย ที่ UN Women อนุมัติให้เป็น Signatory ของ UN Women’s WEPs เพื่อร่วมยืนหยัดกับองค์การสหประชาชาติที่จะยุติความไม่เท่าเทียมกันทางเพศในที่ทำงานและชุมชน
'นิพิฏฐ์' อบรม 'อนุสรณ์-พิธา' ไปศึกษากฎหมายมาตรา 112 ให้ตกผลึกก่อน!
'นิพิฏฐ์' ข้องใจ 'อาจารย์ธรรมศาสตร์-หัวหน้าพรรคก้าวไกล' ยื่นหนังสือถึงประธานองคมนตรีเพื่ออะไร สอนกฎหมายบอกความผิดตามมาตรา 112 เป็นความผิดต่อความมั่นคงในราชอาณาจักรไม่ใช่สถาบัน