'สุชาติ' สั่งสอบเข้ม แรงงานต่างด้าวแย่งอาชีพคนไทย ลงโทษทั้งนายจ้างลูกจ้าง

6 ม.ค.2566 - นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า จากกรณีมีข้อร้องเรียนผ่านสื่อมวลชนว่ามีแรงงานต่างด้าวเข้ามาประกอบอาชีพ เร่ขายสินค้า ขายอาหาร นวดแผนไทย และช่างทำผม ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑลเป็นจำนวนมาก นั้น กระทรวงแรงงานขอย้ำเตือนอีกครั้งว่าอาชีพ “ ขายสินค้า, ขายอาหาร, นวดแผนไทย และช่างทำผม เป็นอาชีพที่ชาวต่างชาติห้ามทำโดยเด็ดขาด ซึ่งระบุไว้ในประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง กำหนดงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำ หลังทราบเรื่อง ตนไม่นิ่งนอนใจได้มอบหมายให้อธิบดีกรมการจัดหางานลงพื้นที่ปูพรมตรวจสอบการทำงานของแรงงานต่างด้าวและสถานประกอบการอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานต่างด้าวที่แย่งอาชีพคนไทย เพื่อตรวจสอบ ควบคุม และดำเนินคดีแรงงานต่างด้าวที่ทำงานผิดกฎหมาย พร้อมประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้นายจ้างสถานประกอบการ และแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยปฏิบัติตามกฎหมายอย่างถูกต้อง

“งานที่ห้ามแรงงานต่างด้าวทำมีทั้งสิ้น 40 งาน แบ่งเป็น งานที่ห้ามทำเด็ดขาด 27 งาน และงานที่ให้คนต่างด้าวทำได้โดยมีเงื่อนไข 13 งาน ซึ่งหากตรวจพบการฝ่าฝืนกฎหมาย คนต่างชาติทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตทำงานหรือทำงานนอกเหนือสิทธิจะมีโทษปรับตั้งแต่ 5,000 – 50,000 บาท และถูกผลักดันส่งกลับ และในส่วนนายจ้างที่จ้างคนต่างชาติที่ไม่มีใบอนุญาตทำงาน หรือให้คนต่างชาติทำงานนอกเหนือสิทธิจะมีโทษปรับตั้งแต่ 10,000-100,000 บาทต่อคนต่างชาติที่จ้างหนึ่งคน หากกระทำผิดซ้ำต้องมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 50,000 – 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และห้ามจ้างคนต่างชาติทำงานเป็นเวลา 3 ปี ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าว

ด้านนายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า กรมการจัดหางานรับข้อสั่งการจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน โดยมอบหมายกองทะเบียนจัดหางานกลางและคุ้มครองคนหางาน สำนักงานจัดหางานจังหวัด และสำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 ลงพื้นที่ตรวจสอบการทำงานของคนต่างด้าว นายจ้าง สถานประกอบการ และคนต่างด้าวที่เข้ามาแย่งอาชีพคนไทย โดยปีงบประมาณ 2565 มีการตรวจสอบนายจ้าง/สถานประกอบการ จำนวน 35,258 ราย/แห่ง และดำเนินคดีคนต่างด้าวแย่งอาชีพคนไทย จำนวน 918 คน และปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (1 ต.ค. 65 - 29 ธ.ค. 65) มีการตรวจสอบนายจ้าง/สถานประกอบการ จำนวน 17,476 ราย/แห่ง และดำเนินคดีคนต่างด้าวแย่งอาชีพคนไทย จำนวน 295 คน

“ ล่าสุดวันที่ 5 ม.ค. 2565 เจ้าหน้าที่ชุดเฉพาะกิจฯ กรมการจัดหางาน ได้ดำเนินการตรวจแรงงานต่างด้าวแย่งอาชีพคนไทยโดยได้เข้าตรวจสอบนายจ้าง/สถานประกอบการในเขตพื้นที่ จังหวัดนนทบุรีและกรุงเทพมหานครรวมทั้งสิ้น จำนวน 56 แห่ง/รายพบแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมากระทำความผิดประกอบอาชีพแย่งอาชีพคนไทยจำนวน 8 ราย และได้ควบคุมตัวส่งพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจบางขุนเทียนดำเนินคดีในข้อหาเป็นคนต่างด้าวทำงานนอกเหนือจากที่มีสิทธิ์จะทำได้ตาม มาตรา 8 แห่ง พระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2561”

ทั้งนี้ สำหรับผู้ที่พบเห็นคนต่างด้าวทำงานนอกเหนือสิทธิหรือพบเห็นการจ้างคนต่างด้าวทำงานโดยผิดกฎหมาย สามารถแจ้งเบาะแสหรือร้องทุกข์ได้ที่ สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 หรือ ที่สายด่วนกระทรวงแรงงาน โทร.1506 กด 2 กรมการจัดหางาน หรือสายด่วน 1694 กรมการจัดหางาน หรือแจ้งเบาะแสโดยตรงที่กองทะเบียนจัดหางานกลางและคุ้มครองคนหางาน โทร. 02 354 1729

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

พิพัฒน์ เผย kick off ตรวจสุขภาพเชิงรุกในสถานประกอบการทั่วประเทศ ดีเดย์ ที่่ บริษัท ดูโฮม จำกัด จังหวัดปทุมธานี 1 เม.ย.67 นี้

วันที่ 28 มีนาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในโครงการสัมมนาผู้บริหารสำนักงานประกันสังคม ครั้งที่ 1/2567 โดยมี นายสุรศักดิ์ อักษรกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์

แรงงานอิสระ เฮ ! "พิพัฒน์" เผยให้ลงทะเบียน เงินกู้ ประกอบอาชีพ วงเงิน 50,000-300,000 ดอกเบี้ย 0% ภายใน 30 เม.ย.นี้

วันที่ 27 มีนาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมกิจกรรมของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงาน ตามโครงการกระทรวงแรงงานพบประชาชนจังหวัดนครศรีธรรมราช

ไทยไฟเขียวให้แรงงานเพื่อนบ้านกลับบ้านเกิดเล่นน้ำสงกรานต์!

ที่ประชุม ครม. มีมติเห็นชอบการผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา เดินทางกลับประเทศต้นทาง เพื่อร่วมงานประเพณีสงกรานต์ ประจำปี พ.ศ. 2567

"พิพัฒน์" ชง ครม.ผ่านฉลุย รัฐวิสาหกิจ เฮ! ลาคลอด 98 วัน-เพิ่มวันหยุดพิเศษตามมติ ครม.

26 มีนาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เพิ่มสิทธิประโยชน์ลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ ให้ลาเพื่อคลอดบุตรโดยได้รับค่าจ้าง 98 วัน

“พิพัฒน์” รมว.แรงงาน พร้อมส่ง 100,000 คน เข้าอุตฯรถยนต์ไฟฟ้า ดันพัฒนาแรงงานวัยเรียน ส่งเสริมอาชีวะ ลดการขาดแรงงานในอนาคต

วันที่ 22 มีนาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ร่วมเวทีเสวนาในหัวข้อ การยกระดับการทำงานของคนไทยในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งจัดขึ้นโดย

ผู้ประกันตนควรรู้ 'กองทุนเงินทดแทน-กองทุนประกันสังคม' ต่างกันอย่างไร

สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน อธิบายเกี่ยวกับ "กองทุนเงินทดแทน กับกองทุนประกันสังคม" ต่างกันอย่างไรบ้าง มีสิทธิประโยชน์แบบไหนที่ผู้ประกัน