'เหนือ-อีสาน' หนาวจัด 'ใต้' เจอฝน 'กรุงเทพ-ปริมณฑล' ต่ำสุด 20 องศา

7 ม.ค.2566 - กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานลักษณะอากาศทั่วไป 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงยังคงแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างและภาคตะวันออก ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงและอากาศที่หนาวเย็นลง รวมถึงระวังอันตรายจากอัคคีภัยที่เกิดจากสภาพอากาศแห้งในระยะนี้ไว้ด้วย

สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรง ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่างและมีแนวโน้มเคลื่อนเข้าใกล้บริเวณปลายแหลมญวน ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณอ่าวไทยเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนเรือเล็กในบริเวณดังกล่าวควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 8 มกราคม 2566 รวมทั้งระวังอันตรายจากคลื่นลมแรงที่ซัดเข้าหาฝั่งในระยะนี้ไว้ด้วย
ออกประกาศ 07 มกราคม 2566


พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทย 06:00 น. วันนี้ ถึง 06:00 น. วันพรุ่งนี้

ภาคเหนือ อากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียสอุณหภูมิต่ำสุด 12-19 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 26-31 องศาเซลเซียสบริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัดอุณหภูมิต่ำสุด 3-10 องศาเซลเซียสลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-25 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียสโดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาคอุณหภูมิต่ำสุด 14-19 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 26-28 องศาเซลเซียสบริเวณยอดภูอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-15 องศาเซลเซียสลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

ภาคกลาง อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลงอีกเล็กน้อยอุณหภูมิต่ำสุด 19-22 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียสลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ภาคตะวันออก อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียสโดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ส่วนมากทางด้านตะวันออกของภาคอุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 28-31 องศาเซลเซียสลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก) ตอนบนของภาค อากาศเย็นในตอนเช้าตอนล่างของภาค มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาสอุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-30 องศาเซลเซียสตั้งแต่จังหวัดสุราษฎธานีขึ้นไป: ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-40 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตรตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงมา: ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-45 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก) มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ของพื้นที่ส่วนมากบริเวณจังหวัดพังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูลอุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียสลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

กรุงเทพและปริมณฑล อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลงอีกเล็กน้อยอุณหภูมิต่ำสุด 20-22 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 30-31 องศาเซลเซียสลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เตรียมใจยังร้อนกันอีกยาว 'เอลนีโญ'ส่อหวนกลับมาเร็ว

จากกรณีที่กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศการติดตามและการคาดหมายปรากฏการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อลักษณะอากาศเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2567 โดยมี 4 ปรากฏการณ์ ประกอบด้วย ปรากฏการณ์เอนโซ El Nino Southern Oscillation (ENSO) ปรากฏการณ์ Indian Ocean Dipole (IOD) ปรากฏการณ์ Madden Julian Oscillation (MJO) และลมมรสุม (Monsoon) นายสมควร ต้นจาน ผู้อำนวยการกองตรว

กรมอุตุฯ เตือนฉบับ 7 อัปเดตชื่อจังหวัดระวังพายุฤดูร้อน ฝนถล่ม 4-7 พ.ค.นี้

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ 7 (มีผลกระทบในช่วงวันที่ 4-7 พฤษภาคม 2567)

กรมอุตุนิยมฯ เตือน พายุฤดูร้อนถล่มไทยตอนบน 3-7 พ.ค.

กรมอุตุนิยมวิทยา โดยนางสาวกรรวี สิทธิชีวภาค อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ 5

ทั่วไทยยังมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ภาคเหนือตอนบนมีฝนฟ้าคะนอง ลูกเห็บตกบางแห่ง

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไป