
รัฐบาล เดินหน้าดูแลกลุ่มชาติพันธุ์ ขับเคลื่อนภายใต้แผนส่งเสริมการอยู่ร่วมกันภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรม (พ.ศ. 2566 – 2570)
23 ม.ค.2566-น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ภายใต้ความเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมของประเทศไทย ที่ประกอบไปด้วยกลุ่มคนในชาติที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ทั้งด้านศาสนาความเชื่อ ภาษา วิถีชีวิต และอัตลักษณ์ นอกจากนี้ยังมีความหลากหลายทางด้านชาติพันธุ์ ซึ่งในประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งสิ้น 60 กลุ่ม ประชากรมากกว่า 6 ล้านคน ครอบคลุม 67 จังหวัด ดังนั้น การส่งเสริมให้มีการยอมรับ เข้าใจ เคารพในความหลากหลายและให้เกียรติซึ่งกันและกัน จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะนำไปสู่ความสมานฉันท์ และความมั่นคงของชาติ ซึ่งขณะนี้ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติในฐานะหน่วยงานระดับนโยบายด้านความมั่นคง ได้ดำเนินการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมการอยู่ร่วมกันภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรมในประเทศไทย (พ.ศ. 2566 – 2570) เพื่อเป็นแนวทางการเสริมสร้างการอยู่ร่วมกันของคนทุกกลุ่มทั่วทั้งประเทศ โดยหัวใจของแผนฉบับนี้ คือ การส่งเสริมให้ทุกคนในชาติ ได้รับการการประกันสิทธิขั้นพื้นฐานและการพัฒนาศักยภาพ ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น อย่างเสมอภาคและไม่เลือกปฏิบัติ มีการบริหารจัดการความหลากหลายภายใต้หลักสิทธิมนุษยชน ตลอดจนสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วม
ทั้งนี้ ในระยะแรกจะให้ความสำคัญกับกลุ่มชาติพันธุ์ ทั้งที่เป็นกลุ่มที่อาศัยอยู่บนพื้นที่สูง บนพื้นที่ราบ ในพื้นที่ป่า และกลุ่มที่อาศัยตามหมู่เกาะหรือชายฝั่ง รวมทั้งกลุ่มมลายูในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีแนวทางหลัก คือ 1) เสริมสร้างให้เกิดการอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสันติสุข บนการเคารพและ ให้เกียรติซึ่งกันและกัน 2) เสริมสร้างการเรียนรู้และความเข้าในวิถีชีวิตและอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม ของแต่ละกลุ่ม 3) ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพด้านอาชีพให้กับทุกกลุ่ม รวมทั้งให้ความสาคญั กับบทบาทสตรีในการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาในหมู่บ้านและ ชุมชนที่อยู่อาศัย และ 4)เน้นให้มีการบริหารจัดการที่ตอบสนองต่อบริบททางสังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมได้อย่างเข้าใจ ตลอดจนเสริมสร้างกลไกในการ บูรณาการงานของภาครัฐในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับนโยบาย ระดับอำนวยการ และระดับการปฏิบัติ ทั้งส่วนกลางและในพื้นที่
“แผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมการอยู่ร่วมกันภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรมในประเทศไทย (พ.ศ. 2566 – 2570) จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการกำหนดทิศทางการขับเคลื่อนของทุกภาคส่วน เพื่อส่งเสริมให้คนทุกกลุ่มอยู่ร่วมกันภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรมได้อย่างสันติสุข ให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้เสียเปรียบในสังคมเพื่อลดอุปสรรคของกลุ่มจากการได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา สาธารณสุข การเมืองกฎหมาย และวัฒนธรรมตลอดจนจากความเหลื่อมล้ำที่มีอยู่ในสังคม โดยจะได้เสริมสร้างให้มีหลักประกันด้านสิทธิความปลอดภัยตอบสนองความจำเป็นขั้นพื้นฐานให้ปลอดจากความกลัว อีกทั้งจะหนุนเสริมให้กลุ่มดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความเข้มแข็งและพลังทางสังคมต่อไป”
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'นายกฯอิ๊งค์' ไล่บี้ 'ตร.-DSI' ฟันคดีตึกถล่ม ใกล้ออกหมายจับคนผิด
นายกฯ เรียก ‘ตำรวจ-ดีเอสไอ’ แจงความคืบหน้าเหตุตึก สตง.ถล่ม แย้มใกล้ออกหมายจับคนผิดแล้ว จี้หน่วยงานเร่งส่งหลักฐานให้ ตร. ขอประชาชนมั่นใจรัฐบาลไม่ปล่อยแน่นอน
พี่เหยื่อตึกถล่มรับเงินเยียวยา 1 แสน ใช้ดูแลพ่อชรา-หลานป่วยโรคซึมเศร้า
พี่สาวเหยื่อตึกถล่ม รับเงินช่วยเหลือ 1 แสน จากรัฐบาล เผยไว้ใข้ดูแลพ่อวัย 80 ปี กับลูกน้องสาวที่ป่วยซึมเศร้า
รัฐบาลห่วง 5 โรคฮิต หลังเล่นน้ำสงกรานต์
นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประชาชนส่วนใหญ่ออกไปร่วมสนุกกับกิจกรรมสาดน้ำอย่างชุ่มฉ่ำทั่วประเทศ อาจเป็นสาเหตุทำให้เจ็บป่วยได้ง่ายๆ
นายกฯ เรียก 'ทวี' แจงผลสอบตึกถล่ม พบปลอมลายเซ็นวิศวกรเพียบ
นายกฯ เรียกกระทรวงยุติธรรม รายงานความคืบหน้าคดีตึก สตง.ถล่ม 'ภูมิธรรม' เผยเริ่มคลี่คลาย พบปลอมลายเซ็นวิศวกรหลายคน
'ภูมิธรรม' โยนถามนายกฯ ข่าวปรับครม. ยันสัมพันธ์พรรคร่วมยังเหนียวแน่น
'ภูมิธรรม' โยนกระแสปรับครม. ปลายเดือน เม.ย. ต้องถามนายกฯ ตอบแทนไม่ได้ ยันสัมพันธ์พรรคร่วมรัฐบาลยังเหนียวแน่น
รัฐบาลปลื้ม 'มหกรรมสงกรานต์' นักท่องเที่ยวทะลุล้าน พลังซอฟต์พาวเวอร์ไทย
'Maha Songkran World Water Festival 2025' นักท่องเที่ยวทะลุล้าน สะท้อนพลังซอฟต์พาวเวอร์ รัฐบาลเดินหน้ายกระดับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยก้าวสู่เวทีโลก ดันเศรษฐกิจโตทั่วประเทศ