'กมธ.วิสามัญคุ้มครองชาติพันธุ์‘ แถลง 6 สาระสำคัญร่าง กม. มอบสิทธิคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์-เข้าถึงการศึกษา-สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน
18 ก.ย. 2567 - ที่รัฐสภา คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ. ... สภาผู้แทนราษฎร นำโดย น.ส.ปิยะรัฐชย์ ติยะไพรัช สส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธาน กมธ.วิสามัญฯ แถลงผลการประชุมว่า ร่าง พ.ร.บ.นี้ เป็นร่างกฎหมายที่ยกร่างขึ้นมาใหม่ทั้งฉบับเป็นครั้งแรก
โดยมีเจตนารมณ์ให้เป็นกฎหมายคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิทางวัฒนธรรมเนื่องจากกลุ่มชาติพันธุ์มีอัตลักษณ์ และการสั่งสมทางวัฒนธรรม ภาษา วิถีชีวิต ภูมิปัญญา และความเชื่อตามจารีตประเพณีเป็นของตัวเอง จึงมีความจำเป็นต้องมีบทบัญญัติเพื่อคุ้มครองสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์ให้สามารถดำรงวิถีชีวิตได้อย่างมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ตามหลักสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
สำหรับการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้ ส่วนที่ 1 หลักพื้นฐานแห่งสิทธิและการคุ้มครองสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งมีบทบัญญัติรับรองให้กลุ่มชาติพันธุ์มีสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญอย่างครบถ้วน อาทิ สิทธิที่จะได้รับ การคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยต้องไม่เหยียดหยาม สร้างความเกลียดชัง หรือเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อกลุ่มชาติพันธุ์ สิทธิทางวัฒนธรรม, สิทธิในการจัดการศึกษาด้วยภาษาของตนเอง, สิทธิในที่ดินและการเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, สิทธิในการเข้าถึงสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานและสวัสดิการสังคมที่มีคุณภาพ
ส่วนที่ 2 กลไกการคุ้มครองสิทธิและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ กำหนดให้มีกลไก 2 ระดับ ได้แก่ 1.กลไกระดับนโยบาย ที่กำหนดให้มีคณะกรรมการคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ ที่มีนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายเป็นประธาน โดยมีผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร เป็นกรรมการและเลขานุการ และศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) รับผิดชอบงานวิชาการและธุรการของคณะกรรมการ และ 2.กลไกระดับปฏิบัติการ กำหนดให้คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะเรื่องหรือคณะอนุกรรมการอื่น
ส่วนที่ 3 การจัดตั้งสภากลุ่มชาติพันธุ์แห่งประเทศไทย เพื่อให้เป็นกลไกการมีส่วนร่วมของกลุ่มชาติพันธุ์ ตลอดจนเป็นศูนย์ประสานงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างความเข้าใจอันดี และเสนอนโยบาย มาตรการคุ้มครอง และส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ต่อคณะกรรมการ
ส่วนที่ 4 การจัดทำฐานข้อมูลวิถีชีวิตและประวัติศาสตร์กลุ่มชาติพันธุ์ ที่กำหนดให้มีการจัดทำฐานข้อมูลกลางของประเทศ เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานสำคัญประกอบการกำหนดนโยบาย การพิสูจน์
ข้อเท็จจริงในการรับรองสถานะบุคคล สิทธิในที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจนการดำเนินกิจการของรัฐที่อาจกระทบต่อวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์
ส่วนที่ 5 การจัดตั้งเขตพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ ที่บัญญัติให้คณะกรรมการมีอำนาจประกาศกำหนดพื้นที่คุ้มครองฯ เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองวิถีชีวิตและวัฒนธรรม การรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล เป็นธรรม และยั่งยืน และการส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน ตามภูมิปัญญาและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ ทั้งนี้ การกำหนดพื้นที่คุ้มครองฯ ไม่ใช่เป็นการให้สิทธิพิเศษแก่กลุ่มชาติพันธุ์ แต่เป็นการคุ้มครองสิทธิกลุ่มชาติพันธุ์ในฐานะชุมชนดั้งเดิม เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งในการเข้าถึงทรัพยากร
ส่วนที่ 6 บทกำหนดโทษ เมื่อการคุ้มครองสิทธิกลุ่มชาติพันธุ์แล้ว ก็ได้มีการระบุห้ามไม่ให้การกระทำการใดๆ อันเป็นการเหยียดหยาม สร้างความเกลียดชัง หรือเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง ตลอดจนห้ามไม่ให้บังคับให้กลุ่มชาติพันธุ์ต้องผสมกลมกลืนทางศาสนา วัฒนธรรม หรือทำลายวัฒนธรรมของตนไว้ จึงต้องมีการกำหนดบทลงโทษกรณีมีผู้ละเมิดดังกล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
คนไทใหญ่ประกาศชัดไม่ใช่พม่า ในเวทีเสวนารู้จักเพื่อนบ้านและเครือญาติของเรา
ที่พิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มน้ำโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) จ.เชียงราย เครือข่ายภาคประสาสังคม นักวิชาการ และสื่อมวลชนได้ร่วมกันจัดเวทีเสวนา “รู้จักเพื่อนบ้านและเครือญาติของเรา” ตอน 1 กรณีไทใหญ่ โดยนอกจากเวทีเสวนายังมีการจัดศีลปการแสดงไทใหญ่ รวมถึงมีอาหารไทใหญ่แจกจ่าย โดยมีผู้ร่วมงานประมาณ 120 คน
ร่างพ.ร.บ.ชาติพันธุ์ฯ อีกหมุดหมาย สร้างความเท่าเทียมในสังคมไทย
เมื่อวันที่ 5 ก.พ. 2568 ที่ผ่านมา ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีมติเสียงข้างมาก เห็นชอบ “ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ. … “ในวาระสาม ด้วยคะแนนเสียงเห็นชอบ 312 ต่อ 84 เสียง
วันเด็กบนดอยแม่สลอง หนูน้อยชาติพันธุ์ร่วมกิจกรรมคึกคัก ท่ามกลางอากาศหนาวเย็น
ที่ศูนย์การเรียนรู้บนดอยแม่สลอง ต.แม่สลองนอก อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย มูลนิธิพัฒนาชุนชนและเขตภูเขา (พชภ.) ได้จัดกิจกรรมงานวันเด็ก ซึ่งเด็ก ๆ ชาติพันธุ์
เครือข่ายชาวเลอันดามัน ยื่น 3 ข้อ ขอรัฐบาลแก้ไขปัญหา ฟื้นฟูวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล
เครือข่ายชาวเลอันดามัน นำโดย นายวิทวัส เทพสง ผู้ประสานงานฯ พร้อมตัวแทน 10 คน ยื่นหนังสือถึงนายกฯ
'ดร.ไชยณรงค์' อยากให้คิดเรื่องการอนุรักษ์!
ผศ.ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม