'อดีตเลขาฯ กสทช.' สอนวิธีแก้ ปมแฮกข้อมูลคนไทย 55 ล้านราย

31 มี.ค. 2566 – นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ อดีตเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพเศรษฐกิจของประเทศ พรรคไทยสร้างไทย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า จากกรณีที่มีข่าวในเว็บไซต์ชื่อ Breach Forums ประกาศขายข้อมูลส่วนตัวคนไทย 55 ล้านคน ซึ่งมีตั้งแต่ชื่อ สกุล เบอร์โทรศัพท์ เลขประจำตัวประชาชน ที่อยู่โดยอ้างว่าขโมยจากหน่วยงานของรัฐนั้น

ในนามประธานคณะกรรมการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพเศรษฐกิจของประเทศ พรรคไทยสร้างไทย ขอเสนอแนะรัฐบาลเร่งดำเนินการต่อกรณีดังกล่าวดังนี้

1.ข้อมูลส่วนบุคคล ที่รั่วไหลออกไปนั้น สำนักงานคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) มีหน้าที่ดูแลข้อมูลส่วนบุคคลของคนไทยทั้งหมด จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ

2.การยืนยันตัวตน (หรือในอุตสาหกรรมการเงินเรียกว่า kyc -know your customer) ในระดับสากล มีสองแบบ คือ จากสิ่งที่คุณมี (what you have) และ จากสิ่งที่คุณเป็น (who you are)

What you have ก็มี เลขบัตรประชาชน เลขรหัสPIN หรือ รหัสผ่านต่างๆ นั่นเป็นของที่ใช้ทั่วไป

แต่หลายปีที่ผ่านมา เทคโนโลยีพัฒนาขึ้นมากมาย จนสามารถใช้ สิ่งที่คุณเป็น (Who you are) ได้ ซึ่งประกอบไปด้วย ลายนิ้วมือ ม่านตา เสียง และ ใบหน้าแทนได้

จะสังเกตว่าการลงทะเบียนซิมในช่วงที่ตนเองเป็นเลขาธิการ กสทช. ในปี 2561 – 62 ใช้การตรวจสอบใบหน้า เทียบกับรูปในบัตรประชาชนที่เสียบเข้าเครื่อง เพราะเทคโนโลยีพัฒนาไปจนทำได้ในมาตรฐานที่ดี ราคาไม่แพง ก่อนที่ภาคธนาคารจะนำมาใช้แพร่หลายในเวลาต่อมา

ปัจจุบันระบบการตรวจสอบใบหน้านั้นแม่นยำในระดับ 99% ไม่ว่าจะใส่หน้ากากซิลิโคนมาก็สามารถแยกแยะได้

ปัญหาการรั่วไหลของข้อมูลเป็นเรื่องที่น่ากังวลมาก เพราะประชาชนมีเลขบัตรประชาชน 13 เลขเดียวที่ได้มาตั้งแต่เกิด ไม่สามารถเปลี่ยนได้ ที่น่ากังวลไปกว่านั้นคือ หน่วยงานหลักๆ ไม่ว่าจะเป็น ประกันสังคม สรรพากร ต่างอ้างอิงเลขบัตรประชาชนทั้งสิ้น

ที่ผ่านมาทุกหน่วยงานใช้การยืนยันตัวแต่ what you have (จากสิ่งที่คุณมี) เท่านั้น ไม่ได้ใช้ who you are (สิ่งที่คุณเป็น) แต่อย่างใด

สำหรับแนวทางแก้ไขต้องใช้การยืนยันตัวตน จากสิ่งที่คุณเป็น (who you are) ในการทำธุรกรรม โดยผู้เป็นเจ้าของข้อมูลสามารถกำหนดสิทธิในการเข้าใช้ข้อมูลได้ด้วยตนเอง

พรรคไทยสร้างไทย จะเสนอกฎหมายแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน และสามารถทำให้ประชาชน มีความปลอดภัยในเรื่องนี้ ภายใน 6 เดือน

ทั้ง กสทช. กระทรวงดีอีเอส คณะกรรมการประกันภัย ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องบูรณาการทำงานร่วมกัน.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'วุฒิสภา' ชงสอบแต่งตั้ง 'เลขาฯ กสทช.' ล่าช้าเกือบ 4 ปี ชี้ผลประโยชน์ชาติเสียหาย

“กมธ. ไอซีที วุฒิสภา” ชงสำนักนายกฯ -ป.ป.ช.-ผู้ตรวจการแผ่นดิน ดำเนินการ หลังพบความผิดปกติ กระบวนการตั้งเลขา กสทช. เกือบ 4 ปียังไม่ได้ตัว จนรักษาการจะครบวาระ ยันไม่ได้ก้าวก่าย แต่ส่งกระทบผลประโยชน์ชาติเสียหาย

โหวตงบ67วันโลกาวินาศ สะท้อนเสถียรภาพฝ่ายค้าน?

หลังเสร็จสิ้น ภารกิจเดินทางมาราธอน ‘เศรษฐา ทวีสิน’ นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง เดินทางเยือนต่างประเทศร่วมเกือบ 2 สัปดาห์ ภารกิจกลับเชียงใหม่ บ้านเกิดในรอบ 17ปี

ศาลอาญาฯ ประทับฟ้อง 'พิรงรอง รามสูต' กสทช.ปฏิบัติหน้าที่มิชอบ

ที่ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ถนนเลียบทางรถไฟ ศาลนัดฟังคำสั่งชั้นไต่สวนคดีที่บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัดยื่นฟ้อง ศาสตร