สธ.ขยายบริการดูแลผู้ป่วยจิตเวชยาเสพติดใน รพศ.-รพท.ครบทุกจังหวัด

สธ.ขยายบริการผู้ป่วยจิตเวชยาเสพติดใน รพศ./รพท.ครบทุกจังหวัด นำร่องศูนย์ธัญญารักษ์จังหวัด ครบทุกเขต พร้อมผลิตบุคลากรเติมเต็มระบบบริการ

11 พ.ค.2566 - นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า กระทรวงสาธารณสุขได้เร่งรัดการดำเนินงานด้านยาเสพติดและสุขภาพจิต ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2565 ที่ได้เห็นชอบ 4 มาตรการสำคัญ ได้แก่ 1.มาตรการเกี่ยวกับอาวุธปืน 2.มาตรการด้านการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด 3.มาตรการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด และ 4.มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพจิต โดยให้โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดหอผู้ป่วยในจิตเวชและยาเสพติด ส่วนโรงพยาบาลชุมชน ให้จัดตั้งกลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด เพื่อรองรับการบำบัดรักษา ฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดในทุกพื้นที่ ซึ่งปัจจุบันโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป เปิดหอผู้ป่วยในครอบคลุมทุกจังหวัด จำนวน 127 แห่ง และในโรงพยาบาลชุมชนขนาดใหญ่ อีกจำนวน 4 แห่ง รวม 131 แห่ง และมีเตียงรองรับ 1,348 เตียง ส่วนโรงพยาบาลชุมชน มีการจัดตั้งกลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติดแล้ว 494 แห่ง และยังจัดบริการศูนย์ธัญญารักษ์จังหวัด ดูแลผู้ป่วยยาเสพติดระยะกลาง (Intermediate Care) นำร่องอีกเขตสุขภาพละ 1 แห่ง

นพ.โอภาสกล่าวต่อว่า ในส่วนของบุคลากรที่จะให้การดูแลผู้ป่วย สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการบำบัดและฟื้นฟูยาเสพติด ได้ร่วมกับ กรมสุขภาพจิต และกรมการแพทย์ จัดการอบรมระยะสั้น 3 หลักสูตร ได้แก่ 1.การอบรมแพทย์ของโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปทั่วประเทศ ที่ดูแลหอผู้ป่วยจิตเวช โดยเน้นโรงพยาบาลที่ยังขาดแคลนจิตแพทย์ จำนวน 4 รุ่น รวม 200 คน เริ่มเดือนมิถุนายนนี้ 2.การอบรมพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชประจำหอผู้ป่วย จำนวน 250 คน และ 3.การอบรมพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชฉุกเฉิน สำหรับโรงพยาบาลชุมชน จำนวน 650 คน ในศูนย์ฝึกอบรม 5 แห่ง ได้แก่ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา, โรงพยาบาลสวนปรุง, โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์, โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ และโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ ส่วนระยะกลางและระยะยาว ได้จัดทำแผนบูรณาการป้องกัน ปราบปราม และบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด ปี 2567 และโครงการพัฒนาเครือข่ายระบบด้านการดูแลสุขภาพจิต ปี 2567-2570 โดยฝึกอบรมจิตแพทย์เพิ่มอีกปีละ 30 คน เพื่อให้ได้จิตแพทย์ครบ 400 คน ตามสัดส่วนของอาจารย์แพทย์ต่อแพทย์ประจำบ้าน ซึ่งคณะรัฐมนตรี ได้เห็นชอบในหลักการแล้ว เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา

ด้าน พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมสุขภาพจิตได้ขออนุญาต ราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย จัดฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านและบุคลากรต่าง ๆ แล้ว จะเริ่มดำเนินการได้ในปี 2567 และในส่วนกรมเอง ได้จัดการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเพิ่มเติมแล้ว 6 คน และจัดฝึกอบรมระยะสั้น ในเขตสุขภาพที่ 8 ประกอบด้วย แพทย์ 150 คน และพยาบาล 100 คน พร้อมทั้งจัดทำคู่มือและแนวทางการจัดตั้งหอผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติด และมาตรฐานการปฏิบัติงานการดูแลผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดที่มีความเสี่ยงสูง ต่อการก่อความรุนแรง เพื่อเป็นแนวทางให้หน่วยงานต่างๆ นำไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดที่มีพฤติกรรมรุนแรง ให้ได้รับการดูแลอย่างมีคุณภาพ ด้วยระบบบริการจิตเวชฉุกเฉินและติดตามดูแลอย่างต่อเนื่องในชุมชน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ปลัดสธ. ลงพื้นที่ติดตามการให้ความช่วยเหลือ เหตุแอมโมเนียรั่วไหลในโรงงานน้ำแข็งชลบุรี

ที่จังหวัดชลบุรี นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นายแพทย์มณเฑียร คณาสวัสดิ์ ผู้ต

กรมสุขภาพจิต ตั้งเป้าดูแลใจผู้ปฏิบัติงานในเรือนจำ ลดเครียด ซึมเศร้า

รองโฆษกรบ. เผย กรมสุขภาพจิต วางแผนสนับสนุน ดูแลสุขภาพใจให้ผู้ปฏิบัติงานในเรือนจำ ตั้งเป้าลดความเครียด ภาวะซึมเศร้า สร้างความเข้มแข็งทางใจ

ตัดตอนผู้ป่วยจิตเวชข้างถนน ฟื้นฟูคืนสู่'บ้าน'

กรณีฆาตกรรม’ป้ากบ’ บัวผัน ตันสุ  ในพื้นที่ อ.อรัญประเทศ  จ.สระแก้ว  โดยกลุ่มเยาวชนคึกคะนอง ซึ่งป้ากบอยู่ในกลุ่มคนที่เรียกว่า “คนเร่ร่อนไร้บ้าน” อาศัยฟุตบาทเป็นที่หลับนอน  จากเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นภาพสะท้อนสำคัญและขยายปัญหาที่เรื้อรังมานานให้ชัดเจน

กรมการแพทย์ เตือนพ่อแม่ PM 2.5 ภัยล่องหนส่งผลร้ายต่อลูก

กรมการแพทย์ โดยสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ชี้มลพิษทางอากาศ (ฝุ่นขนาดเล็ก PM 2.5) ที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็กและเด็กที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ โรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ หากมีอาการผิดปกติให้รีบพบแพทย์ทันที