รัฐบาลหนุนการวิจัยผลิตยาในประเทศลดการนำเข้า ดันพระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่ทดลองเพาะปลูกและสกัดสารสำคัญจากฝิ่นและพืชเห็ดขี้ควาย เพื่อการผลิตมอร์ฟีนและยาต้านซึมเศร้า
09 ส.ค.2566 - น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลให้ความสำคัญต่อการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาในประเทศ เพื่อให้เกิดการผลิตสินค้า ตลอดจนยาและเวชภัณฑ์ทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ โดยเมื่อวันที่ 8 ส.ค.2566 คณะรัฐมนตรี(ครม.) ได้อนุมัติร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่ทดลองเพาะปลูกและสกัดสารสำคัญจากฝิ่น และกำหนดพื้นที่ทดลองปลูกและสกัดสารสำคัญจากพืชเห็ดขี้ควาย เพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัย
สาระสำคัญของกฎหมายได้กำหนดพื้นที่ทดลองเพาะปลูกและสกัดสารสำคัญจากฝิ่นและเห็ดขี้ควาย ตลอดจนมาตรการควบคุมและตรวจสอบการเพาะปลูกและสารสำคัญจากพืชดังกล่าว โดยกำหนดพื้นที่ทดลองปลูกในวิทยาลัยป้องกันและปราบปรามยาเสพติดระหว่างประเทศ สำนักงาน ป.ป.ส. ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ส่วนการทดลองสกัดมอร์ฟีนจากฝิ่นเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์นั้นให้ดำเนินการในพื้นที่องค์การเภสัชกรรม 2 แห่ง ได้แก่ กรุงเทพมหานคร และปทุมธานี
ในร่างพระราชกฤษฎีกายังได้เพิ่มเติมพื้นที่ทดลองเพาะเห็ดขี้ควายเพื่อการศึกษาวิจัยให้ครอบคลุมทั้ง 4 ภูมิภาคในพื้นที่ของสถาบันการศึกษาที่มีความพร้อม เพื่อให้ประเทศไทยมีการศึกษาวิจัยการนำพืชฝิ่น หรือเห็ดขี้ควาย ไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ที่เป็นยาเพื่อใช้ในการบำบัดรักษาผู้ป่วยมะเร็ง ยาต้านการซึมเศร้า หรือผู้ป่วยที่จำเป็นอื่น ภายใต้มาตรการควบคุม และลดการนำเข้ายาประเภทมอร์ฟีนจากต่างประเทศในอนาคต
น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยยังต้องพึ่งพาการนำเข้ามอร์ฟีนจากต่างประเทศ เนื่องจากขาดองค์ความรู้จากการวิจัยในการนำพืชฝิ่นมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ โดยในช่วงปี 61-63 ไทยมีการนำเข้ามอร์ฟีนมูลค่ารวม 400.4 ล้านบาท
ขณะเดียวกันยังขาดองค์ความรู้และผลการศึกษาวิจัยในการนำเห็ดขี้ควายมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ เนื่องจากพืชเห็ดขี้ควายจัดเป็นยาเสพติดให้โทษและมีการควบคุมที่เข้มงวด ทำให้นักวิจัยไม่สามารถดำเนินการศึกษาวิจัยได้ ซึ่งการออกพระราชกฤษฎีกาฯ นี้ จะเปิดโอกาสให้มีการศึกษาและพัฒนาต่อยอดที่สำคัญสอดคล้องกับการศึกษาในต่างประเทศที่พบว่ามีสารเคมีสำคัญ 2 ชนิดที่อยู่ในเห็ดขี้ควาย คือ สารไซโลไซบิน(Psilocybin) และสารไซโลซีน (Psilocin) ที่มีข้อบ่งชี้และโอาสในการนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์เพื่อพัฒนายาต้านการซึมเศร้าได้
ทั้งนี้ หากการวิจัยและพัฒนาประสบความสำเร็จจะนำไปสู่การพัฒนายารักษาโรคได้เองในประเทศ ลดพึ่งพาการนำเข้า รองรับกับแนวโน้มความต้องการยาเพื่อรักษาผู้ป่วยที่มากขึ้นตามสถานการณ์ผู้ป่วยด้านสุขภาพจิตในไทย ที่ระหว่างปี 58-63 มีผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้าเข้ารับการรักษาถึง 1,758,861 คนและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'อนุทิน' ชวนร่วมกิจกรรม 'มหาดไทยภิรมย์- ชมดนตรีในสวน' ตั้งแต่วันนี้ถึง 23 ก.พ.
'อนุทิน' ชวนเที่ยวย่านพระนครพร้อมชมกิจกรรม “มหาดไทยภิรมย์ ชมดนตรีในสวน” ฟังดนตรีไทยจากน้องๆนักเรียนในบรรยากาศวัด วัง และเมืองเก่า และรับชมได้ทุกวันศุกร์ตลอดเดือน ธ.ค. 66- ก.พ. 67
อย่าหลงกลโจรออนไลน์! รัฐบาลเผยเสียหายกว่า 5 หมื่นล้านบาทแล้ว
รองโฆษกรัฐบาลย้ำเตือนประชาชน ตั้งสติอย่าหลงกลตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ เผยมูลค่าความเสียหายสะสม 1 มี.ค – 30 พ.ย.กว่า 50,000 ล้านบาท
'ธรรมนัส' ลุยโครงการโฉนดต้นไม้สร้างมูลค่ายางพารา
'ธรรมนัส'เดินหน้าโครงการโฉนดต้นไม้สร้างมูลค่าให้ต้นยางพาราไม่ต่ำกว่า 500 บาท พร้อมเดินหน้าปราบยางพาราเถื่อน เป็นของขวัญชิ้นต่อไปให้ชาวสวนยาง
รัฐบาลเสียใจเหตุรถทัวร์ 'กรุงเทพฯ-นาทวี' ประสบอุบัติเหตุ
รัฐบาลแสดงความเสียใจต่อครอบครัวผู้เสียชีวิตเหตุรถทัวร์ประสบอุบัติเหตุเสียหลักตกไหล่ทางชนต้น จนทำให้มีผู้เสียชีวิต 'นายกฯ' สั่งคมนาคมดูแลเหตุการณ์ ยืนยันให้ความสำคัญกับความปลอดภัยบนท้องถนน
เปิดประสบการณ์ใหม่! เที่ยวพิพิธภัณฑ์ยามค่ำ 48 แห่งทั่วประเทศ
รัฐบาลเชิญชวนประชาชนเปิดประสบการณ์ท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ในยามค่ำคืน 48 แห่งทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 15 – 24 ธันวาคม 2566
ดีเดย์ 1 ธ.ค.ลงทะเบียนแก้หนี้นอกระบบ 'มท.1' กำชับปกครองจัดกำลังเสริมให้เพียงพอ
ดีเดย์ 1 ธ.ค. เปิดลงทะเบียนผู้ได้รับความเดือดร้อนจากหนี้นอกระบบ 'มท.1' กำชับปกครองจัดกำลังคนเสริมให้เพียงพอ จับมือหน่วยงานเกี่ยวข้องหาทางออกให้ลูกหนี้ เพิ่มโอกาสฟื้นฟูชีวิตความเป็นอยู่ประชาชนให้ดีขึ้น