'หมอยง' ชี้โควิด19 แนวโน้มเพิ่มขึ้นตามฤดูกาลคล้ายไข้หวัดใหญ่!

หมอยงชี้โควิด 19 แนวโน้มเพิ่มขึ้นตามฤดูกาลคล้ายไข้ไหวัดใหญ่ แต่เชื่อความรุนแรงอาจน้อยกว่า วัคซีนจึงจำเป็นเฉพาะในกลุ่มเปราะบางเท่านั้น และควรให้ก่อนการระบาดใหญ่หรือก่อนเปิดเทอม

29 พ.ย.2566 - นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ “โควิด 19 แนวโน้มเพิ่มขึ้นตามฤดูกาล” ระบุว่า เมื่อโรคโควิด 19 เป็นโรคตามฤดูกาล จะคล้ายคลึงกับไข้หวัดใหญ่มาก โดยพบได้ตลอดทั้งปี แต่จะพบมากตามฤดูกาล ช่วงแรกจะพบในช่วงเปิดเทอมแรกหรือฤดูฝน ซึ่งเป็นช่วงที่มีการระบาดมากสุดของปี ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคมแล้วค่อยๆ ลดลง และจะมามากอีกครั้งหนึ่งในช่วงฤดูหนาวหรือเทอมที่ 2 ของนักเรียนในเดือนธันวาคมและมกราคมและจะลดลงหลังเดือนกุมภาพันธ์ ในฤดูร้อนโควิด 19 จะสงบแล้วไปเริ่มใหม่อีกครั้งหนึ่งในเดือนมิถุนายนปีหน้าจะเป็นวงจรเช่นเดียวกับไข้หวัดใหญ่

ในที่สุดโรคนี้ก็จะคล้ายไข้หวัดใหญ่ ความรุนแรงของโรคก็จะลงมาใกล้เคียงกันและยิ่งนานวันก็อาจจะลดลงน้อยกว่าไข้หวัดใหญ่ก็เป็นได้ เพราะไข้หวัดใหญ่ยังมีสายพันธุ์ที่แยกกันชัดเจน แล้วเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมไปทีละเล็กละน้อย เช่นไข้หวัดใหญ่ A มี 2 ตัว มี H1N1 และ H3N2 และไข้หวัดใหญ่ B ส่วนโควิด 19 จะมีเพียงตัวเดียวและกลายพันธุ์ไปทีละเล็กละน้อยเช่นเดียวกันกับไข้หวัดใหญ่

เมื่อความรุนแรงของโรคลดลงไม่เหมือนในระยะแรกหรือปีแรกที่มีอัตราการลงปอดและเสียชีวิตสูง ทั้งนี้เพราะประชากรส่วนใหญ่มีภูมิต้านทานจากวัคซีน และจากการติดเชื้อมาแล้ว วัคซีนต่อไปจึงมีความจำเป็นเฉพาะในกลุ่มเปราะบางเท่านั้น และฤดูกาลที่ให้ก็ควรจะเป็นก่อนการระบาดใหญ่หรือก่อนเปิดเทอมของนักเรียน ในเด็กที่แข็งแรงดีหรือคนหนุ่มสาววัยทำงานที่มีร่างกายแข็งแรงดี ส่วนใหญ่ก็มีภูมิต้านทานบ้างแล้วจากวัคซีนในอดีตและเคยติดเชื้อ ถึงแม้จะมีการติดเชื้อซ้ำความรุนแรงก็จะลดลง

ดังนั้นอย่างที่เคยพูดไว้ว่าเมื่อความรุนแรงของโรคลดลงถึงระดับหนึ่งก็จะคล้ายกับไข้หวัดใหญ่ กลยุทธ์ในการดูแล การปฏิบัติ ควบคุมป้องกันโรคจึงไม่แตกต่างกันมากกับไข้หวัดใหญ่

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอธีระวัฒน์' แจง 5 ข้อ พูดเรื่องผลกระทบการวัคซีนโควิดทำไม ในเมื่อมันผ่านไปแล้ว

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ว่า

‘หมอมนูญ’ เตือนโควิดหลังสงกรานต์เปลี่ยนไป ใครมีอาการแบบนี้รีบตรวจ ATK

อาการของโรคโควิดเปลี่ยนไป ส่วนใหญ่เป็นอาการของทางเดินหายใจส่วนบน คอ จมูก มากกว่าทางเดินหายใจส่วนล่าง หลอดลม และปอด

'นิสิตเก่าจุฬาฯ' ตามบี้ 'วิทยานิพนธ์ณัฐพล' อุทธรณ์คำสั่ง ให้จุฬาฯเปิดเผยมติสอบสวน

นางวิรังรอง ทัพพะรังสี ประธานเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อการปฏิรูปประเทศ ในฐานะนิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ รุ่น 30 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก

‘หมอมนูญ’ เผยผลติดตามสถานการณ์ 5 โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ

ข้อมูลของโรงพยาบาลวิชัยยุทธที่ติดตามโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัสโควิด-19 ไวรัสไข้หวัดใหญ่  ไรโนไวรัส (Rhinovirus) อาร์เอสวี (RSV) และ ฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส Human metapneumovirus (hMPV)