'หมอยง' กางข้อสรุปจากองค์การอนามัยโลกเรื่องวัคซีนโควิด19 ตบหน้าวัคซีนเทพ

07 ธ.ค.2566 - ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ โพสต์รูปพร้อมเนื้อหาบนเฟซบุ๊กในหัวข้อ “โควิด 19 บทสรุปขององค์การอนามัยโลก เกี่ยวกับโควิด 19 วัคซีน” ว่า เป็นไปตามคาดและอย่างที่เคยเสนอเรื่องโควิด 19 วัคซีนมาโดยตลอด วัคซีนโควิด 19 ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ แต่ลดความรุนแรงของโรคได้ รวมทั้ง ลดการเสียชีวิตลงได้ และไม่มีความแตกต่างของชนิดวัคซีน ดังที่คนจำนวนมากเคยคิด และใฝ่ฝันอยากได้วัคซีนเทพ ประชากรส่วนใหญ่ติดเชื้อไปเป็นจำนวนมากน่าจะถึงร้อยละ 90 แล้ว โรคก็ได้ลดความรุนแรงลง จากตัวไวรัสเองด้วย จนปัจจุบันเห็นได้ชัดเจน อัตราผู้เสียชีวิตน่าจะเท่าๆ กับการระบาดของไข้หวัดใหญ่ 2009 ในปีแรก ขณะนี้สัปดาห์ละ 1-3 คน

บทสรุปขององค์การอนามัยโลกเกี่ยวกับโควิด 19 วัคซีน ธันวาคม 2566

1.ผู้ใหญ่ที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีน แนะนำให้ได้รับวัคซีนอย่างน้อย 1 เข็ม

2.ผู้ที่ได้รับวัคซีนมาแล้ว และอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่เป็นแล้วโรคจะรุนแรง เช่นสูงอายุ มีโรคประจำตัวเรื้อรัง ภูมิคุ้มกันต่ำ สตรีตั้งครรภ์ ควรได้รับวัคซีน ซ้ำอีก 1 ครั้งห่างจากเข็มสุดท้าย 6-12 เดือน

3.เด็กปกติแข็งแรงอายุ 6 เดือนถึง 17 ปี ถือว่าอยู่ในกลุ่มลำดับสำคัญต่ำ (low priority) ในการได้รับวัคซีน

4.เด็กที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง และยังไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อนเลย ควรได้รับวัคซีน 1 เข็ม

5.ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะบอกว่า โควิดวัคซีนต้องให้ประจำทุกปีต่อๆไปหรือเป็นวัคซีนประจำปี อย่างไข้หวัดใหญ่ คงต้องรอข้อมูลการศึกษาต่อไป จึงจะให้คำแนะนำต่อ

ข้อมูลรายละเอียดอ่านได้จากบทความ องค์การอนามัยโลก และสรุปที่แสดงในตารางดังรูป

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอธีระวัฒน์' แจง 5 ข้อ พูดเรื่องผลกระทบการวัคซีนโควิดทำไม ในเมื่อมันผ่านไปแล้ว

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ว่า

‘หมอมนูญ’ เตือนโควิดหลังสงกรานต์เปลี่ยนไป ใครมีอาการแบบนี้รีบตรวจ ATK

อาการของโรคโควิดเปลี่ยนไป ส่วนใหญ่เป็นอาการของทางเดินหายใจส่วนบน คอ จมูก มากกว่าทางเดินหายใจส่วนล่าง หลอดลม และปอด

'นิสิตเก่าจุฬาฯ' ตามบี้ 'วิทยานิพนธ์ณัฐพล' อุทธรณ์คำสั่ง ให้จุฬาฯเปิดเผยมติสอบสวน

นางวิรังรอง ทัพพะรังสี ประธานเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อการปฏิรูปประเทศ ในฐานะนิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ รุ่น 30 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก

‘หมอมนูญ’ เผยผลติดตามสถานการณ์ 5 โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ

ข้อมูลของโรงพยาบาลวิชัยยุทธที่ติดตามโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัสโควิด-19 ไวรัสไข้หวัดใหญ่  ไรโนไวรัส (Rhinovirus) อาร์เอสวี (RSV) และ ฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส Human metapneumovirus (hMPV)