กรมอุตุฯ เตือนอีสาน 12 จังหวัดเจอพายุฤดูร้อน ฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง

24 ก.พ.2567- กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนในหลายพื้นที่ ในขณะที่บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศเวียดนามและประเทศลาวตอนบนแล้ว คาดว่าจะแผ่ลงมาปกคลุมด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ในวันนี้ (24 ก.พ. 67)

ประกอบกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทยและประเทศไทย ลักษณะเช่นนี้จะทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่อาจจะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงในช่วงวันและเวลาดังกล่าวไว้ด้วย

ภาคเหนือ

ตอนบน : อากาศเย็นถึงหนาว กับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน

ตอนล่าง : อากาศร้อน กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง บริเวณจังหวัดอุตรดิตถ์ พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร และเพชรบูรณ์อุณหภูมิต่ำสุด 13-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 5-15 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง บริเวณจังหวัดเลย หนองคาย อุดรธานี หนองบัวลำภู บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ นครราชสีมา ศรีสะเกษ และอุบลราชธานีอุณหภูมิต่ำสุด 21-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม.

ภาคกลาง

อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ บริเวณจังหวัดลพบุรี สระบุรี กาญจนบุรี และราชบุรีอุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-38 องศาเซลเซียส

ภาคตะวันออก

อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่งบริเวณจังหวัดฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี และสระแก้วอุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)

อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดสงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาสอุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียสลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)

อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดพังงา กระบี่ ตรัง และสตูลอุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียสลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

กรุงเทพและปริมณฑล

อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เตือน 27 จังหวัดฝนตกหนักถึงหนักมาก กรุงเทพฯ ร้อยละ 70 ของพื้นที่

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณด้านตะวันตกของภาคเหนือ และภาคกลางมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ ส่วนภาค

ตราดอ่วม! พายุพัดถล่ม ต้นไม้โค่นล้มกว่า 30 จุด ไฟฟ้าดับนานกว่า 24 ชั่วโมง

นายนิพล ยนจอหอ ผู้จัดการการไฟฟ้าภูมิภาคตราด กล่าวว่า เกิดพายุรุนแรงพัดผ่านจังหวัดตราดเมื่อเย็นวานนี้ ทำให้ต้นไม้ขนาดใหญ่ และขนาดเล็กล้มทับสายไฟ และกระชากเสาไฟหักในหลายจุด และเกิดขึ้นในทุกอำเภอ ซึ่งหลังเกิดเ

กรมอุตุฯ แจงแล้ว! เหตุบุรีรัมย์แผ่นดินไหว 5 ครั้ง

กองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ออกประกาศ เรื่อง ชี้แจงสถานการณ์เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ โดยมีใจความว่า

อุตุฯ เตือนฝนฟ้าคะนอง 26 จังหวัด พายุ 'แคมี' อ่อนกำลังลง

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า บริเวณภาคตะวันออก และด้านตะวันตกของภาคเหนือมีฝนตกหนักมากบางแห่ง ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและด้านตะวันตกของภาคกลาง

กรมอุตุฯ เตือน 30 จังหวัดเจอฝนตกหนัก 60% ใน 24 ชม.ข้างหน้า

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน