อุตุฯ พยากรณ์อากาศ 10 วันล่วงหน้า ช่วงเปลี่ยนฤดู

1 มี.ค. 2567 – กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม. : (นับตั้งแต่ 07.00 น. ถึง 07.00 น.วันรุ่งขึ้น) 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 1 – 10 มี.ค. 67 จากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป : ทิศทางลมเปลี่ยนแปลงเป็นช่วงๆ

ช่วง 1 – 3 มี.ค. 67 หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้มีลมใต้ ลมตะวันออกเฉียงใต้ พัดเข้าหากัน ปกคลุมบริเวณภาคเหนือ ภาคอีสานด้านตะวันตก ภาคกลาง ภาคตะวันออก กทม.และปริมณฑล ทำให้บริเวณดังกล่าว มีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นบางแห่ง ระวังพายุฤดูร้อน ลมกระโชกแรง อากาศยังร้อนตอนกลางวัน สำหรับภาคใต้ ลมตะวันออก กำลังปานกลางยังพัดปกคลุม มีฝนฟ้าคะนองเล็กน้อย ทั้ง 2 ฝั่ง คลื่นลมกำลังปานกลาง ระวังบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

ช่วง 4 – 6 มี.ค. 67 มีลมตะวันตก ตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุม ภาคเหนือ ภาคอีสานตอนบน และภาคกลางตอนบน อากาศแห้ง อากาศร้อน ฝนน้อย เกิดขึ้นได้บ้างตามแนวชายฝั่งภาคตะวันออก และภาคอีสานตอนล่าง ด้านรับลม ช่วง 7 – 10 มี.ค. 67 ลมเปลี่ยนทิศทางเป็นลมใต้ ลมตะวันออกเฉียงใต้ มีฝนเกิดขึ้นได้บริเวณภาคอีสานตอนล่าง ภาคกลาง (กทม.และปริมณฑล) และภาคตะวันออก ช่วงเปลี่ยนฤดู สภาพอากาศจะเปลี่ยนแปลงสลับกันไปมา ไม่มีรูปแบบชัดเจน (ข้อมูลนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามข้อมูลนำเข้าใหม่ ภายใต้สถานการณ์ปรากฎการณ์เอลนีโญกำลังแรง ซึ่งทำให้สภาวะทางอุตุนิยมวิทยาเปลี่ยนแปลงไป ใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ).

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เตือน 27 จังหวัดฝนตกหนักถึงหนักมาก กรุงเทพฯ ร้อยละ 70 ของพื้นที่

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณด้านตะวันตกของภาคเหนือ และภาคกลางมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ ส่วนภาค

กรมอุตุฯ แจงแล้ว! เหตุบุรีรัมย์แผ่นดินไหว 5 ครั้ง

กองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ออกประกาศ เรื่อง ชี้แจงสถานการณ์เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ โดยมีใจความว่า

อุตุฯ เตือนฝนฟ้าคะนอง 26 จังหวัด พายุ 'แคมี' อ่อนกำลังลง

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า บริเวณภาคตะวันออก และด้านตะวันตกของภาคเหนือมีฝนตกหนักมากบางแห่ง ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและด้านตะวันตกของภาคกลาง

กรมอุตุฯ เตือน 30 จังหวัดเจอฝนตกหนัก 60% ใน 24 ชม.ข้างหน้า

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน