ร้อนปรอทแตก! กรมอุตุฯ เตือนรับมืออุณหภูมิสูงสุด 41-43 องศา ตั้งแต่ 30 มี.ค.นี้

28 มี.ค.2567 - กรมอุตุนิยมวิทยา อัพเดทผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม.:(นับตั้งแต่ 07.00น. ถึง 07.00น.วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.)10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 28 มี.ค.-6 เม.ย. 67 init. 2024032712 จากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF) : อากาศยังเปลี่ยนแปลงโดยวันที่ 28-29 มี.ค.67 อากาศร้อนบริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง และยังมีฝน/ฝนฟ้าคะนอง บริเวณภาคอีสานภาคตะวันออก จากลมใต้ ลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุม (จากมวลอากาศเย็นที่ยังแผ่ลงมาปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบน) ระมัดระวังฝน/ฝนฟ้าคะนอง บริเวณภาคอีสาน และภาคตะวันออก

ปลายเดือน (30 มี.ค.-6 เม.ย.67) จะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดบริเวณประเทศไทยตอนบน เนื่องจากหย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุม ฝนน้อย ลมตะวันตกพัดปกคลุม และเป็นช่วงที่มีโอกาสร้อนกว่าที่ผ่านมา อุณภูมิสูงสุดอาจถึง 41 - 43 องศาเซลเซียส ต้องระวังโรคที่มากับความร้อน เช่นโรคลมแดด ท้องร่วง ส่วนภาคใต้ลมตะวันออก มีกำลังอ่อน พัดปกคลุม อากาศร้อน ฝนเกิดขึ้นได้บางแห่งตลอดช่วง ช่วงนี้คลื่นลมไม่แรง ท่องเที่ยวทะเลได้ไม่มีอุปสรรค ระวังเฉพาะช่วงที่มีพายุฝนฟ้าคะนอง (ข้อมูลนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามข้อมูลนำเข้าใหม่ ภายใต้สถานการณ์ปรากฎการณ์เอลนีโญกำลังปานกลาง ซึ่งทำให้สภาวะทางอุตุนิยมวิทยาเปลี่ยนแปลงไป ใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ)

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เตือน 27 จังหวัดฝนตกหนักถึงหนักมาก กรุงเทพฯ ร้อยละ 70 ของพื้นที่

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณด้านตะวันตกของภาคเหนือ และภาคกลางมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ ส่วนภาค

กรมอุตุฯ แจงแล้ว! เหตุบุรีรัมย์แผ่นดินไหว 5 ครั้ง

กองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ออกประกาศ เรื่อง ชี้แจงสถานการณ์เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ โดยมีใจความว่า

อุตุฯ เตือนฝนฟ้าคะนอง 26 จังหวัด พายุ 'แคมี' อ่อนกำลังลง

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า บริเวณภาคตะวันออก และด้านตะวันตกของภาคเหนือมีฝนตกหนักมากบางแห่ง ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและด้านตะวันตกของภาคกลาง

กรมอุตุฯ เตือน 30 จังหวัดเจอฝนตกหนัก 60% ใน 24 ชม.ข้างหน้า

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน