มีคำตอบแล้ว เมล็ดข้าวในหินพระร่วง คือ 'ฟอสซิลฟิวซูลินิด' สิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์

กรมทรัพยากรธรณีเผยเมล็ดข้าวในหินพระร่วง คือ “ฟอสซิลฟิวซูลินิด” สิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์ที่เก่าแก่กว่าไดโนเสาร์ อายุ 359-252 ล้านปี

26 พ.ค. 67 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรณีโลกโซเชียลมีการเผยแพร่ภาพก้อนหินประหลาด ลักษณะคล้ายมีฟอสซิลเมล็ดข้าวสารจำนวนมากฝังตัวอยู่ในหิน แต่เมื่อนำมาผ่าเจียระไนก็จะดูคล้ายเมล็ดข้าวสุกที่ฝังตัวอยู่ในหินสีดำ และสีน้ำตาล ผิวมันวาว ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นหินศักดิ์สิทธิ์หายาก เกิดจากอำนาจวาจาสิทธิ์ของพระร่วงแห่งกรุงสุโขทัย

ล่าสุดในเฟซบุ๊กแฟนเพจของกรมทรัพยากรธรณี โดยกองคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ ได้เปิดเผยและให้ข้อมูลว่า ก้อนหินที่ปรากฏในข่าวนั้น แท้จริงแล้วเป็นซากดึกดำบรรพ์สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง “ฟอแรมมินิเฟอรา” ที่สามารถมองเห็นโครงร่างขนาดเล็กภายในหินได้ด้วยตาเปล่า เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่สูญพันธุ์ไปแล้ว เมื่อสิ้นสุดยุคเพอร์เมียน (ประมาณ 252 ล้านปีก่อน) จัดอยู่ในอันดับฟิวซูลินิดา มีชื่อเรียกโดยทั่วไปว่า “ฟิวซูลินิด” ส่วนใหญ่มีขนาดมากกว่า 2 มิลลิเมตร บางชนิดมีความยาวมากถึง 5 เซนติเมตร

ลักษณะรูปร่างเป็นทรงรี คล้ายเม็ดข้าวสาร ทำให้ถูกเรียกว่า “ข้าวสารหิน” หรือ “คตข้าวสาร” มักพบตามภูเขาหินปูนยุคเพอร์เมียน (ประมาณ 299-252 ล้านปี) ซึ่งกระจายตัวอยู่หลายแห่งทั่วประเทศไทย โดยฟิวซูลินิดมีช่วงเวลาการกระจายตัว และอาศัยในมหาสมุทรโบราณทั่วโลก ตั้งแต่ยุคคาร์บอนิเฟอรัสตอนกลาง-ยุคเพอร์เมียน (ประมาณ 359-252 ล้านปี) หากจะระบุชนิดจำเป็นต้องทำแผ่นหินบาง แล้วนำมาศึกษาโครงสร้างภายในอย่างละเอียดภายใต้กล้องจุลทรรศน์

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นายกฯ เดินหน้าขับเคลื่อนอุตสาหกรรม Aviation Hub

นายกฯ ขับเคลื่อนอุตสาหกรรม Aviation Hub ขอบคุณการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เชื่อมั่นหลังขยายสิทธิการบินไทย-อินเดีย เพิ่มที่นั่งบนเครื่องบินระหว่างกัน 7,000 ที่นั่ง/สัปดาห์ จะส่งเสริมการเดินทางและการท่องเที่ยวของทั้งสองประเทศ

สธ.เตรียม 6 มาตรการรับอุทกภัย 35 จังหวัดเสี่ยง เฝ้าระวังกลุ่มเปราะบาง

‘เกณิกา’เผย กระทรวงสาธารณสุข วาง 6 มาตรการ เตรียมรับสถานการณ์อุทกภัย 35 จังหวัดเสี่ยง พร้อมจัดทีมเฝ้าระวังสถานการณ์ ดูแลผู้ป่วยกลุ่มเปราะบาง

เตือน 51 จว.รับมือฝนตกหนัก 'กทม.’ 60% ของพื้นที่ ภาคใต้คลื่นสูงกว่า 2 เมตร

พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย

อัปเดตอากาศ 10 วันข้างหน้า ช่วง 20-25 มิ.ย.ฝนกระจายเพิ่มขึ้นทุกภาค

อัปเดทผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม.(นับตั้งแต่ 07.00น. ถึง 07.00น.วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.)10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 16-25 มิ.ย.67 จากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป