เตรียมฉลองหน้าตึกไทยฯ ข่าวดีกฎหมายสมรสเท่าเทียม


18 มิ.ย.2567 - เมื่อเวลา 09.30 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวถึง ร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียมว่า ในวันนี้จะเป็นวันสำคัญของพี่น้องคนไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของ LGBTQ+ เพราะป็นวันที่สว.จะพิจารณาในวาระ 2 และ 3 เป็นการเดินทางมากกว่าทศวรรษ ตั้งแต่ปี 55 ที่ได้ฝ่าฟันและแก้ไขปัญหามา หวังเป็นอย่างยิ่งว่าบ่ายวันนี้จะได้รับข่าวดีจากทางวุฒิสภา แต่ทั้งนี้ ต้องเรียนว่าเมื่อผ่านวาระ 3 ของวุฒิสภาแล้ว ไม่ได้แปลว่ากฎหมายมีผลบังคับใช้ทันที

ต้องรอให้มีการนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อจะประกาศเป็นพระราชกิจจานุเบกษา ซึ่งคาดว่าคงใช้เวลาไม่นาน อย่างไรก็ตาม อย่างน้อยพ้นวันนี้ไปแล้ว เราก็มั่นใจว่า พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียมจะทำให้คนไทยทุกคน ไม่ว่าจะเพศใดสถานะใด สามารถใช้ชีวิตร่วมกันได้ ทั้งสิทธิต่างๆ ไม่ว่าจะทางด้านแพ่ง สินสมรส เรื่องอะไรต่าง ๆ นั้น จะมีสิทธิ์ได้รับเหมือนกันทุก ๆคน

นายวราวุธ กล่าวว่า เย็นวันเดียวกันนี้เราจะมีการเฉลิมฉลองกันหน้าตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล เพื่อเป็นสัญลักษณ์ส่งไปให้กับทั่วโลกได้ทราบว่าวันนี้ประเทศไทยของเราได้เดินหน้าไปอีกหนึ่งก้าวที่สำคัญ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเท่าเทียมและเดินไปข้างหน้าทุก ๆ คนพร้อม ๆ กันโดยไม่ทิ้งคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งไว้ข้างหลัง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ยกแรก "นายกฯ อิ้งค์" เบรกด้วย “ดินเนอร์การเมือง”

บริหารประเทศสู่เดือนที่ 2 แล้ว สำหรับรัฐบาล “นายกฯ อิ๊งค์” แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ต้องยอมรับว่าตั้งแต่ก้าวเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 31 ของประเทศไทย ต้องเจอหลายปัญหา และยังต้องโดนจับจ้องทุกฝีก้าว ด้วยสวมหมวกนายกรัฐมนตรีที่อายุน้อย ประสบการณ์การทำงานและงานการเมืองยังมีพรรษาน้อย ต้องใช้เวลาพิสูจน์

'จิรายุ' สะกิดส่วนราชการเร่งทำความเข้าใจกฎหมายสมรสเท่าเทียม

'จิรายุ' แนะส่วนราชการทำความเข้าใจกฎหมายสมรสเท่าเทียม พร้อมประชาสัมพันธ์ ปชช. ก่อนบังคับใช้ เหตุเกี่ยวพันทั้งอาญาและแพ่ง มีผลต่อชีวิตคู่รูปแบบใหม่ทั้งสินสมรส -บุตรบุญธรรม

'วราวุธ' นำผู้บริหารพม. เข้าพบหารือ 'จุฬาราชมนตรี' ขับเคลื่อนงานนโยบายใหญ่

"วราวุธ" นำ ผู้บริหารกระทรวง พบหารือ “จุฬาราชมนตรี” ขับเคลื่อนงานภารกิจ พม. นโยบาย 5X5 ฝ่าวิกฤตประชากร แก้ปัญหากลุ่มเปราะบาง

กลุ่ม LGBTQ ยังไม่เข้าใจกม.สมรสเท่าเทียม

นายนพดล กรรณิกา ผู้ก่อตั้งสำนักวิจัย ซูเปอร์โพล เสนอผลสำรวจเรื่อง เสียงของ LGBTQiA+ กรณีศึกษาตัวอย่างกลุ่ม LGBTQiA+ ทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)