24 มิ.ย. 2567 – ที่กองบัญชาการกองทัพอากาศ (บก.ทอ.) พล.อ.ทรงวิทย์ หนุนภักดี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.ทสส.) กล่าวภายหลังการประชุมผู้บัญชาการเหล่าทัพว่า มีการหารือกันเรื่องเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่จะนำมาใช้ในการพัฒนากองทัพทั้งหมด รวมถึงระบบ AI และ ไซเบอร์
ส่วนที่ฝ่ายค้านได้อภิปรายในระหว่างประชุมงบประมาณปี 2568 วิจารณ์กองทัพมีการจัดหาเทคโนโลยีที่ล้าสมัยนั้น พล.อ.ทรงวิทย์ กล่าวว่า เราก็ต้องรับฟัง และต้องจัดทำข้อมูลที่เป็นประโยชน์เพื่อนำไปใช้ ในการพัฒนากองทัพ ซึ่งเป็นหน้าที่ของทหารอยู่แล้ว ซึ่งจากการรับฟังในที่ประชุม จากผู้บัญชาการเหล่าทัพเกี่ยวกับด้านการพัฒนาเทคโนโลยีแล้วรู้สึกสบายใจ ว่ามีการพัฒนาและมีแผนที่ชัดเจน ซึ่งระบบ AI ไม่ได้จบแค่ AI แต่สามารถนำไปใช้ในหลายภารกิจ เช่นการส่งกำลังบำรุง การตัดสินใจในปฏิบัติการต่างๆ และสามารถคาดการณ์ในสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และยังสามารถใช้ในการประมวลผล การโจมตีเป้าหมายต่างๆได้ หลายชาติก็มีความเห็นว่า จะต้องมีเรื่องของจรรยาบรรณ AI ด้วย โดยกำหนดว่ากระบวนการตัดสินใจ หรือการบังคับบัญชาจำเป็นต้องมีมนุษย์อยู่ในกระบวนการ
พล.อ.ทรงวิทย์ กล่าวถึงความคืบหน้าในเรื่องงบประมาณหลังจากที่สภาฯ ได้ผ่านวาระแรกไปแล้วว่า วันนี้ที่ประชุมผู้บัญชาการเหล่าทัพ ไม่ได้พูดถึงในเรื่องงบประมาณ แต่พูดถึงเรื่องการพัฒนากองทัพ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติเป็นหลัก และยังได้ข้อคิดจาก รมว.กลาโหม มาก่อนนี้ ที่จะต้องมีหน่วยงานมาดูแลเรื่องห้วงอวกาศ ซึ่งทางกองทัพอากาศ มีความพร้อมที่สุด ในการดูแลมิติทางอวกาศ หลังจากนี้ก็จะต้องมีการมาพูดคุยกันเพิ่มเติม ให้ควบคุมการปฏิบัติทางกายภาพทั้งสามมิติ คือ บก เรือ อากาศ รวมถึงเรื่องอวกาศ ซึ่งกองทัพอากาศ มีความเชี่ยวชาญที่สุด เพราะใช้ทั้งเรื่องการสื่อสารและเรื่องการวิเคราะห์ รวมไปถึงมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย
“แต่ก็ยอมรับว่าทุกหน่วยก็มีการเตรียมการเรื่องของงบประมาณ ทั้งสิ่งที่กองทัพเสนอ และสิ่งที่มีการทวงถาม ซึ่งต้องทำข้อมูลทั้งสองฝ่าย ให้พร้อม เพื่อจะนำไปตอบในวาระที่2 ในชั้นกรรมาธิการ” พล.อ.ทรงวิทย์ ระบุ
สำหรับการจัดหาอาวุธ ที่อาจจะนำหลักการจัดสรรโควตาของแต่ละเหล่าทัพตามความเหมาะสมเป็นเรื่องที่จะต้องหารือกันต่อไป ซึ่งกระทรวงกลาโหม จะเป็นผู้ดูแล แต่ก็มีการพูดคุยกันในกลุ่มเล็กๆ เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดซื้ออาวุธ ที่ต้องเกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์ เพื่อให้การจัดซื้ออาวุธของแต่ละเหล่าทัพ ได้สอดคล้องกับสถานการณ์ ซึ่งยังไม่ใช่หน้าที่ของกองทัพไทยโดยตรง แต่ผู้ที่กำหนดนโยบายคือกระทรวงกลาโหม ต้องแยกระหว่างนโยบายกับผู้ปฏิบัติ ส่วนเรามีหน้าที่ ให้ข้อคิดเห็นกับทางกระทรวงกลาโหม และช่วยในการตัดสินใจ
“ส่วนแนวคิดที่จะจัดซื้ออาวุธแบบแพ็กเกจ เป็นสิ่งที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้พูดไว้ แม้ว่าไม่มีในส่วนร่วมในการคิด แต่กองทัพก็ต้องเตรียมรับนโยบานไปปฎิบัติไว้ เพราะว่ามาจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและรัฐบาล ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้ศึกษาถึงความแตกต่าง ในการจัดซื้ออาวุธแบบแพ็คเกจ และการจัดสรรโควตาให้แต่ละเหล่าทัพ” ผบ.ทสส. ระบุ.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ทักษิณ' ลั่นล้านเปอร์เซ็นต์ 'เกาะกูด' ของไทย ไม่บ้ายกให้กัมพูชา จ่อติวเข้ม สส. แจงปชช.
'ทักษิณ' ลั่นล้านเปอร์เซ็นต์ 'เกาะกูด' เป็นของไทย โต้เฟกนิวส์ใช้เอไอปล่อยข่าวมั่ว ชี้ใครจะบ้ายกให้ เตรียมติว สส. เพื่อไทย แจงประชาชนถึงที่มา MOU 44
'หัวเขียง' ปรับแก้ 10 กว่าจุด ลั่นหัวเด็ดตีนขาดยังไงก็ต้องเสนอ กม.ยึดอำนาจกองทัพ กลับไปใหม่
นายประยุทธ์ ศิริพานิชย์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย กล่าวว่าในวันที่ 12 ธ.ค.ตนจะแจ้งเรื่องต่อที่ประชุมพรรคเพื่อไทย เพื่อขอถอนร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม ที่เสนอ
นายกฯอิ๊งค์ ยืนยันจุดยืนรัฐบาล ไม่มีเจตนาแทรกแซงกองทัพ
น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงร่างพ.ร.บ.จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม ว่า เรื่องนี้มีความคิดเห็นต่างกันอยู่แล้วก็ต้องรับฟังทุก
อย่าวางใจ 'หัวเขียง-เพื่อไทย' ถอนร่างกฎหมายยึดอำนาจกองทัพ
แม้ดูแนวโน้มแล้ว นายประยุทธ์ ศิริพานิชย์ จากพรรคเพื่อไทยมีโอกาสที่จะถอนร่าง กฏหมายยึดอำนาจกองทั
'ไอติม' มั่นใจร่างกฎหมายสกัดรัฐประหาร ผ่านสภาฯได้ หากปชน.-เพื่อไทยจับมือกัน
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน กล่าวถึงกรณีที่พรรคภูมิใจไทย ไม่เห็นด้วยกับร่างแก้ไขพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) กลาโหม โดยเฉพาะการสกัดการปฏิวัติ ว่า ในมุมมองของพรรคประชาชน หรืออดีตพรรคก้าวไกล เ
เข็ดแล้วสุดซอย! 'หัวเขียง' ถอยกรูด ถอนร่างกฎหมายยึดอำนาจกองทัพ
นายประยุทธ์ ศิริพานิชย์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์ถึงเสียงคัดค้านร่างพ.ร.บ.จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม