14 ก.พ.2568 - กรมอุตุนิยมวิทยา อัพเดทผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 14- 28 ก.พ.68 จากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF) วิเคราะห์ตามผลจากแบบจำลองฯ เฉดสีแดงหมายถึงฝนหนัก สีเขียวหมายถึงฝนเล็กน้อย : แบ่งช่วงการพยากรณ์อากาศดังนี้
ช่วงวันที่ 14-16 ก.พ.68 มวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยมีกำลังอ่อนลง อุณหภูมิจะสูงขึ้น กลางวันมีอากาศร้อน แต่ยังไม่ถึงร้อนจัด (35-38 ซ.) ลมระดับล่าง เปลี่ยนเป็นลมฝ่ายใต้ และลมตะวันออกเฉียงใต้ พัดปกคลุมมีกำลังอ่อนลง มีฝนเล็กน้อยบริเวณภาคตะวันออก ส่วนลมระดับบน (500hPa) เป็นลมฝ่ายตะวันตก ฝุ่นจะเริ่มกลับมาสะสมเพิ่มขึ้นได้ในระยะนี้ ระยะนี้อุณหภูมิช่วงเช้า กับ เวลากลางวันจะต่างกันมาก
ช่วง 17 - 20 ก.พ.68 มวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคอีสานด้านตะวันออก ทิศทางลมเริ่มแปรปวน โดยมีกระแสลมฝ่ายตะวันตก ตะวันตกเฉียงเหนือในระดับบน(200hPa) พัดปกคลุมภาคเหนือ ภาคอีสานตอนบน และมีลมทิศใต้ ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคอีสานตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก ทำให้ภาคอีสานตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง (รวม กทม.และปริมณฑล) ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนฟ้าคะนองเล็กน้อยถึงปานกลาง (ความชื้นยังไม่มากนัก)
ช่วงวันที่ 21 - 25 ก.พ.68 ยังมีมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรง จะแผ่เสริมลงมาปกคลุมด้านตะวันออกของภาคอีสานและทะเลจีนใต้ ทำให้ลมที่พัดปกคลุมเป็นลมตะวันออก ลมตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีความชื้น ทำให้เริ่มมีฝน/ฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ในช่วงแรกบริเวณประเทศไทยตอนบน ส่วนภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น ปริมาณฝนยังเป็นฝนเล็กน้อยถึงปานกลาง และมีฝนตกหนักได้
ส่วนปลายช่วงของการพยากรณ์ (วันที่ 26-28 ก.พ.68) ยังมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกพัดปกคลุมภาคเหนือภาคอีสานตอนบน เริ่มมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นในบริเวณประเทศไทยตอนบน
(เนื่องจากเป็นปลายช่วงของการคาดการณ์ข้อมูลยังเปลี่ยนแปลง ยังต้องติดตามเนื่องจากเป็นช่วงของการเปลี่ยนถ่ายฤดูกาล สภาพอากาศมีความแปรปรวนสูง ข้อมูลนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ตามข้อมูลนำเข้าและประมวลผลใหม่ ใช้เป็นแนวทางประกอบการตัดสินใจและติดตามสภาพอากาศ)
ทั้งนี้ คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกพัดปกคลุมภาคเหนือ ภาคอีสานตอนบน ทำให้มีฝน หรือฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ ในปีนี้ 2568 จะเกิดขึ้นช่วงปลายกุมภาพันธ์ โดยเมื่อปีที่แล้ว ฝนชะช่อมะม่วง เกิดขึ้นช่วงปลายเดือนมกราคม 2567 ซึ่งเกิดฝนตกนอกฤดูกาลที่เรียกว่า ฝนชะช่อมะม่วง (มะม่วงกำลังออกดอก ติดผล) ปริมาณฝนไม่มาก แต่จะมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงได้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กรมอุตุฯ เตือนฉบับที่ 2 'พายุฤดูร้อน' 29 มี.ค. - 1 เม.ย.
กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 29 มีนาคม – 1 เมษายน 2568) ฉบับที่ 2
ทั่วไทยอากาศร้อนแต่มีฟ้าหลัวพร้อมฝนตก 10%ของพื้นที่
กรมอุตุนิยมวิทยาพยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าในลักษณะทั่วไป
ไทยตอนบนร้อนถ้วนหน้า PM 2.5 มาอีกแล้ว
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้น มีอากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวและมีอากาศร้อนจั
พยากรณ์ 15 วันล่วงหน้า แดดแรงร้อนจัด 29 มี.ค.-2 เม.ย. พายุถล่มลูกเห็บตก
กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม. : (นับตั้งแต่ 07.00 น. ถึง 07.00 น.วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.) 15 วันล่วงหน้า ระหว่าง 24 มี.ค. - 7 เม.ย. 68
อุตุฯ เตือนทั่วไทยอากาศร้อนถึงร้อนจัด ทะลุ 40 องศา ใต้ฝนฟ้าคะนอง
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมภาคเหนือ ในขณะที่บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง
พยากรณ์อากาศ 24 ชม.ข้างหน้า ทั่วไทยอากาศร้อน ‘กทม.’ สูงสุด 38 องศาฯ
พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมภาคเหนือ ในขณะที่บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง