'วันสตรีสากล' วันสำคัญแห่งการยกระดับความเท่าเทียมของผู้หญิง

Members of Thai labour rights groups and state enterprise unions assemble to march for labour rights on International Women’s Day in Bangkok on March 8, 2020. (Photo by Lillian SUWANRUMPHA / AFP)

8 มี.ค. 2565 เป็นวันที่มีความหมายพิเศษ ในฐานะ วันสตรีสากล ซึ่งทั่วโลกให้ความสำคัญกับผู้หญิง

วันสตรีสากลเป็นการเฉลิมฉลองในวันที่ 8 มีนาคมของทุกปีทั่วโลก และเป็นจุดสำคัญในการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิสตรี (International Women’s Day หรือ IWD) ถือกำเนิดมาจากขบวนการต่อสู้เพื่อสิทธิของคนงาน จนกลายเป็นวันสำคัญประจำปีของโลกที่องค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ให้การรับรอง

จุดเริ่มต้นของวันนี้เกิดขึ้นในปี 1908 เมื่อผู้หญิง 15,000 คน เดินขบวนไปทั่วนครนิวยอร์กเพื่อเรียกร้องให้นายจ้างลดเวลาการทำงานลงเหลือวันละ 8 ชั่วโมง เพิ่มค่าแรง และให้สตรีมีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้ง

จากข้อมูลจากสำนักข่าว บีบีซี ระบุว่า แนวคิดที่ทำให้วันดังกล่าวกลายเป็นวันสากลสำหรับทั่วโลกนั้นมาจาก คลารา เซทคิน นักการเมืองผู้สนับสนุนสิทธิสตรีชาวเยอรมัน ที่เสนอแนวคิดในปี 1910 ต่อที่ประชุมนานาชาติของผู้หญิงทำงาน ในกรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ซึ่งมีผู้หญิงเข้าร่วม 100 คนจาก 17 ประเทศ และทั้งหมดมีมติเห็นชอบอย่างเป็นเอกฉันท์

การเฉลิมฉลองวันสตรีสากลครั้งแรกจึงมีขึ้นในปี 1911 ที่ประเทศออสเตรีย เดนมาร์ก เยอรมนี และสวิตเซอร์แลนด์ ส่วนการฉลองครบรอบ 100 ปีมีขึ้นเมื่อปี 2011 ดังนั้นในปีนี้จึงเป็นการเฉลิมฉลองวันสตรีสากลเป็นปีที่ 111 แล้ว

วันสตรีสากลได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการจากยูเอ็น เมื่อปี 1975 และในปี 1996 ยูเอ็นได้กำหนดคำขวัญประจำปีขึ้นเป็นครั้งแรกว่า “เฉลิมฉลองอดีต และวางแผนเพื่ออนาคต”

วันสตรีสากลได้กลายเป็นวันแห่งการเฉลิมฉลองความสำเร็จและความก้าวหน้าของผู้หญิงทางด้านสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ ในขณะที่รากเหง้าทางการเมืองของวันนี้คือการผละงานประท้วงเพื่อจัดกิจกรรมรณรงค์เรียกร้องให้เกิดความเสมอภาคทางเพศต่อไป

สำหรับความเคลื่อนไหวในประเทศไทย น.ส.ธนวดี ท่าจีน ผู้ประสานงานคณะทำงานเครือข่ายองค์กรเด็กและสตรี พร้อมด้วยมูลนิธิเพื่อนหญิง มูลนิธิ พิทักษ์สตรี มูลนิธิชุมชนไท มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก และเครือข่ายผู้หญิงยุติความรุนแรงแสวงสันติภาพจังหวัดชายแดนใต้ เป็นต้น เข้าพบตัวแทนรัฐบาล ยื่น 8 ข้อเสนอเร่งด่วนในโอกาสวันสตรีสากล 8 มีนาคม 2565 ถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ผ่านน.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกฯ

สำหรับข้อเรียกร้อง 8 ข้อ อาทิ ขอให้จัดทำแผนการติดตามความก้าวหน้า เร่งรัดรายคดีเกี่ยวกับเพศ เนื้อตัวร่างกาย คดีครอบครัว และการค้ามนุษย์ส่วนที่เกี่ยวข้องกับเด็กสตรี ขอให้ตำรวจยกระดับคดีเพศ ความรุนแรงในครอบครัว การค้ามนุษย์เป็นคดีพิเศษสำคัญเท่าเทียมกับคดียาเสพติด และอาชญากรรมร้ายแรง รัฐบาลต้องไม่สนับสนุน หรือผลักดันสถานบริการทางเพศ บ่อนการพนัน บุหรี่ไฟฟ้าให้เป็นเรื่องถูกกฎหมายเพื่อจัดเก็บภาษี เป็นต้น

ขณะที่พรรคเพื่อไทย ก็ใช้วันสตรีสากลใต้แคมเปญ #breakthebias #IWD2022 ปักหมุดประกาศจะศึกษาความเป็นไปได้ของนโยบายผ้าอนามัยฟรีถ้วนหน้า, ประกาศนำร่องโครงการในพรรคเพื่อไทย และจัดนิทรรศการเรื่องผ้าอนามัย จิ๋ม และความเป็นผู้หญิง เพื่อศึกษานโยบายที่เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายที่เลี่ยงไม่ได้ของผู้หญิง และฝ่าอคติทางเพศไปพร้อมกัน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'เทพไท' เตือน เพื่อไทย อย่าเหิมเกริมย่ามใจอำนาจของตัวเอง แทรกแซงแบงก์ชาติ

เทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความ ระบุว่า ถ้าพรรคเพื่อไทย คิดจะแก้ พรบ.แบงค์ชาติ ก็ไม่ต่างอะไรกับตัดตีนให้เข้ากับเกือก

โฆษกรัฐบาล แปลกใจ คนตั้งคำถามกับแบงก์ชาติ กลายเป็นถูกสังคมสงสัยในเจตนา

นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า เป็นที่น่าแปลกใจเพราะจนถึงตอนนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งก็คือหน่วยงานรัฐ และมีภารกิจเป็นธนาคารกลาง ถูกนำมาวิพากษ์วิจารณ์การทำงานว่าเป็นอิสระจากรัฐบาลได้หรือไม่

สส.ก้าวไกล ตอกรัฐบาลเพื่อไทยอยากย้อนกลับไปสู่ยุคควบคุมผู้ว่าแบงก์ชาติได้ง่าย

นายชัยวัฒน์ สถาวรวิจิตร สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะอดีตรองผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์องค์กร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงสถานการณ์ระหว่างฝ่ายการเมืองรัฐบาลกับ ธปท. ในขณะนี้ ว่า ความจริงไม่ใช่เรื่องใหม่

เศรษฐา โปรยยาหอมชาวอีสาน ไตรมาส 4 รับเงินหมื่นแน่

นายกฯ ขึ้นเวทีมหาสารคาม “อุ๊งอิ๊ง” สส.เพื่อไทย พรึบ ชู 3 ปัญหาวาระแห่งชาติ ‘หนี้นอกระบบ-ยาเสพติด-ภัยแล้ง’ ย้ำคำมั่นเงินหมื่นดิจิทัลได้แน่ไตรมาส 4 ด้านปชช.คึกคักบอก ‘รักเศรษฐา’