21 มิ.ย.2565 - เวลา 17.59 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จลง ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย และประธานที่ปรึกษาสมาคมแม่บ้านมหาดไทย นำนางวันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย พร้อมด้วย คณะกรรมการบริหารสมาคมแม่บ้านมหาดไทย ผู้ว่าราชการจังหวัด และประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัด เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายผ้าลายประจำจังหวัด จำนวน 76 ผืน แด่สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 3 มิถุนายน 2565
ด้วยสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจและโดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ราษฎรในทุกภูมิภาคของประเทศ พระราชทานพระมหากรุณาธิคุณในการสืบสาน รักษา และต่อยอดพระราชปณิธานของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงห่วงใยราษฎรทรงทุ่มเทกำลังพระวรกายในการพระราชทานความช่วยเหลือ และทรงให้ความสำคัญผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน
โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน มาจำหน่ายในบริเวณพื้นที่จัดงานพิธีพระราชทานปริญญาบัตรในแต่ละภูมิภาค ในห้วงเดือนตุลาคม - ธันวาคม 2563 ที่จังหวัดสกลนคร จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดสุราษฎร์ธานีและได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรและผู้ประกอบการในช่วงพักพิธีพระราชทานปริญญาบัตรทุกวัน ทรงมีพระราชปฏิสันถารและพระราชทานกำลังใจแก่ราษฎรและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
ซึ่งในการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแต่ละครั้ง ทรงเป็นแบบอย่างในการฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมและผ้าพื้นเมืองซึ่งมีลายผ้าที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่น สะท้อนให้เห็นถึงน้ำพระราชหฤทัยอันลึกซึ้งที่ทรงเห็นคุณค่าของผ้าไหม และผ้าพื้นเมือง และทรงมีพระราชปณิธานที่จะทรงสืบสานและอนุรักษ์งานศิลป์ให้ดำรงไว้ในแผ่นดิน
ในการนี้ กระทรวงมหาดไทยและสมาคมแม่บ้านกระทรวงมหาดไทย จึงได้ร่วมกันสืบสานพระราชปณิธานของสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี โดยให้จังหวัดต่าง ๆ ทั้ง 76 จังหวัดได้ศึกษาและค้นหาเอกลักษณ์ผ้าพื้นเมืองของจังหวัด เพื่อออกแบบและพัฒนาเป็นลายผ้าเอกลักษณ์ประจำจังหวัด อาทิ ผ้าลายกาบบัว จังหวัดอุบลราชธานี ผ้าลายหงส์ในโคม จังหวัดเชียงใหม่ และผ้าลายพิกุลพลอย จังหวัดนราธิวาส ซึ่งเอกลักษณ์ของผ้าประจำจังหวัดต่าง ๆ ที่บ่งบอกถึงการผสมผสานอัตลักษณ์ความหลากหลายของเชื้อชาติ ขนบธรรมเนียมประเพณี ค่านิยม วิถีชีวิต และเป็นมนต์เสน่ห์ของศิลปวัฒนธรรมคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ความเป็นไทยให้คงอยู่คู่แผ่นดินต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ในหลวง-พระราชินี ทรงสักการะพระเขี้ยวแก้ว
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงสักการะพระบรมสารีริกธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว) จากสาธารณรัฐประชาชนจีน มาประดิษฐานในประเทศไทย เป็นการชั่วคราว
‘ในหลวง’เสด็จฯเปิดสวนเปรมประชาวนารักษ์
"ในหลวง-พระราชินี" เสด็จฯ ทางชลมารค ทรงเปิดสวนเฉลิมพระเกียรติ
ในหลวง-พระราชินี เสด็จฯ ทางชลมารค ทรงเปิดสวนเฉลิมพระเกียรติ 'เปรมประชาวนารักษ์'
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ “เปรมประชาวนารักษ์” เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ณ พื้นที่ถนนกำแพงเพชร 6 แนวขนานคลองเปรมประชากร เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
เชิญชวนสวมเสื้อเหลืองเฝ้าฯ รับเสด็จ 'ในหลวง-พระราชินี' 10 ธ.ค.
สำนักงานเขตบางซื่อ ขอเชิญชวนประชาชน เฝ้าฯ รับเสด็จ 'ในหลวง-พระราชินี' เส้นทางคลองเปรมประชากร 10 ธ.ค. นี้
โปรดเกล้าฯ ปธ.องคมนตรี ปล่อยโค นก ปลา เนื่องในวันคล้ายวันประสูติ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า โปรดกระหม่อมให้ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ประธานองคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ ไปในการบำเพ็ญพระราชกุศลปล่อยโค
'พระราชินี' ทรงนำทีมวายุ ชนะเลิศแข่งเรือใบ 'ภูเก็ตคิงส์คัพรีกัตต้า' ครั้งที่ 36
สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ทรงร่วมการแข่งขันเรือใบ นานาชาติ ชิงถ้วยพระราชทาน “ภูเก็ตคิงส์คัพรีกัตต้า” ครั้งที่ 36 ประจำปี 2567 ในนามทีมเรือใบวายุ รุ่น ไออาร์ซี ซีโร (IRC Zero) หมายเลขใบเรือ THA72