ตั้ง “กลุ่มอนุรักษ์แม่น้ำสายบุรี” ร่วมดูแลหวังส่งต่อสู่ลูกหลาน

สายน้ำ คือหนึ่งในแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่มนุษย์ได้อาศัยทั้งดำรงเลี้ยงชีพ และทำมาหากินมาอย่างยาวนาน ยิ่งในประเทศไทยที่ถูกเรียกว่าอู่ข้าวอู่น้ำก็ได้มีการใช้งานแหล่งน้ำ ทั้งห้วย หนอง คลอง บึง รวมถึงแม่น้ำมาโดยตลอด จากการทำเกษตรกรรม การทำปศุสัตว์ หรือการอุปโภคบริโภคของคนในพื้นที่นั้นๆ แม้ว่า ในปัจจุบันที่การพัฒนาของสังคมมีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น การทำอาชีพหรือการใช้ชีวิตในรูปแบบเดิมๆ อาจจะมีการปรับเปลี่ยนไปแล้ว แต่แหล่งน้ำก็ยังเป็นปัจจัยสำคัญของการดำรงชีวิตของมนุษย์อยู่

แต่หากแหล่งนั้นๆ ไม่ได้ถูกดูแล ถูกละเลย รวมถึงมีการใช้งานอย่างไม่รู้คุณค่าก็อาจจะส่งผลกระทบต่อสังคม หรือชุมชนได้ เช่นเดียวกับที่แม่น้ำสายบุรี บ้านจะรังตาดง อ.รามัน จ.ยะลา เคยประสบมา...

บ้านจะรังตาดง เป็นชุมชนริมแม่น้ำสายบุรี เป็นที่ตั้งของ “พรุลานควาย” พรุน้ำจืดขนาดใหญ่ที่มีพื้นที่กว่า 15,000 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 14 หมู่บ้าน 3 อำเภอ 2 จังหวัด คือ จังหวัดปัตตานีและยะลา ที่มีความสำคัญยิ่งในภาคใต้ตอนล่าง ลือเลื่องด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งจุดเริ่มต้นของสถานการณ์ที่ส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อแม่น้ำสายบุรีนั้น เริ่มในปี 2535 เมื่อบ้านเมืองเข้าสู่ยุคการพัฒนาสมัยใหม่และเกิดโครงการใหญ่ที่ส่งผลกระทบมหาศาล และมีการสร้างโดยขาดการศึกษาผลกระทบ นั่นคือโครงการพัฒนาลุ่มน้ำสายบุรีตอนล่าง หรือโครงการสร้างเขื่อนสายบุรี

เพื่อหาทางออก ผู้นำศาสนา ผู้อาวุโสในบ้านจะรังตาดง ได้จัด “สภาซูรอ” ประชุมปรึกษาหารือกัน รวมทั้งทบทวนข้อกล่าวหาว่าเป็นกบฏของ “ครูเปาะสู” หรือนายเปาะสู วาแมดีซา ผู้นำ“นักพัฒนา”ในสายตาชาวบ้าน ที่ถูกภาครัฐตีตราว่า เป็นกบฏแบ่งแยกดินแดนในยุคที่สังคมไทยอยู่ท่ามกลางความขัดแย้งของอุดมการณ์การเมือง ซึ่งจากข้อกล่าวหานี้ หากชุมชนเคลื่อนไหว อาจถูกระบุว่าเป็นการขัดขวางการพัฒนา

จังหวัดยะลาในปี 2539 และในปี 2540 เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในสมัชชาคนจน ที่เคลื่อนไหวประท้วงถึง 99 วัน โดยข้อเรียกร้องหนึ่งคือ ให้รัฐบาลยุติโครงการสร้างเขื่อนสายบุรีจนประสบความสำเร็จ

 เมื่อประเด็นร้อนจบ ชุมชนบ้านจะรังตาดงหันมาสร้างชุมชนเข้มแข็ง ด้วยการน้อมนำหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง ผนวกภูมิปัญญาและวัฒนธรรมลังกาสุกะ (สวนดูซง) เพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคง ทางอาหาร รักษาอัตลักษณ์วิถีชุมชน และเป็นพลังในการยืนยันวิถีและวิธีคิดของชุมชนกับอำนาจรัฐ ทั้งจากส่วนกลางและท้องถิ่น ที่มุ่งพัฒนาโดยขาดความเคารพธรรมชาติ รวมทั้งก่อตั้ง “กลุ่มยุววิจัย” เพื่อให้กลุ่มเยาวชนได้ศึกษาชีวิตผ่านฐานทรัพยากรชุมชน และมีผลงานวิจัย การศึกษาเรื่องปลาในชุมชนบ้านจะรังตาดง ผลิตเป็นเอกสารให้แก่โรงเรียนและชุมชน เพื่อสร้างความรู้ในคุณค่าของ ฐานทรัพยากรชุมชน

ซึ่งในปี 2542 นักวิชาการ นักพัฒนา และชาวบ้าน ช่วยกันพัฒนาโครงการวิจัยเรื่องพรุลานควาย ตามแนวทางที่ชุมชนร่วมกันคิด โดยชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมในการเก็บข้อมูล มีการจัดเวทีพูดคุย สำรวจทรัพยากรในพรุ เก็บเรื่องเล่า มีการเดินสายไปทุกหมู่บ้านรอบพรุ มีนักวิชาการ นักศึกษาที่เรียนวิชาวิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม เป็นพี่เลี้ยงสนับสนุนการวิจัย งานวิจัยนี้ทำให้เกิดการรู้และตระหนักถึงภัยคุกคามที่มาจากโครงการพัฒนาพรุและสิ่งที่ชุมชนต้องปกป้อง

นอกจากนี้ ยังมีความพยายามและมีแผนปฏิบัติการในการฟื้นฟู อนุรักษ์และเชื่อมโยงเครือข่าย เป็นกลุ่มที่เป็นการทำงานเคลื่อนไหว สร้างการเปลี่ยนแปลงมากกว่าการเติบโตขององค์กร โดยทางกลุ่มฯได้ทำงานด้านการอนุรักษ์โดยการนำคนจากข้างนอกมาช่วยกระตุ้นในการทำงานไม่ให้เกิดการปะทะโดยตรง มีการจัดตั้งกลุ่มเยาวชนทดแทนกลุ่มเก่าอย่างสม่ำเสมอ เริ่มจากการปลูกผักปลอดสารพิษ ทำปุ๋ยหมัก ทำให้เยาวชนได้เรียนรู้ ใช้กิจกรรมเป็นเครื่องมือที่สอดคล้องกับพื้นที่ เห็นปัญหาในการทำงานและหาทางแก้ไขปัญหา

รวมทั้งมีการเล่าประวัติศาสตร์ของชุมชนให้กับนักเรียนในโรงเรียน มีพลวัตรเชื่อมโยงผ่านกิจกรรมในการสร้างคน รุ่นใหม่ รวมถึงได้ขยายผลไปยังเครือข่ายนอกชุมชน ให้ความรู้ เป็นวิทยากร การปลูกต้นไม้ เป็นการทำงานที่หยุดไม่ได้ เพราะมีผู้มาเรียนรู้ในชุมชนสม่ำเสมอ และมีการทำงานโดยการหาเพื่อนรอบพื้นที่พรุลานควาย แม่น้ำสายบุรี และมีการขยายกิจกรรม เพื่อเป็นการขยายจำนวนสมาชิกในเครือข่าย

จนถึงปัจจุบัน ชุมชนยังคงอนุรักษ์พื้นที่พรุลานควาย โดยได้มีการขยายไปยังชุมชนรอบๆ พรุ ในการร่วมกันอนุรักษ์พรุ ใน 2 ตำบลของ อ.รามัน จ.ยะลา และ 2 ตำบล อ.ทุ่งยางแดง จ.ปัตตานี รวมถึงยังคงมีการรักษาแม่น้ำสายบุรี จัดทำวังปลา ทำนุบำรุงกุโบร์เก่าแก่ให้เป็นศูนย์รวมการพบปะของลูกหลาน และก่อตั้งกลุ่มเยาวชนปลูกผักปลอดสารพิษ ปลูกต้นไม้ ลงพื้นที่ชุมชนเพื่อร่วมอบรมชาวบ้านถึงวิถีเก็บข้อมูลของหมู่บ้าน จากข้อมูลที่ได้ ได้เสนอให้กับทางจังหวัดยะลาเพื่อขอขึ้นทะเบียนเป็นป่าชุมชนกับกรมป่าไม้ของหมู่บ้านอีกด้วย

ทำให้เห็นว่าจากความร่วมมือกันระหว่างชุมชนจนเกิดกลุ่มอนุรักษ์แม่น้ำสายบุรีบ้านจะรังตาดงขึ้นมานั้น ส่งผลให้ลูกหลานและคนรุ่นต่อไปของชุมชน ทันได้เห็นความสวยงามของวิถีชีวิตชุมชน ได้ใช้ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากร รวมถึงยังเกิดแผนฟื้นฟู อนุรักษ์ และเชื่อมโยงเครือข่ายจนสร้างการเปลี่ยนแปลงได้อย่างดีเยี่ยม

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘เอ็กซ์เผิง’ยกทัพโชว์นวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้า-เทคโนโลยีสุดล้ำ! ที่งานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 45

ภายในงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 45 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 27 มีนาคม - 7 เมษายน 2567 นี้มีหลายค่ายรถยนต์ขนทัพสินค้าและนวัตกรรมใหม่ ๆ

'พีระพันธุ์' สั่งการ ปตท. เร่งแก้ปัญหาปั๊มน้ำมัน จ่ายน้ำมันให้ผู้ใช้บริการไม่เต็มลิตร

นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงาน โพสต์เฟซบุ๊ก “พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค - Pirapan Salirathavibhaga” ระบุว่า เมื่อวานบ่ายๆ ผมได้รับรายงานเรื่องปั๊มน้ำมันแห่งหนึ่งจ่าย

กลุ่ม ปตท. จุดพลัง “สุดยอดนักขาย” และ “สุดยอดไอเดียการตลาด” มอบรางวัล Young Influencer Challenge Thailand 2023

ส่งเสริมพลังสร้างสรรค์ นิสิต นักศึกษา 10 มหาวิทยาลัย สร้างยอดขายสินค้าชุมชน ผ่านเว็บไซต์ ‘ชุมชนยิ้มได้’ รวมกว่า 540,000 บาท สร้างทักษะการตลาดให้ชุมชนเข้มแข็ง

ปตท. ได้รับยกย่อง “หุ้นยั่งยืน” ระดับสูงสุด AAA พร้อมคว้ารางวัลเกียรติยศด้านความยั่งยืนและนวัตกรรม จากเวที SET Awards 2023

นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) เปิดเผยว่า ปตท. ได้รับรางวัล SET Awards ประจำปี 2023 ที่จัดขึ้นโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

เอ็นอาร์พีที โชว์ศักยภาพ เปิดโรงงาน Plant & Bean ผลิตแพลนท์เบส ใหญ่ที่สุดในอาเซียน

“เอ็นอาร์พีที” (NRPT) บริษัทร่วมทุน อินโนบิก-เอ็นอาร์เอฟ ลุยตลาดโภชนาการเพื่อสุขภาพ เปิดโรงงาน แพลนท์ แอนด์ บีน (ประเทศไทย) ผลิตอาหารโปรตีนจากพืช