ตั้งองค์กรป่าชุมชน เดินหน้าพัฒนา-ดูแลพื้นที่ป่าบ้านนาผักก้าม

ป่าไม้ในประเทศไทยแม้มองว่าจะมีอยู่มาก แต่ใช่ว่าทุกที่จะเป็นที่ที่สมบูรณ์ เนื่องจากเดิมมนุษย์อยู่ร่วมกับป่าไม้มาโดยตลอด แต่เมื่อวันเวลาผ่านไป การเติบโตของเมือง ของสังคม และการพัฒนาชีวิตที่รวดเร็วขึ้นส่งผลให้ป่าไม้ก็เริ่มลดน้อยลงไปตามสภาพ บางแห่งยังมีอยู่ แต่ก็โดนเบียดเบียนจากมนุษย์ไปมาก บางแห่งก็แทบจะไม่หลงเหลือคำว่าป่าไม้ไว้เลย แต่ก็ยังมีบางแห่งที่ยังมีความอุดมสมบูรณ์ซึ่งแบ่งออกเป็นสองปัจจัยสำคัญคือ 1.พื้นที่อยู่ลึกไม่สะดวกในการเดินทางหรือการตั้งรกรากของมนุษย์ และ 2.คือมีการดูแลรักษาจากผู้คนในพื้นที่มาอย่างดี อยู่ ใช้แบบพึ่งพาอาศัยกัน เมื่อนำมาใช้ ก็ต้องทำแทน

จึงทำให้ป่าเหล่านั้นถือว่ายังอุดมสมบูรณ์ ซึ่งมีหลายแห่งที่เคยถูกบุกรุก ทำลาย และทำร้ายจากผลประโยชน์ของมนุษย์ แต่ยังสามารถฟื้นฟูกลับมาให้เหมือนเดิมได้ เช่นเดียวกับป่าชุมชนบ้านนาผักก้าม-บ้านนาเจริญ ต.เหล่ากอหก อ.นาแห้ว จ.เลย ที่ปัจจุบันคนในชุมชนร่วมกันดูแลรักษาป่าให้คงสภาพความอุดมสมบูรณ์สูงมาก มีระบบนิเวศที่หลากหลาย มีพันธุ์ไม้ทุกระดับเรือนยอด ไม่มีการบุกรุก ไม่มีไฟป่า เนื่องจากมีการดูแลร่วมกันเป็นอย่างดี ผ่านการจัดตั้งองค์กรป่าชุมชนบ้านนาผักก้าม-บ้านนาเจริญ

สภาพพื้นที่ของชุมชนนั้นเป็นพื้นที่ราบและเนินภูเขา ลักษณะดินเป็นดินร่วนปนดินลูกรัง มีลำห้วยสาขาย่อยไหลผ่านไปรวมกับห้วยหอม ลักษณะเป็นป่าดงดิบ (ป่าดิบแล้ง) ผสมป่าเบญจพรรณ มีพืชชั้นบนเป็นไม้ขนาดใหญ่ประกอบไปด้วย ไม้ยาง ไม้ก่อ ไม้พยอม ไม้สบ ไม้ตัง ไม้พันทรี ไม้แลนค้อ เป็นต้น ส่วนพืชรองลงมาเป็นไม้ขนาดกลาง เช่น ไผ่ชนิดต่างๆ หมากน้อย พืชสมุนไพร เป็นต้น และพืชชั้นล่าง ประกอบไปด้วย พืชตระกูลหวาย พืชตระกูลเฟิร์น พืชผักป่าที่บริโภคได้และบริโภคไม่ได้อีกมากมาย ยังมีพวกเห็ดต่างๆ ทั้งที่บริโภคได้และบริโภคไม่ได้

โดยชุมชนนั้นแต่เดิม ทั้งสองหมู่บ้านได้มีการห้ามบุกรุกพื้นที่ป่ามาตั้งแต่เดิมมาจนถึงปี 2530 ทางคณะกรรมการหมู่บ้านประกอบด้วยผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ร่วมกันเอาสีขาวป้ายตามต้นไม้เพื่อแสดงขอบเขตพื้นที่ป่าชุมชน และต่อมาในปี 2532 ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการป่าชุมชนขึ้น โดยใช้ตัวแทนจากสองหมู่บ้าน หมู่บ้านละ 7 คน ได้ร่วมกันเอาสีแดงป้ายตามต้นไม้เพื่อแสดงขอบเขตป่าอีกครั้งและมีการห้ามตัดไม้โดยเด็ดขาด แต่ชาวบ้านสามารถเก็บเห็ด สมุนไพร พืชผักป่ามาเป็นอาหารได้

และในปี 2534 เป็นปีที่จัดตั้งองค์กรป่าชุมชนบ้านนาผักก้าม – บ้านนาเจริญขึ้น โดยคณะกรรมการประกอบด้วยตัวแทนที่ถูกคัดเลือกจากหมู่บ้านมาแล้ว หมู่บ้านละ 20 คน มีคนกลางระหว่าง 2 หมู่บ้านอีก 1 คน รวมกรรมการทั้งหมด 41 คน ร่วมกันร่างกฎระเบียบป่าชุมชนขึ้นบังคับใช้และได้ร่วมกันใช้สีน้าเงินป้ายตามต้นไม้แสดงอาณาเขตของป่าอีกครั้ง จึงทำให้ในปี 2539 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงพระราชทาน “ธงพิทักษ์ป่า เพื่อรักษาชีวิต” ซึ่งเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของราษฎรในชุมชนในการอนุรักษ์พื้นที่ป่าชุมชนต่อไป

นอกจากนี้ในชุมชนยังมีกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นกิจกรรมเพื่อดูแลรักษาป่า และใช้ประโยชน์จากป่าอย่างรู้คุณค่ามาโดยตลอด อาทิ ทำแนวป้องกันไฟรอบป่าชุมชนนาร้องเอี่ยน เน้นการแยกแนวเขตระหว่างป่ากับที่ดินทางการเกษตรของชาวบ้านอย่างชัดเจน ใช้ความเชื่อในการอนุรักษ์ป่าว่า ป่านี้มีผีและเถาวัลย์หลง ผู้ใดเข้าไปในป่าเมื่อข้ามหรือลอดเถาวัลย์แล้วจะหลงอยู่ในป่า และใช้การบวชป่าเป็นความเชื่อเชิงอนุรักษ์ มีการขอสนับสนุนพันธุ์ค้อเขียวจากโครงการสร้างป่า สร้างรายได้ และโครงการเพื่อความมั่นคงภูขัดฯ ฟื้นฟูสภาพป่าโดยการร่วมกันปลูกป่า โดยเฉพาะบริเวณที่เสื่อมโทรมรอบแนวเขต

จัดกิจกรรมดูแลและรักษาป่าชุมชน เช่น การเฝ้าระวังไฟป่าในฤดูแล้งใน มีกลุ่มหลักในการปฏิบัติงาน , ใช้เป็นแหล่งอาหาร ยารักษาโรค ใช้ไม้ผลิตเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในครัวเรือน และใช้ในการเผาศพ นอกจากนี้ชาวบ้านในชุมชนปลูกสมุนไพร และหน่อไม้ในพื้นที่ตนเอง เพื่อลดการพึ่งพิง ป่า รวมถึง ยังใช้ป่าร่วมในประเพณีที่เกี่ยวข้องกับ ชุมชน ซึ่งจะอาศัยวัสดุที่มีอยู่ในพื้นที่ป่ามาประกอบพิธีกรรม เช่น ประเพณีแห่ต้นดอกไม้ ประเพณีแห่ต้นผึ้ง พิธีสู่ขวัญต่อชะตา เป็นต้น

มีโครงการสร้างป่าสร้างรายได้ ส่งเสริมการเกษตรลดละการใช้สารเคมี เช่น การปลูกกาแฟ การปลูกพืช เมืองหนาว เกิดกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่เข้มแข็ง เช่น ไร่ลองเลย ที่รับซื้อผลิตผลทางการเกษตร ทำการตลาด ให้กับสมาชิก และผลักดันงานด้านการอนุรักษ์ในพื้นที่ "แขม" พืชที่ใช้ผลิตไม้กวาด ซึ่งเป็นพืชที่ทำรายได้แก่ครัวเรือนอย่างมาก เพราะสามารถขายทั้งเป็นวัตถุดิบและแปรรูปเป็นไม้กวาดขาย ปัจจุบันสามารถสร้างรายได้ปีละประมาณ 100,000 บาท และคนในชุมชนเองก็ตระหนักรู้ถึงวิธีการดูแลป่าอย่างดี โดยมีการทำเกษตรกรรม มีการลดใช้สารเคมีลงเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้เนื่องจากในพื้นที่มีการปลูกสับปะรดทดแทนการปลูกมันสำปะหลัง

จนทำให้คณะกรรมการป่าชุมชนได้รับการคัดเลือกให้เป็นคณะกรรมการป่าชุมชนระดับจังหวัด 3 คน ซึ่งจะเป็นแรงผลักดันการทำงานด้านการอนุรักษ์ในพื้นที่ ขณะที่เกิดการขยายเครือข่ายไปสู่ชุมชนอื่นๆ ภายในและภายนอกจังหวัดเลย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘เอ็กซ์เผิง’ยกทัพโชว์นวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้า-เทคโนโลยีสุดล้ำ! ที่งานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 45

ภายในงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 45 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 27 มีนาคม - 7 เมษายน 2567 นี้มีหลายค่ายรถยนต์ขนทัพสินค้าและนวัตกรรมใหม่ ๆ

'พีระพันธุ์' สั่งการ ปตท. เร่งแก้ปัญหาปั๊มน้ำมัน จ่ายน้ำมันให้ผู้ใช้บริการไม่เต็มลิตร

นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงาน โพสต์เฟซบุ๊ก “พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค - Pirapan Salirathavibhaga” ระบุว่า เมื่อวานบ่ายๆ ผมได้รับรายงานเรื่องปั๊มน้ำมันแห่งหนึ่งจ่าย

‘พวงเพ็ชร’ ชงครม.สัญจร ของบ 28 ล้าน ศึกษากระเช้าภูกระดึง

‘พวงเพ็ชร’ แจง โปรเจ็คกระเช้าขึ้นภูกระดึง ยังอยู่ขั้นสำรวจออกแบบ ชง ครม.สัญจร ใช้ 28 ล้าน ทําส่งแนบอีไอเอ ชี้ กระตุ้นท่องเที่ยว จ.เลย

กลุ่ม ปตท. จุดพลัง “สุดยอดนักขาย” และ “สุดยอดไอเดียการตลาด” มอบรางวัล Young Influencer Challenge Thailand 2023

ส่งเสริมพลังสร้างสรรค์ นิสิต นักศึกษา 10 มหาวิทยาลัย สร้างยอดขายสินค้าชุมชน ผ่านเว็บไซต์ ‘ชุมชนยิ้มได้’ รวมกว่า 540,000 บาท สร้างทักษะการตลาดให้ชุมชนเข้มแข็ง