ชวนคนไทยใช้อีวี กฟผ. การันตีกางแผนกระตุ้นความมั่นใจ

กระแสรถยนต์ไฟฟ้า (อีวี) ในประเทศไทยยังคงแรงต่อเนื่องและเติบโตแบบก้าวกระโดด เห็นได้ชัดจากยอดการจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าในไทยที่เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ถึง 156.86% หรือกว่า 14,000 คัน ทำให้การแข่งขันของตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศค่อนข้างดุเดือด ทั้งรถยนต์ไฟฟ้า สถานีชาร์จ และเครื่องชาร์จสำหรับที่พักอาศัย ซึ่งเหล่าผู้ประกอบการต่างยกทัพมาประชันกันในงานมหกรรมยานยนต์ครั้งที่ 39 หรือ Motor Expo 2022 กันอย่างคึกคัก

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นอีกหนึ่งหน่วยงานที่เร่งเครื่องเดินหน้ารุกธุรกิจอีวีพร้อมเป้าหมายสนับสนุนระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้า (Ecosystem) เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนในการใช้อีวีทั้งที่บ้านและพื้นที่สาธารณะ

นายวฤต รัตนชื่น ผู้ช่วยผู้ว่าการวิจัย นวัตกรรม และธุรกิจเกี่ยวเนื่อง กฟผ. กล่าวถึงทิศทางธุรกิจอีวีในประเทศไทยว่า การแข่งขันในตลาดอีวีจะดุเดือดมากขึ้นเนื่องจากตลาดมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ปริมาณรถอีวีที่เข้ามาในไทยมากขึ้น สถานีชาร์จจึงต้องสร้างขึ้นมาให้ทัน

เดินทางสะดวก มั่นใจใช้อีวีผ่านสถานีชาร์จ EleX by EGAT

ปัจจุบัน กฟผ. เปิดให้บริการสถานีชาร์จ EleX by EGAT และสถานีพันธมิตรในเครือข่าย EleXA แล้ว 87 สถานีทั่วประเทศ และตั้งเป้าขยายให้ได้ 120 สถานีภายในไตรมาสแรกของปี 2566 เพื่อให้ครอบคลุมทุกจังหวัดมากขึ้นโดยแต่ละสถานีมีระยะห่างกันไม่เกิน 100 กิโลเมตร อาทิ แม่ฮ่องสอน น่าน บึงกาฬ ปัตตานี ระนอง และอาจเพิ่มจำนวนหัวชาร์จในบางจังหวัดที่มีปริมาณการชาร์จที่ค่อนข้างมากด้วย 

สำหรับสถานีชาร์จ EleX by EGAT แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักตามลักษณะพื้นที่หลัก ได้แก่

1. กลุ่มเดินทางข้ามจังหวัด ส่วนใหญ่ตั้งอยู่บริเวณทางหลวง (Highway) ทำให้ผู้ใช้อีวีสามารถเดินทางจากเหนือจรดใต้ได้ด้วยสถานี EleX by EGAT เน้นติดตั้งเครื่องชาร์จแบบเร็ว (DC Fast Charger) ซึ่งมีจำนวนคนเดินทางผ่านมาก ใช้เวลาชาร์จไม่นาน เน้นชาร์จไวและเดินทางไปต่อ

เครื่องอัดประจุไฟฟ้าแบบชาร์จเร็ว 125 kW ที่สถานี EleX by EGAT Max สาขา PT Max Park Salaya

2. กลุ่มลูกค้าในเมือง (Intown) เน้นตอบสนองไลฟ์สไตล์ชีวิตคนเมืองที่ใช้อีวี เน้นติดตั้งเครื่องชาร์จแบบปกติ (AC Normal charger) ซึ่งผู้ใช้อีวีจะใช้เวลาในสถานที่นั้น ๆ เป็นระยะเวลาหนึ่ง อาจจะ 2-3 ชั่วโมง อาทิ ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล สนามกอล์ฟ หน่วยงานราชการ ศูนย์การประชุมและแสดงสินค้า

สถานี EleX by EGAT ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี

ค้นหาสถานีชาร์จ จ่ายเงินสะดวกด้วย EleXA

กฟผ. ร่วมกับผู้ให้บริการสถานีชาร์จรายอื่น คือ การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) เชื่อมโยงข้อมูลตำแหน่งสถานีชาร์จทุกค่ายในแอปพลิเคชันเดียว เพื่อให้ผู้ใช้อีวีลดความยุ่งยากในการค้นหาสถานีชาร์จ

เพียงผู้ใช้อีวีเปิดแอปพลิเคชัน EleXA จะสามารถค้นหาสถานีชาร์จและสถานะความพร้อมใช้งานแบบเรียลไทม์ของทุกค่ายที่อยู่ใกล้เคียง ทั้งแบบ DC Fast Charge และ AC Normal Charge ประเภทหัวชาร์จ รวมถึงสามารถให้ EleXA ช่วยวางแผนการเดินทาง จองคิวชาร์จ และชำระเงินที่รองรับทั้งแบบโอนจ่าย QR Code หรือตัดบัตรเครดิต เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้อีวี อีกทั้งภายหลังการชาร์จไฟทุกครั้งยังได้รับ EleXA Point เพื่อสะสมสำหรับแลกรับส่วนลดหรือสิทธิพิเศษอื่น ๆ

ตอบโจทย์ทุกการชาร์จด้วยเครื่องชาร์จอีวีอัจฉริยะ Wallbox

ปัจจุบันการชาร์จอีวีที่บ้านยังถือเป็นการชาร์จหลักร้อยละ 80 ของผู้ใช้อีวี เครื่องชาร์จอีวีจึงต้องได้มาตรฐานความปลอดภัยทั้งต่อรถยนต์ไฟฟ้าและระบบไฟฟ้าของบ้านด้วย ปัจจุบัน กฟผ. ได้มอบหมายให้บริษัท อินโนพาวเวอร์ จำกัด บริษัทนวัตกรรมพลังงานน้องใหม่ของ EGAT Group เร่งขยายธุรกิจจำหน่ายและติดตั้งเครื่องชาร์จอีวีภายใต้แบรนด์ Wallbox ซึ่งเป็นเครื่องชาร์จอีวีอัจฉริยะ (Smart EV Charger) ผลิตโดยบริษัท Wallbox Chargers S.L. ของประเทศสเปนที่ได้รับความนิยมมากกว่า 100 ประเทศ เพื่อส่งมอบประสบการณ์การชาร์จไฟที่ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ของผู้ใช้อีวี เนื่องจาก Wallbox เป็นเครื่องชาร์จอีวีที่มีความโดดเด่นในเรื่องฟีเจอร์ต่าง ๆ อาทิ การตั้งระยะเวลาการชาร์จอีวีในช่วงที่มีอัตราค่าไฟฟ้าต่ำ ยกระดับการใช้พลังงานสีเขียวภายในที่อยู่อาศัยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากรองรับการทำงานร่วมกับพลังงานสะอาดอย่างโซลาร์เซลล์ รวมถึงรูปลักษณ์ภายนอกที่ทันสมัย กะทัดรัด และได้รับการรับรองมาตรฐานความปลอดภัยของยุโรปจึงเหมาะกับผู้ใช้อีวีทุกกลุ่มทั้งที่พักอาศัยและพื้นที่ธุรกิจ

สำหรับ Wallbox ที่เหมาะสำหรับใช้ในที่พักอาศัย ได้แก่ รุ่น Pulsar Max ซึ่งเป็นเครื่องชาร์จ Wallbox รุ่นล่าสุดที่เปิดตัวในงาน Motor Expo 2022 มีขนาดเล็กกะทัดรัด แต่ความสามารถใหญ่เกินตัว เพราะชาร์จไฟฟ้าได้เร็ว รองรับการจ่ายไฟฟ้าได้ตั้งแต่ 7.4 - 22 กิโลวัตต์ รวมถึงสามารถเลือกชาร์จไฟฟ้าสะอาดจากโซลาร์เซลล์ที่ติดตั้งอยู่บนหลังคา อีกทั้งยังได้รับการออกแบบให้ทนทานต่อการใช้งานและติดตั้งง่ายขึ้นจึงช่วยลดค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง

และรุ่น Pulsar Plus เป็นเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าสไตล์มินิมอลขนาดเล็ก น้ำหนักน้อยกว่า 1 กิโลกรัม แต่ทรงพลัง สามารถชาร์จไฟได้แรงสูงสุดถึง 22 กิโลวัตต์ เหมาะกับการชาร์จอีวีที่บ้านทุกวัน

ในขณะที่รุ่น Quasar เป็นเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบสองทิศทาง (Bi-Directional Charger) ที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก สามารถจ่ายไฟย้อนกลับจากแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้ากับเข้าสู่ระบบไฟฟ้าภายในอาคาร

ส่วนรุ่น Copper SB เหมาะสำหรับใช้ในพื้นที่ธุรกิจ เพราะได้รับการออกแบบมาให้สามารถรองรับการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าได้ทุกค่าย เหมาะกับการติดตั้งในที่พักส่วนตัวหรือที่จอดรถในพื้นที่ธุรกิจ เพราะสามารถกำหนดการใช้งานด้วย RFID card สำหรับสมาชิกหรือลูกค้าธุรกิจ ขนาดเล็กกระทัดรัดทำให้ประหยัดพื้นที่ในการติดตั้ง มีระบบกระจายพลังงาน (Power Sharing) ระหว่างเครื่องชาร์จหลายตัว เพื่อแบ่งจ่ายพลังงานให้กับรถแต่ละคันด้วยกำลังไฟฟ้าที่แตกต่างกันตามความต้องการของผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า อีกทั้งยังมีระบบช่วยบริหารจัดการพลังงานและเชื่อมต่อระบบชำระค่าบริการได้อีกด้วย

สามารถชมผลิตภัณฑ์ Wallbox ได้ที่บูธ EGAT Group ภายในงาน Motor Expo 2022 ตั้งแต่วันนี้ – 12 ธันวาคม 2565 หรือติดต่อสอบถามได้ที่ Line Official Account: @innoev.co และ https://www.innoev.co/

เห็นโอกาสทางธุรกิจสำหรับผู้สนใจลงทุนสถานีชาร์จด้วยระบบ BackEN

สำหรับผู้ที่สนใจมองหาธุรกิจสถานีชาร์จอีวี กฟผ. ยังมีบริการระบบบริหารจัดการสถานีชาร์จ หรือ BackEN​ ซึ่งเป็นระบบที่​ กฟผ. พัฒนาขึ้นเพื่อใช้กับสถานีชาร์จ​ EleX​ by​ EGAT รวมถึงให้บริการแก่ผู้ที่สนใจลงทุนสถานีชาร์จอีวีเชิงพาณิชย์​ โดยระบบ BackEN​ จะช่วยควบคุมบริหารจัดการสถานีชาร์จแบบออนไลน์และติดตามสถานะได้แบบเรียลไทม์ อาทิ การตั้งเวลาเปิด-ปิดสถานีชาร์จ การตั้งราคา ติดตามจำนวนผู้ใช้บริการ ปริมาณการชาร์จ รายได้ ตลอดจนได้รับการดูแลจากทีม Customer Service ตลอด 24 ชั่วโมง โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีพนักงานคอยบริการ ส่วนลูกค้าที่มาใช้บริการก็สามารถสั่งชาร์จไฟฟ้าและชำระเงินผ่านแอปพลิเคชัน EleXA

ปัจจุบัน กฟผ. มีลูกค้าหลากหลายธุรกิจเข้ามาใช้บริการ​ระบบ BackEN​ ทั้งหมด 15 ราย  ทั้งม​หาวิทยาลัย ออฟฟิศ โรงแรม โรงงานอุตสาหกรรม และสนามกอล์ฟที่ต้องการติดตั้งสถานีชาร์จเพื่อให้บริการลูกค้าของธุรกิจเดิม และมีแนวโน้ม​เติบโตอย่างต่อเนื่อง เพราะรถยนต์​ไฟฟ้า​มีจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับรูปแบบการให้บริการของ กฟผ. แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ

  • Open Platform ให้บริการแพลตฟอร์มอย่างเดียวสำหรับผู้ประกอบการที่ติดตั้งเครื่องชาร์จอีวี และมองหาระบบควบคุมบริหารจัดการสถานีเข้ามาช่วยเจ้าของสถานีชาร์จ โดยจ่ายค่าบริการเป็นรายเดือน เริ่มต้นเพียงเดือนละ 699 บาทเท่านั้น 
  • Total Solution สำหรับผู้ที่มีเฉพาะพื้นที่ โดย กฟผ. จะเข้าไปสำรวจ ให้คำปรึกษาจากประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญว่าพื้นที่ดังกล่าวควรเป็นสถานีชาร์จประเภทไหน จำนวนกี่หัวชาร์จ จุดติดตั้งควรอยู่บริเวณใด ประเมินเงินลงทุนเบื้องต้น ก่อสร้างติดตั้งสถานีชาร์จ เชื่อมต่อเข้ากับระบบ BackEN และทดสอบจนสามารถใช้งานผ่านแอปพลิเคชัน EleXA ได้
  • บริการทดสอบความเข้ากันได้ของระบบ BackEN กับเครื่องชาร์จ เหมาะกับผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าเครื่องชาร์จอีวีที่มองหาระบบปฏิบัติการเพื่อให้บริการกับลูกค้าได้ครบวงจร

ระบบ BackEN ถือเป็นระบบหลังบ้านแบบครบวงจรที่สถานีชาร์จเชิงพาณิชย์จำเป็นต้องมี​ ผู้ที่สนใจลงทุนสถานีชาร์จไม่ต้องเริ่มนับหนึ่งในการพัฒนา​ระบบปฏิบัติการ​ใหม่ ทำให้สามารถ​มีสถานีชาร์จไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ได้ง่ายขึ้นในต้นทุนที่ต่ำลง ในอนาคต กฟผ. ยังเตรียมพัฒนาฟังก์ชั่นสำหรับลูกค้าเฉพาะกลุ่มอย่างระบบบริหารจัดการสถานีชาร์จ​สำหรับโรงแรมเพื่อตอบโจทย์ธุรกิจแบบครบวงจรมากขึ้น และขยายขนาดเครือข่ายของผู้ให้บริการจุดชาร์จเพื่อร่วมเติมเต็ม EV Ecosystem สู่ธุรกิจเป้าหมายของประเทศ โดยผู้ที่สนใจสามารถขอคำปรึกษารูปแบบธุรกิจและรายละเอียดได้ทาง Line Official Account: @BackevEV

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

KJL ลุยตลาด EV-โรงไฟฟ้า มุ่งสู่การเติบโตแบบ Synergy Growth

ตอกย้ำความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง KJL เปิดเกมส์รุกสู่ตลาด EV และโรงไฟฟ้าด้วยสินค้าและนวัตกรรมใหม่ รับการเติบโตแบบ Synergy Growth ร่วมกับพันธมิตรระดับสากล

ร่วมยลโฉม JY AIR รถยนต์ไฟฟ้าอัจฉริยะแห่งอนาคต ครั้งแรกในงาน Thailand Motor Expo 2024 29 พฤศจิกายน ถึง 10 ธันวาคมนี้ ที่บูธ B17 อิมแพ็ค ชาเลนเจอร์ เมืองทองธานี

กรุงเทพฯ, ประเทศไทย – บริษัท จูนเหยา ออโต (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทผู้ผลิตและจัดจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้า ในเครือเดียวกับบริษัท จูนเหยา กรุ๊ป (JuneYao Group)