
‘ศิริกัญญา’ ซัดนโยบายรัฐบาลเหมือน ‘คำอธิษฐาน’ ไร้เป้าหมาย มาตรฐานต่ำกว่ายุค ‘ประยุทธ์ – ยิ่งลักษณ์’ ซักแหล่งที่มาเงินดิจิทัล งานแรกเศรษฐาทลายกรอบวินัยการเงินการคลัง
11 ก.ย. 2566 – เมื่อเวลา 10.40 น. ที่รัฐสภา น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล สส.บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคก้าวไกล (ก.ก.) ลุกขึ้นอภิปรายภายหลังนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง แถลงนโยบายต่อรัฐสภาว่า คำแถลงนโยบายที่ดีต้องเหมือนจีพีเอส ที่จะบอกว่าเป้าหมายตลอด 4 ปี คืออะไร รัฐบาลจะเดินไปเส้นทางไหน เหมือนหรือต่างกับผู้ร่วมทางตอนหาเสียงหรือไม่ จะไปถึงเป้าหมายเมื่อไหร่ แต่เมื่อนั่งฟังนโยบายรัฐบาลจนจบ พบว่าไม่มีอะไรแตกต่างจากเอกสารที่ออกมาก่อนหน้านี้ ถ้าเปรียบเป็นจีพีเอสเหมือนประเทศกำลังหลงทาง ขาดความชัดเจน และหากเปรียบเทียบกับรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีการกำหนดเป้าหมายไว้ชัดเจนมากกว่า
ซึ่งทั้งเป้าหมาย วิธีการ และการกำหนดกรอบเวลา ถือว่ามีความสำคัญเพื่อให้ประชาชนตรวจสอบได้ว่าท่านได้ทำตามสัญญาหรือไม่ สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องบรรจุนโยบายที่หาเสียงไว้เพราะเป็นสัญญาที่เอาไว้แลกกับคะแนนเสียง หากพรรคไหนคิดกลับคำตระบัดสัตย์ไม่บรรจุนโยบายที่หาเสียงไว้ในนโยบายรัฐบาล คงถือว่าพรรคการเมืองนั้นทรยศต่อความไว้วางใจของประชาชน
“หากตัดเกรดคำแถลงนโยบายของนายเศรษฐา ให้อยู่เกรดเดียวกับ พล.อ.ประยุทธ์ และคิดว่าพ ล.อ.ประยุทธ์ แถลงได้ดีกว่าด้วยซ้ำเพราะแถลงยาวกว่า และยังถือว่าพรรคเพื่อไทยมาตรฐานตก เพราะไม่สามารถรักษามาตรฐานได้จากสมัยรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ที่แถลงนโยบายได้อย่างชัดเจน มีนโยบายที่หาเสียงทั้งหมดและมีการกำหนดกรอบเวลา การแถลงนโยบายไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจน ไม่เป็นรูปธรรม เขียนแบบพูดอีกก็ถูกอีกเหมือนพูดว่าน้ำเป็นของเหลว จึงเท่ากับว่ารัฐบาลนี้ไม่มีเป้าหมาย ไม่มีการอธิบายรายละเอียดของนโยบาย การเขียนนโยบายต้องไม่ใช่เขียนนโยบายเหมือนเป็นแค่คำอธิษฐาน นโยบายที่หาเสียงไว้ก็หาแทบไม่เจอ แม้จะมีนโยบายของพรรคเพื่อไทยอยู่บ้าง แต่ของพรรคร่วมแทบไม่เห็น” น.ส.ศิริกัญญา ระบุ

น.ส.ศิริกัญญา กล่าวว่า นายกฯ ปัจจุบันมาจากภาคเอกชน เราหวังว่าจะเอาแนวทางบริหารแบบเอกชนมาปรับใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินในบางเรื่อง การแถลงนโยบายครั้งนี้ถ้าท่านคือซีอีโอใหม่ที่กำลังแสดงวิสัยทัศน์กับบอร์ด อยากถามว่าเป็นท่านจะฟังต่อหรือลุกเดินหนี ตอนอยู่เอกชนท่านมีเป้าหมายชัดเจน มีตัวเลขชี้วัด นั่นคือตัวอย่างที่ดี แต่น่าเสียดายที่ท่านยังไม่นำมาใช้ในการแถลงนโยบายครั้งนี้ คำแถลงขาดความทะเยอทะยานที่จะทำให้สังคมก้าวหน้า สร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นกับประเทศ เหมือนท่านหลับตาข้างหนึ่งแล้วก้าวข้ามความขัดแย้งทำเหมือนไม่เคยเกิดขึ้นมาก้อน ความขัดแย้งทางการเมือง ความขัดแย้งทางสามจังหวัดภาคใต้ การลดความเหลื่อมล้ำ ไม่มีการพูดถึง เหมือนท่านไม่กล้าแตะเรื่องยากๆ
ทั้งนี้ตอนหาเสียงท่านกล้าหาญกว่านี้มาก ตนคิดว่าน่าจะมาจากการที่รัฐบาลกลัวการผูกมัดกลัวทำไม่ได้แบบที่สัญญาเลยไม่กล้าผูกมัดอะไรกับประชาชนเลย แต่ก็ไม่ควรหลอกประชาชนช่วงเลือกตั้งด้วยการหาเสียงแต่แรก และการเป็นรัฐบาลผสมข้ามขั้วเป็นรัฐบาลคนละขั้วหาข้อตกลงกันไม่ได้ จึงต้องเขียนให้ลอยและกว้างเอาไว้ มีความเกรงใจกลุ่มอำนาจเก่า จึงไม่กล้าทำเรื่องยากๆ ที่จะต้องปะทะกับใครเลย
ส่วนกรอบระยะสั้นหลายเรื่องที่ควรเป็นนโยบายเร่งด่วน กลับไม่มีส่วนกรอบระยะกลาง ระยะยาว หากพิจารณาดูจะพบว่าหายไปหลายเรื่อง เช่น ลดรายจ่าย และลดความเหลื่อมล้ำ โดยเฉพาะความเหลื่อมล้ำที่ถูกลดทอนเหลือแค่เหลื่อมล้ำด้านการศึกษา ตนเชื่อว่านายกฯ สมัยยังไม่เข้าวงการการเมืองเต็มตัว ท่านเคยแสดงความเห็นเรื่องนี้โดยเห็นว่าความเหลื่อมล้ำเป็นเรื่องสำคัญ วันนี้อยากถามว่าท่านยังคิดแบบเดิมหรือไม่หรือเปลี่ยนความคิดไปแล้ว วันนี้ไม่ใช่แค่นายเศรษฐาที่เปลี่ยนไป แต่พรรคเพื่อไทยก็เปลี่ยนด้วย เพราะคำแถลงของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ให้ความสำคัญเรื่องลดความเหลื่อมล้ำ กระจายรายได้อย่างมาก วันนี้อุดมการณ์จุดยืนของพรรคเพื่อไทยยังคงเดิมหรือเปลี่ยนไปแล้ว หรือท่านไม่เห็นว่าสำคัญอีกต่อไปเพราะบริบทเปลี่ยนไปแล้ว
น.ส.ศิริกัญญา อภิปรายถึงนโยบายดิจิทัลวอลเล็ตที่จะใช้งบประมาณ 5.6 แสนล้านบาทว่า แหล่งที่มาของงบประมาณจึงเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าใช้งบประมาณแผ่นดินต้องพิจารณาว่างบพอหรือไม่หรือมีเงินสดพอหรือไม่ หรือหากใช้เงินนอกงบประมาณ จะมี 3 วิธีการคือ กู้ยืมเงินจากธนาคารรัฐ กู้ยืมเงินกองทุนหมุนเวียนหรือไม่ และขายกองทุนวายุภักษ์ หากเลือกใช้งบ 67 คงไม่เพียงพออย่างแน่นอน เพราะงบที่เหลือจริงๆ ที่จะใช้ได้คือ 4 แสนล้านบาท ท่านได้ถามพรรคร่วมรัฐบาลอื่นหรือยังที่จะเอางบที่เหลือมาลงกับดิจิทัลวอลเล็ต แต่หากเลือกใช้เงินนอกงบประมาณก็ไม่สามารถทำได้ หากไม่แก้กรอบวินัยการเงินการคลัง ซึ่งนายกฯ บอกว่าเคร่งครัดเรื่องวินัยการเงินการคลัง แต่งานแรกจะเริ่มต้นด้วยการทลายกรอบวินัยการเงินการคลังเลยหรือ
“ดิจิทัลวอลเล็ตกระตุ้นเศรษฐกิจได้แน่นอน แต่ขอให้ท่านจัดลำดับความสำคัญให้ดี การบริหารราชการแผ่นดินไม่ใช่การพนัน จะเทหมดหน้าตักแล้วไปหวังน้ำบ่อหน้าไม่ได้ ข้อดีของการแถลงนโยบายแบบกว้างๆ คือท่านทำอะไรได้มากว่านั้น ท่านยังมีโอกาสอีกครั้งในการแถลงงบประมาณ ถ้าคำแถลงนโยบายคือคำสัญญา 4 ปี คำแถลงงบประมาณก็จะเป็นคำสัญญา 1 ปี ซึ่งยังเฝ้ารอในโอกาสหน้า” น.ส.ศิริกัญญา ระบุ.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อ้าว! ‘จุลพันธ์’ บอกส่งกฤษฎีกาตีความแค่ข้อกม.ดิจิทัลฯ ไม่ใช่ร่างพรบ.กู้เงิน 5 แสนล.
‘จุลพันธ์’ จ่อส่งกฤษฎีกาตีความกฎหมายดิจิทัลวอลเล็ตสัปดาห์นี้ แจงยังไม่ถึงขั้นตอนยกร่างพ.ร.บ.กู้ 5 แสนล้าน
'เศรษฐา' ยันสัปดาห์นี้แน่! ส่งกฤษฎีกาตีความ 'พรบ.กู้เงิน' แจกหมื่นดิจิทัล
นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ (ครม.สัญจร)
นายกฯ เปิดประชุม ครม.สัญจรหนองบัวลำภู ชูเพิ่มรายได้ยกระดับคุณภาพชีวิต
นายกฯ ย้ำนำครม.สัญจรหนองบัวลำภู ไม่ได้สร้างภาพ แต่ต้องการยกระดับคุณภาพชีวิตชาวบ้าน หลังประชากรมีรายได้น้อยนานชั่วอายุคน
‘ชลน่าน’ โยน กก.บห.เพื่อไทย เคาะเสนอร่างนิรโทษฯ ประกบ ‘ก้าวไกล’ หรือไม่
นพ.ชลน่าน ระบุให้ กก.บห.เพื่อไทยเคาะเสนอร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรม ประกบร่วมกับของพรรคก้าวไกลหรือไม่
เปิดเซฟ '3 รมต.' บิ๊กเพื่อไทย 'พวงเพ็ชร' อู้ฟู่สุด 871 ล้าน
ป.ป.ช. เปิดทรัพย์สิน 3 รมต. เพื่อไทย 'ภูมิธรรม' รวย 49 ล้าน 'พวงเพ็ชร' อู้ฟู่ 871 ล้าน บ้าน 9 หลัง 333 ล้าน 'จักรพงษ์' มี 56 ล้าน ปล่อยกู้บริษัทบิดา 20 ล้าน มีพระสมเด็จ 7 ล้าน
พท. ชี้ กม.นิรโทษกรรม ยังติดประเด็น ม.112 ต้องหาข้อยุติก่อน
ภูมิธรรม ชี้กฎหมายนิรโทษกรรมขณะนี้เป็นฉันทามติของหลายส่วนงานแล้วว่าอยากเห็นการนิรโทษกรรมและการแก้ปัญหา แต่ที่ยังติดค้างอยู่คือประเด็นมาตรา 112 ก็ยังไม่ถึง