
‘ประธาน กกต.’ แจงคำร้องยุบพรรคก้าวไกล ทำตามกระบวนการไม่สนชื่อพรคการเมือง เผยอยู่ระหว่างศึกษาคำวินิจฉัยศาล รธน. อาจเรียกผู้ถูกกล่าวหาให้ข้อมูลเพิ่ม ยันไม่ชักช้า
16 ก.พ. 2567 – นายอิทธิพร บุญประคอง ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีมีข้อวิพากษ์วิจารณ์ถึงการทำงานของ กกต. อาจจะเป็นเครื่องมือทางการเมือง จากกรณียุบพรรคการเมือง ว่า กกต. ไม่ได้คิดอย่างนั้น แต่ก็ไม่สามารถห้ามใครคิดแบบนั้นได้ กฎหมายพูดเสมอว่าให้ กกต. มีหน้าที่อะไรบ้าง ถ้าบทบาทเป็นอย่างไร กกต. ก็ต้องทำ คงไม่ได้เป็นเครื่องมืออะไร
เมื่อถามว่า สังคมมองว่าที่ผ่านมา กกต. มักจะยื่นยุบพรรคที่อยู่ตรงข้ามรัฐบาล โดยครั้งนี้ก็คือพรรคก้าวไกล ซึ่งเพิ่งจะมีคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญเรื่องใช้การแก้ไขมาตรา 112 ในการหาเสียงของพรรค นายอิทธิพร กล่าวว่า การยุบพรรคหรือไม่ ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงปรากฏ เราไม่ได้ดูชื่อพรรค ถ้าข้อเท็จจริงปรากฏว่า พรรคการเมืองใด ทำอะไรอย่างไร แล้วเรื่องมาถึงอำนาจหน้าที่ของ กกต. เราก็ทำตามนั้น ที่ผ่านมาเราพยายามทำตามกฎหมาย ใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการทำงานโดยแท้
ผู้สื่อข่าวถามว่า ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยออกมา แล้ว กกต. จะดำเนินการอย่างไรต่อไป ประธาน กกต. กล่าวว่า นี่เป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ที่ทราบกันทั่วไป แต่เนื่องจากศาลวินิจฉัยวันที่ 31 ม.ค. ต่อมาวันที่ 1 – 2 ก.พ. มีคนมายื่นร้องต่อ กกต. เพื่อขอให้ส่งเรื่องยุบพรรคก้าวไกล และวันที่ 6 ก.พ. สำนักงาน กกต. เสนอเรื่องตามกระบวนการการทำงานปกติให้ กกต. ทราบว่ามีเรื่องนี้ กกต. ก็ขอให้สำนักงานและนายทะเบียนพรรคการเมือง ไปศึกษาคำวินิจฉัยศาลเท่าที่มีอยู่ในวันอ่าน และศึกษาว่าตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยพรรคการเมือง จะต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง ตามอำนาจหน้าที่ที่มี และวันที่ 13 ก.พ. ก็มีการเสนอเรื่องมาว่าอยู่ระหว่างการศึกษา
อย่างไรก็ตามเพื่อความรอบคอบ เพื่อความเป็นธรรม และชัดเจน อาจจะให้ศึกษาคำวินิจฉัยกลาง ซึ่งตามแนวทางการทำงานทราบว่า ศาลรัฐธรรมนูญจะออกมาภายใน 2 สัปดาห์ คาดว่าจะเป็นภายในวันนี้ สัปดาห์นี้ แต่ไม่ช้าไปกว่านี้แน่ เมื่อ กกต. มีข้อมูล เอกสารครบถ้วน ก็จะวินิจฉัยตามนั้น ส่วนจะได้ข้อสรุปเมื่อไหร่นั้นก็ขึ้นอยู่กับการศึกษาคำวินิจฉัยของศาล หลักฐานและดูว่ามีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าเป็นการล้มล้างการปกครองหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องข้อกฎหมายที่เขียนชัดในตามมาตรา 92 และ 93
เมื่อถามว่า หากยื่นยุบพรรคตามกฎหมาย ต้องอิงตั้งแต่กรรมการบริหารพรรคชุดเก่าที่เคยเสนอร่างแก้ไขมาตรา 112 หรือไม่ นายอิทธิพร กล่าวว่า ไม่ได้ลงรายละเอียดขนาดนั้น เพราะยังมีกระบวนการทำงาน 1.ศึกษาคำวินิจฉัยให้ละเอียดถี่ถ้วนก่อน 2.สำนักงานกกต. มีความเห็นเป็นอย่างไร จะเสนอ กกต. ใช้อำนาจหน้าที่อย่างไร ทั้งนี้ไม่มีกรอบเวลาชัดเจน แต่เรื่องนี้ต้องทำโดยไม่ชักช้า เพราะมีคำวินิจฉัยออกมาชัดเจนแล้ว แต่กระบวนการทำงานหากทำละเอียด ครบถ้วนได้ก็จะเป็นประโยชน์
เมื่อถามย้ำว่า เมื่อมีคำวินิจฉัยของศาลแล้ว ยังต้องเรียกผู้ถูกกล่าวหามาให้ข้อมูลชี้แจงเพิ่มเติมหรือไม่ ประธาน กกต. กล่าวว่า อาจจะมีกระบวนการภายใต้กรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ที่นายทะเบียนพรรคการเมืองตั้งขึ้น ขณะนี้เราทำคู่ขนานกันไประหว่างสำนักงานเสนอความเห็นว่า เรื่องนี้มีหลักฐานอันควรเชื่อแล้วหรือยัง ซึ่งก็ต้องไปดูว่าเรื่องนี้จะตรวจสอบข้อเท็จจริงอย่างไร ก็ทำพร้อมๆ กัน เพราะฉะนั้น ถ้าจะเรียกก็อาจเรียกในกรอบของคณะตรวจสอบข้อเท็จจริง.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'วิโรจน์' ซัดสภาเป็นโรงลิเก หลอกต้มประชาชน ส่งศาลตีความเตะถ่วงแก้รธน.
นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.บัญชีรายชื่อ อภิปรายว่า วันนี้ต้องเล่าเรื่องเก่าให้เห็นเส้นเรื่องว่า การยื้อแก้รัฐธรรมนูญนั้น ไม่เกิดประโยชน์ ถ้าเราจำกันได้ หลังรัฐประหาร ปี 2557 สส.จำนวนมากมายหลายพรรคมีท่าทีแก้ไขรัฐธรรมนูญผ่านกลไกของสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.)
โหวต 2 ตุลาการศาลรธน. สิริพรรณ-ชาตรี ลุ้นฝ่าด่าน สว.สีน้ำเงิน
การประชุมวุฒิสภาวันอังคารที่ 18 มีนาคม มีวาระการประชุมที่น่าสนใจคือ การโหวต
แก้รธน. ส่อระอุอีก 'สว.' บี้ 'ศาลรธน.' ไม่มีเหตุไม่รับคำร้อง ตีความประชามติ
จี้ให้ส่งคำตอบโดยเร็วภายในหนึ่งสัปดาห์ หากจันทร์นี้ รัฐสภาลงมติส่งคำร้องให้ศาลรธน.ตอบมาให้ชัด แก้ 256 ตั้งสภาร่างรธน. โดยไม่ต้องทำประชามติก่อนได้หรือไม่
'เสี่ยหนู' เหน็บ 'ณฐพร' อยากดัง หลุดที่ปรึกษา คงโมโห ยื่นยุบภท.แทรกแซงเลือกสว.
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมาไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย (ภท.)กล่าวถึงท่าทีของพรรคฯ กรณีที่ นายณฐพร โตประยูร ร้องศาลรัฐธรรมนูญ ยื่นยุบพรรค ภท.
'รทสช.' มีมติหนุนส่งศาลตีความ ปมอำนาจสภาแก้รธน.
'รทสช.' มีมติเห็นชอบส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความ ปมอำนาจสภาแก้รัฐธรรมนูญ ย้ำเรื่องใหญ่ ทำประชามติใช้งบ 4 พันล้าน จำเป็นต้องรอบคอบชัดเจน
เชียงใหม่คึกคัก! 'ปชน.' เปิดตัวผู้สมัครชิง 'นายกเล็ก'
บรรยากาศการเมืองท้องถิ่นเริ่มคึกคัก โดยเฉพาะที่เทศบาลนครเชียงใหม่ อีกพื้นที่หนึ่งที่ถูกจับตามองทั้งประเทศ ซึ่งนายกเทศมนตรีและสมาชิกเทศบาล (ส.ท.) นครเชียงใหม่