จบข่าว! ประชาชนแห่โหวตคัดค้านนิรโทษกรรมรวมคดี 112

13 มิ.ย.2567 - สืบเนื่องจากกรณี เว็บไซต์รัฐสภา ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นตามมาตรา 77 รัฐธรรมนูญ ของ ร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมประชาชน พ.ศ. …. ที่ นางสาวพูนสุข พูนสุขเจริญ ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน กับผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน 36,723 คน ร่วมกันเสนอ ตั้งแต่วันที่ 13 พ.ค.ที่ผ่านมา โดยเปิดรับฟังความคิดเห็นวันที่ 12 มิ.ย.ที่ผ่านมาเป็นสุดท้าย

ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมประชาชน พ.ศ. ….ที่ขึ้นเว็บไซต์ รัฐสภา ที่นิรโทษกรรมรวมคดี 112 ด้วยนั้น มีเนื้อหาบางส่วนดังนี้

ร่างพ.ร.บ.นี้ กำหนดให้นิรโทษกรรมแก่การกระทำความผิดที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2549 จนถึงวันที่พ.ร.บ.มีผลใช้บังคับ โดยมี คณะกรรมการนิรโทษกรรมประชาชน เป็นผู้วินิจฉัยการกระทำของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมืองหรือการแสดงออกทางการเมืองที่สมควรได้รับการนิรโทษกรรม เว้นแต่คดีตามร่างมาตรา 5 ซึ่งได้รับการนิรโทษกรรมโดยคณะกรรมการไม่ต้องพิจารณาวินิจฉัย ดังนี้

1.คดีความผิดตามประกาศ และคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

2.คดีพลเรือนที่ถูกดำเนินคดีในศาลทหารตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 37/2557 และฉบับที่ 38/2557

3.คดีตามฐานความผิดในมาตรา 112 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

4.คดีตามฐานความผิดในพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548

5.คดีตามฐานความผิดในพระราชบัญญัติออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2559

6.คดีตามฐานความผิดที่เกี่ยวโยงกับคดีข้างต้น

ทั้งนี้ การกระทำของบรรดาเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องในเหตุการณ์ชุมนุมประท้วงหรือการสลายการชุมนุมที่เกินสมควรกว่าเหตุ หรือเป็นความผิดตามมาตรา 113 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ไม่ได้รับนิรโทษกรรม และหากการกระทำของบุคคลที่ได้รับนิรโทษกรรมตามพระราชบัญญัตินี้สร้างความเสียหายแก่บุคคลซึ่งไม่ใช่องค์กรหรือหน่วยงานของรัฐ ผู้เสียหายนั้นยังคงมีสิทธิในการเรียกร้องค่าเสียหายทางแพ่งจากผู้กระทำ

ล่าสุดวันนี้(13 มิ.ย.) ได้ปิดรับฟังความเห็นแล้วพบว่ามีผู้ร่วมแสดงความคิดเห็นทั้งสิ้น 90,503 คน โดยไม่เห็นด้วยกับร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว 64.66% เห็นด้วย 35.34 %

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สว.จี้รัฐบาลเอาจริงแชร์ลูกโช่ แนะตรวจสอบใช้คริปโตฟอกเงิน-เสียภาษี

ที่รัฐสภา ในการประชุมวุฒิสภา ที่มีนายมงคล สุระสัจจะ ประธานวุฒิสภา เป็นประธานการประชุม นาวาตรี วุฒิพงศ์ พงศ์สุวรรณ สว. ตั้งกระทู้

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 32): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม”

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490