โรคซาร์โคเพเนีย..จากวิกฤตโควิดผู้สูงวัยเสี่ยงสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ

“กล้ามเนื้อ” เป็นองค์ประกอบที่น่ามหัศจรรย์ของร่างกาย ซึ่งไม่เหมือนเงินทองที่ยิ่งใช้ยิ่งหมดไป แต่ในทางกลับกัน หากยิ่งได้ใช้ โดยการฝึกฝนกล้ามเนื้ออย่างพอเหมาะ และสม่ำเสมอสำหรับในแต่ละช่วงวัย ร่างกายจะยิ่งแข็งแรง ลดเสี่ยง “โรคซาร์โคเพเนีย (Sarcopenia)” หรือการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อที่มากับพฤติกรรมเนือยนิ่งจากวิกฤติ COVID-19 ได้

กภ.ทวีศักดิ์ ปฐม หัวหน้างานกายภาพบำบัด ศูนย์การแพทย์มหิดลบำรุงรักษ์จังหวัดนครสรรค์ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวถึงโรคซาร์โคเพเนีย (Sarcopenia) ว่าไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะแต่ในผู้สูงวัย แต่อาจพบได้ในผู้ที่มีวัย 40 ปีขึ้นไป สังเกตุได้จากลักษณะแขนขาที่ลีบเล็ก และอ่อนแรงลง โดยมีสาเหตุสำคัญจากการขาดการออกกำลังกาย และการรับประทานอาหารที่มีโปรตีนไม่เพียงพอ ซึ่งในปัจจุบันพบจำนวนไม่น้อยที่เป็นโดยไม่รู้ตัว

ทั้งนี้ ไม่ใช่ว่าผู้ที่มีรูปร่างผอมบางทุกรายจะเข้าข่ายป่วยเป็นโรคซาร์โคเพเนีย (Sarcopenia) ก่อนอื่นจะต้องเข้ารับการตรวจและประเมินสุขภาพโดยแพทย์และนักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญเสียก่อน ในเบื้องต้นแพทย์จะใช้เครื่องมือประเมินมวลกล้ามเนื้อBioelectrical Impedance Analysis (BIA) ซึ่งตามเกณฑ์ของAsian Working Group for Sarcopenia (AWGS) หากได้ค่าน้อยกว่า 7.0 กิโลกรัมต่อตารางเมตรในเพศชาย และน้อยกว่า 5.7 กิโลกรัมต่อตารางเมตรในเพศหญิง จึงจะถือว่าเข้าข่ายป่วยเป็นโรคซาร์โคเพเนีย (Sarcopenia)

นอกจากนี้ ยังได้มีการส่งต่อให้นักกายภาพบำบัดประเมินความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ซึ่งนอกจากการทดสอบโดยสังเกตุจากการนั่ง-ลุก-ยืน-เดิน และการวัดความเร็วในการเดินแล้ว ยังใช้เครื่องวัดแรงบีบมือ (Hand-Grip Strength) ร่วมทดสอบ ซึ่งตามเกณฑ์ของ AWGS จะต้องมีแรงบีบไม่ต่ำกว่า 26 กิโลกรัมในเพศชาย และไม่ต่ำกว่า 18 กิโลกรัมในเพศหญิง

กภ.ทวีศักดิ์ ปฐม ได้แสดงความห่วงใยถึงผู้ป่วยโรคซาร์โคเพเนีย (Sarcopenia) ในกลุ่มของผู้สูงวัย หรือผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่พบได้มากกว่าผู้ป่วยในช่วงวัยอื่น ซึ่งนอกจากจะมีแขนขาที่ลีบเล็กลงจากการขาดการออกกำลังกายจนต้องสูญเสียมวลกล้ามเนื้อแล้ว มักเข้ารับการบำบัดด้วยอาการเหนื่อยอ่อน แม้เพียงการเคลื่อนไหวปกติในชีวิตประจำวันเช่น การนั่ง-ลุก-ยืน-เดิน เป็นต้น

จึงได้แนะนำการทำกายภาพบำบัดอย่างง่าย ซึ่งหากทำอย่างสม่ำเสมอ แม้ไม่อาจทำให้มีมวลกล้ามเนื้อที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและชัดเจนเหมือนผู้ที่ยังอยู่ในวัยหนุ่มสาว แต่ก็จะสามารถช่วยชะลอการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ และรู้สึกแข็งแรงมากขึ้นได้โดยไม่ต้องพึ่งยา

เพียงไม่ปล่อยให้ผู้สูงวัยมีพฤติกรรมเนือยนิ่ง หากิจกรรมหรือพยายามเคลื่อนไหวเท่าที่พอจะทำได้ และต่อเนื่อง แม้ในรายที่ต้องใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน (Walker) การพยายามใช้แรงมือและแขนพยุงตัวให้ลุกขึ้นเดินด้วยตัวเอง เพื่อให้กล้ามเนื้อเข่า ขา และเท้าได้เคลื่อนไหว ยังเป็นการช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อในส่วนอื่นๆ ซึ่งรวมทั้งมือ แขน ไหล่ หลัง และสะโพกได้เคลื่อนไหวไปด้วย อีกทั้งช่วยลดความเสี่ยงในการหกล้มที่เป็นปัญหาของผู้สูงวัยที่เกี่ยวเนื่องกับโรคซาร์โคเพเนีย (Sarcopenia)ในผู้สูงวัยอีกด้วย

โดยไม่แนะนำให้ผู้สูงวัยกลั้นหายใจระหว่างออกแรงเคลื่อนไหว แต่ควรให้ได้ฝึก “หายใจเข้า” ด้วยจมูก และ”หายใจออก” ทางปาก สลับกันอย่างเป็นจังหวะ จะช่วยทำให้ผู้สูงวัยไม่รู้สึกวิงเวียนศีรษะระหว่างการทำกายภาพบำบัดด้วยตัวเอง อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างสมรรถภาพการทำงานของปอดให้ทำงานได้ดีขึ้นด้วย

สำหรับผู้สูงวัยในรายที่ยังสามารถยืนและเดินได้ด้วยตัวเองโดยปกติ เพียงพยายามยืนขึ้นแล้วฝึกใช้มือและแขนดันผนังในแนวตั้ง โดยใช้น้ำหนักตัวเป็นแรงกดอยู่เป็นประจำ ก็จะสามารถช่วยในการฝึกกำลังแขนได้โดยไม่ต้องซื้อหาอุปกรณ์พิเศษใดๆ มาใช้ให้สิ้นเปลือง และช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคซาร์โคเพเนีย (Sarcopenia) ได้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอธีระวัฒน์' แจง 5 ข้อ พูดเรื่องผลกระทบการวัคซีนโควิดทำไม ในเมื่อมันผ่านไปแล้ว

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ว่า

‘หมอมนูญ’ เตือนโควิดหลังสงกรานต์เปลี่ยนไป ใครมีอาการแบบนี้รีบตรวจ ATK

อาการของโรคโควิดเปลี่ยนไป ส่วนใหญ่เป็นอาการของทางเดินหายใจส่วนบน คอ จมูก มากกว่าทางเดินหายใจส่วนล่าง หลอดลม และปอด

ปลัดสธ. ลงพื้นที่ติดตามการให้ความช่วยเหลือ เหตุแอมโมเนียรั่วไหลในโรงงานน้ำแข็งชลบุรี

ที่จังหวัดชลบุรี นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นายแพทย์มณเฑียร คณาสวัสดิ์ ผู้ต