
21 ส.ค.2565-ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ไบโอเทค โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana หัวข้อ “เคสแรกของผู้ป่วยฝีดาษลิง-โควิด-HIV-1 ในอิตาลี” ระบุว่า วารสารวิชาการ Journal of Infection ได้รายงานเคสของผู้ป่วยฝีดาษลิงรายหนึ่งที่มีประวัติเดินทางกลับมาจากประเทศสเปน โดยขณะที่อยู่ที่นั่นได้มีกิจกรรมทางเพศแบบชายรักชายแบบไม่ป้องกัน 9 วันหลังเดินทางกลับเริ่มมีอาการนำ ประกอบด้วย ไข้ อ่อนเพลีย เจ็บคอ ปวดศีรษะ และ ต่อมน้ำเหลืองโต 3 วันหลังอาการนำเริ่มมีผื่นแดงขึ้นที่ผิวหนัง และ ในวันเดียวกันตรวจพบเชื้อ SARS-CoV-2 ในตัวผู้ป่วยด้วยเช่นกันด้วย ATK
หลังจากนั้น 3 วันผู้ป่วยเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลโดยในวันที่ admit ตุ่มหนองบนร่างกายบริเวณ แขน ลำตัว ฝ่ามือ นิ้ว ขา สะโพกปรากฏชัดมากและ 1 วันหลังจากนั้นผลการตรวจจากห้องปฏิบัติการที่โรงพยาบาลยืนยันว่าผู้ป่วยรายนี้มีเชื้อฝีดาษลิงสายพันธุ์ที่ระบาดในสเปน และ มีไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์ BA.5.1 และ นอกจากนั้นยังมีเชื้อ HIV-1 อยู่ในร่างกาย (234,000 copies/mL) ด้วย เนื่องจากปริมาณเม็ดเลือดขาว CD4 ของผู้ป่วยรายนี้ยังอยู่ในระดับปกติ (812 cells/μL) ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่า ผู้ป่วยรับเชื้อ HIV มาก่อนหน้านี้ไม่นาน และ ไม่รู้ตัวว่าตัวเองมีเชื้ออยู่ (ครั้งสุดท้ายที่ตรวจคือ เดือน กันยายน ปีที่แล้วและได้ผลลบ)
ผู้ป่วยอยู่โรงพยาบาล 6 วัน ผลตรวจยังพบออกมาเป็นบวกทั้งฝีดาษลิงและโควิด แต่อาการป่วยทุเลาลงมากแล้ว เหลือแต่อาการทางผิวหนังที่ยังอยู่ในช่วงกำลังจะเริ่มตกสะเก็ด หมอจึงให้ไปรักษาตัวต่อที่บ้าน หลังจากนั้น 2 วัน ผล ATK ที่ตรวจที่บ้านก็เป็นลบ แต่ตุ่มหนองยังพบได้อยู่ 8 วันหลังจากมาอยู่ที่บ้าน ตุ่มหนองแทบจะตกสะเก็ดหมดแล้ว (รูป H) คุณหมอนัดให้มาตรวจอีกครั้ง โดยตรวจจากตัวอย่างจากคอ ผลตรวจพบว่า ผู้ป่วยยังคงเป็นบวกต่อไวรัสฝีดาษลิงอยู่ แต่ยังไม่มีข้อมูลว่าตัวอย่างที่ตรวจสามารถนำไปเพาะเชื้อต่อขึ้นหรือไม่ รวมเวลาที่นับจากวันที่กลับจากสเปนถึงวันที่ที่ตรวจครั้งสุดท้ายคือ 29 วัน
ผู้ป่วยรายนี้มีประวัติฉีดวัคซีน Pfizer 2 เข็ม ตั้งแต่เมื่อปลายปีที่แล้ว พอต้นปีเขาติดโควิดซึ่งน่าจะเป็นสายพันธุ์ BA.1 การติดครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 ด้วยสายพันธุ์ BA.5.1 ซึ่งอาจจะหนีภูมิจาก BA.1 ได้ดี และ ภูมิได้รับมามากกว่า 6 เดือนแล้ว จากรายงานที่พบ ATK เป็นบวกในเวลาใกล้ๆกับที่มีผื่นขึ้น อนุมานได้ว่าผู้ป่วยรายนี้น่าจะได้รับเชื้อฝีดาษลิงมาก่อน และ ได้รับเชื้อ SARS-CoV-2 มาในช่วงระยะฟักตัวของฝีดาษลิง เนื่องจาก โควิดมีระยะฟักตัวที่สั้นกว่า อาการนำอะไรต่างๆจึงเกิดขึ้นมาพร้อมๆกัน จนแยกไม่ออกว่าอาการที่เห็นมาเป็นผลมาจากเชื้อไหนกันแน่
สำหรับผู้ที่อาจสงสัยว่าโควิดกับฝีดาษลิงจะผสมกันเป็นไวรัสตัวใหม่ได้หรือไม่ ต้องตอบว่า เป็นไปไม่ได้แน่นอนครับ โควิดเป็นไวรัสที่มี RNA เป็นสารพันธุกรรม แต่ ฝีดาษลิงเป็น DNA ดังนั้นไวรัสสองชนิดนี้คุยกันไม่รู้เรื่องครับ


ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'นพ.ธีระ' ชี้โควิดระลอกใหม่ๆ เด็กโตติดมากกว่าเด็กเล็ก!
หมอธีระเผยผลวิจัยโควิดเด็กทั่วโลก ชี้อัตราติดเชื้อกระโดดสูงโดยเฉพาะในระลอกใหม่ เด็กโตติดมากกว่าเด็กเล็ก วัคซีน mRNA ฉีดในเด็กอายุ 5-11 ปีให้ผลดี
WHOเปิดตัวเลขสังเวยโควิด 2 เดือนดับแล้ว 1.7 แสนรายทั่วโลก!
หมอธีระยกตัวเลขเสียชีวิตโควิดจาก WHO ชี้ 2 เดือนที่ผ่านมาสังเวยแล้ว 170,000 คน เฉลี่ย 10,000-30,000 รายถือว่ายังน่าวิตก พร้อมแนะแนวทางตรวจการติดเชื้อด้วยตนเองล่าสุด
'ศ.นพ.ยง' ย้ำไทยจะไม่กลับมาปิดบ้านปิดเมืองอีกแล้ว
'หมอยง' เตรียมบรรยายออนไลน์เรื่องโควิด 19 ในปี 2023 และชีวิตปกติใหม่ ย้ำเราจะไม่ย้อนกลับมาปิดบ้านปิดเมืองอีกแล้ว
โควิดรายวันทั่วโลก ติดเชื้อเพิ่ม 1.6 แสนคน เสียชีวิต 678 คน
ทั่วโลกติดเพิ่ม 160,451 คน ตายเพิ่ม 678 คน รวมแล้วติดไป 672,993,312 คน เสียชีวิตรวม 6,743,006 คน 5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน รัสเซีย และสหรัฐอเมริกา
'นักไวรัสวิทยา' กระทุ้งถึงเวลาทบทวนวัคซีนป้องกันโควิด-19 ตัวใหม่
'ดร.อนันต์'ชี้ไวรัสโควิดเปลี่ยนไวมาก โดยไปในทิศทางที่หนีภูมิจากวัคซีนเดิมไปเรื่อยๆ เผยอาจถึงเวลาต้องทบทวนการกระตุ้นด้วยวัคซีนตัวใหม่แบบจริงจังแล้ว
อัปเดตวัคซีน Bivalent ผลกระตุ้นภูมิดีกว่ารุ่นเก่า
'นพ.ธีระ' อัปเดตวัคซีน Bivalent ชี้มีงานวิจัยแล้วกว่า 10 ชิ้น ชัดเจนว่ากระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์ BA.5 ได้ดีกว่าวัคซีนรุ่นเก่า โดยเฉพาะสายพันธุ์ย่อยใหม่ที่น่ากังวลอย่าง XBB