
3 ก.พ. 2566 – ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โควิด 19 การระบาดจะเป็นแบบเข้าสู่ฤดูกาล ต่อไปจะฉีดวัคซีนปีละ 1 ครั้ง
แนวโน้มการระบาดของโรค ในประเทศไทยจะเข้าสู่ตามฤดูกาล การระบาดจะเริ่มลดน้อยลงไปเรื่อยๆ และน้อยมากหลังกลางเดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นไป จนถึงเดือนพฤษภาคม และจะมีการระบาดเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงกลางกันยายน แต่ก็จะน้อยกว่าปีที่ผ่านมา เพราะประชากรส่วนใหญ่เคยติดเชื้อมาแล้ว ร่วมกับการได้รับวัคซีนไปเป็นจำนวนมาก
วัคซีนที่จะนำมาฉีด จะให้ปีละ 1 ครั้ง วัคซีนทุกชนิดจะไม่แตกต่างกัน เช่นไข้หวัดใหญ่ที่เราฉีดปีละ 1 ครั้ง เราก็ฉีดเชื้อตาย และกระตุ้นภูมิไม่สูงมาก มีความปลอดภัยสูง
ทำนองเดียวกันโรคโควิด 19 เมื่อเข้าสู่โรคประจำฤดูกาลแล้ว เราก็จะให้วัคซีนปีละ 1 ครั้ง ด้วยวัคซีนชนิดอะไรก็ได้ เหมือนเอาทหารกองหนุนมาฝึกซ้อมใหม่ เพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกัน เราจะไม่มีการฉีดวัคซีนกันทุก 4 เดือนแล้ว ได้มามากแล้ว
ภูมิต้านทานที่เกิดขึ้น ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ เช่นเดียวกับไข้หวัดใหญ่ เพราะโรคมีระยะฟักตัวสั้น เพียงแต่ลดความรุนแรงของโรค วัคซีนแต่ละชนิดมีประสิทธิภาพไม่แตกต่างกัน จะเหลือให้ปีละ 1 ครั้ง
ต่อไปคงให้เฉพาะในกลุ่มเสี่ยง 608 เช่นเดียวกับการให้ในไข้หวัดใหญ่.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ไทยติดโควิดใหม่รอบสัปดาห์ 150 ราย ดับ 6 คน
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 19 – 25 มี.ค. 2566 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) 150 ราย
'หมอยง' ชี้ ATK ไม่จำเป็นต้องตรวจในคนปกติ
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า
'หมอยง' ชี้หลักวิวัฒนาการทำความรุนแรงโควิด19 ลดลงแต่ มิ.ย.นี้กลับมาแน่!
'หมอยง' ตอกย้ำโควิด-19 ไม่มีการกลายพันธุ์ใหม่ๆ ซ้ำความรุนแรงก็ลดลงตามหลักวิวัฒนาการ แต่เชื่อเดือน มิ.ย.จะกลับมาพบผู้ป่วยมากอีกครั้งหนึ่ง
ไทยติดโควิดใหม่รอบสัปดาห์ 122 ราย ดับ 6 คน
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 5 – 11 มี.ค. 2566
ผลวิจัยพบ 'โควิด' ส่งผลกระทบสมองและความจำ
รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว "Thira Woratanarat" เปิดเผยว่า เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 64,067 คน ตายเพิ่ม 294 คน รวมแล้วติดไป 681,473,367 คน เสียชีวิตรวม 6,811,653 คน
จับตา! ไข้หวัดใหญ่ H3N2 สายพันธุ์อินเดีย
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ทำไมเมื่อจำนวนผู้ป่วยโควิด-19 ในอินเดียลดลง จำนวนผู้ป่วยไวรัสไข้หวัดใหญ่ “H3N2”