'หมอยง' แจงยิบ อาการติดเชื้อโรค 'ฝีดาษวานร'

23 ส.ค. 2567 – ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ฝีดาษวานร MPOX ลักษณะอาการของโรค

ฝีดาษวานร เมื่อได้รับเชื้อแล้วจะมีระยะฟักตัวประมาณ 5 – 14 วัน (ช้ากว่าโควิด 19) โดยจะเริ่มอาการไข้ เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามตัว เหมือนไข้ในโรคไวรัสทั่วๆ ไป หลังจากมีไข้แล้วประมาณ 1 – 2 วัน ก็จะมีตุ่มขึ้น โดยที่ตุ่มที่ขึ้น จะมากหรือน้อย แล้วแต่บุคคล หรือภูมิต้านทานของโรค

ผู้ป่วยจำนวนมากจะมีตุ่มขึ้นบริเวณอวัยวะเพศ รอบก้น ในเด็ก จะขึ้นได้ทั่วไป บริเวณไหนก็ได้ ลักษณะของตุ่มที่ขึ้นจะแตกต่างกับสุกใส คือในฝีดาษวานร ตุ่มเกือบทั้งหมดจะมีระยะเดียวกัน และจะสุกพร้อมกัน ซึ่งต่างกับสุกใส ตุ่มจะมีหลายระยะ บางตุ่มใสแล้ว บางตุ่มเพิ่งขึ้นแดงๆ ตุ่มของฝีดาษจะขึ้นที่มือและเท้า ที่ฝ่ามือฝ่าเท้า มากกว่าลำตัวซึ่งต่างกับสุกใส จะขึ้นที่ลำตัวมากกว่า

เมื่อตุ่มที่ใสในฝีดาษวานร จะบุ๋มตรงกลาง หรือที่เรียกว่า umbilicated lesion ส่วนสุกใสจะมีลักษณะใส ชัดเจน ผู้ที่มีผื่นตามตัวหรือแพ้ง่าย ผื่นจะมีโอกาสขึ้นได้มาก และสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ การใช้มือไปแกะเกา แล้วมาขยี้ตา ก็อาจจะเกิดรอยโรคขึ้นที่ตา และเยื่อบุนัยน์ตา

ต่อมาก็จะตกสะเก็ด ตุ่มที่เกิดขึ้นรวมทั้งสะเก็ด มีเชื้อไวรัสจำนวนมาก สามารถติดต่อได้ ลักษณะอาการกว่าจะหายหมดใช้เวลาประมาณ 2 – 4 สัปดาห์ จนมั่นใจว่าตุ่มทุกตุ่มหายไป และไม่มีสะเก็ดหลงเหลืออยู่

ผู้สัมผัสโรค จะต้องเฝ้าสังเกตอาการอย่างน้อย 21 วัน ถ้าไม่มีอาการก็ไม่น่าจะติดโรค.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดพิกัดเที่ยวพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืนในจุฬาฯ

ปีนี้งาน Night Museum at Chula เที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดภายใต้แนวคิด “เสน่ห์ Science”  ชูเสน่ห์ของวิทยาศาสตร์ที่อยู่ในธรรมชาติรอบตัวเรา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันและเป็นแรงขับเคลื่อนทุกย่างก้าวของคนในปัจจุบัน 

'ภูมิธรรม' แจงเหตุเมียนมายังไม่ปล่อยตัว 4 คนไทย ยันทำทุกวิถีทางแล้ว

'ภูมิธรรม' แจง 4 คนไทยยังกลับไม่ได้ เหตุรอรัฐบาลเมียนมาตัดสินใจ ยํ้าทำทุกวิถีทางแล้ว หากเกิดในประเทศไทยต้องทำเช่นกัน ปัดโยงการเมือง

'หมอยง' ชี้สถานการณ์โควิดเปลี่ยนตามกาลเวลา ปีนี้ยุติแล้ว แต่ไวรัสยังอยู่ต่อไป

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า 5 ปี โควิด 19 กาลเวลาเปลี่ยน สถานการณ์เปลี่ยน

ย้อนดู 5 ปี 'โควิด 19' ความสับสนของข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬา โพสต์เฟซบุ๊กว่า

‘หมอยง’ สะท้อนความรู้สึกโควิด-19 ปีที่ 2 'ยุ่งเหยิง-ดราม่าวัคซีน-เซียนคีย์บอร์ด'

หลังการระบาดใหญ่ทั่วโลก ในปีแรก ทุกคนมุ่งหวัง ที่จะยุติการระบาดด้วยวัคซีน จึงมีการผลิตคิดค้นวัคซีนกันมากมาย มากกว่า 10 platform