'เชาว์' จี้สรรพสามิตเร่งเคลียร์สังคมปมล่อซื้อน้ำส้ม ไม่ใช่แค่ย้าย 5 จนท.เท่านั้น


เพิ่มเพื่อน    

17 มิ.ย.64 - นายเชาว์ มีขวด อดีตรองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ Facebook Chao Meekhuad เรื่อง กรณี น้ำส้มสรรพสามิต “การล่อซื้อ”คือวิธีผิดกฎหมาย มีเนื้อหาระบุว่า จากกรณีผู้ใช้เฟซบุ๊ครายหนึ่ง ระบุว่ามีเจ้าหน้าที่สรรพสามิต เข้าทำการจับกุมผู้ขายน้ำส้ม จำนวน 500 ขวด และมีการเรียกค่าปรับเป็นเงินจำนวน 12,000 บาท จนกลายเป็นดราม่าร้อนในโลกออนไลน์นั้น ในความเห็นของผม คิดว่ามีสามประเด็น ที่สังคมควรเรียนรู้จากเรื่องนี้

1. การผลิตเครื่องดื่มผลไม้ แค่ไหนถึงเข้าข่ายต้องเสียภาษีสรรพสามิต เรื่องนี้มีพ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต 2560 เป็นตัวกำกับ โดยในกฎหมายฉบับนี้ให้คำนิยามคำว่า “โรงอุตสาหกรรม” ไว้อย่างกว้าง ๆ ว่า หมายถึง สถานที่ที่ใช้ในการผลิตสินค้า รวมตลอดทั้งบริเวณแห่งสถานที่นั้น” ไม่ได้ระบุกำลังผลิตว่าต้องเป็นจำนวนเท่าไหร่ จึงจะเรียกว่าเป็นโรงอุตสาหกรรม ส่วนคำว่าผู้ประกอบอุตสาหกรรม ก็คือเจ้าของโรงอุตสาหกรรมนั้น การกำหนดขอบเขตคำนิยามกว้างเช่นนี้ เสี่ยงต่อแสวงหาประโยชน์ของเจ้าหน้าที่นอกแถวได้โดยง่าย อีกทั้งต้องเข้าใจสภาพสังคมในปัจจุบัน ที่มีอุตสาหกรรมครัวเรือนเกิดขึ้นมากในยุคโควิด-19 แพร่ระบาด คนตกงานต้องดิ้นรนทำกิน ด้วยการทำมาค้าขายเล็ก ๆ น้อย รับคำสั่งซื้อผ่านโลกออนไลน์ อาจมีอุปกรณ์สำหรับการผลิต เช่น เครื่องบรรจุขวด ราคาแค่หลักพัน แต่ถูกนับเป็นเครื่องจักรสำหรับการผลิต ก็ไม่น่าจะถูกต้อง 

2. กรณีที่เกิดขึ้นเป็นการล่อสั่งให้ผลิตน้ำส้มจำนวน 500 ขวด หลังจากเจ้าของร้านผลิตแล้วจึงเข้าไปจับกุมรวบรวมหลักฐานอ้างว่ามีเครื่องจักรสำหรับการผลิต และขายส่งในปริมาณมากทุกวัน ซึ่งในวันนั้นถ้าไม่มีคำสั่งซื้อน้ำส้ม 500 ขวด ก็คงไม่มีการผลิตจำนวนมากขนาดนั้น เรื่องการล่อซื้อ มีคำพิพากษาศาลฎีกา ได้วางแนวเป็นบรรทัดฐานไว้ว่า การล่อซื้อคือการก่อให้ผู้อื่นกระทำผิดผู้ล่อซื้อย่อมไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยที่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้ เช่น คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4301/2553 คดีเกี่ยวกับลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ มีเนื้อหาโดยย่อว่า 

“การทำซ้ำบันทึกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโจทก์ลงในแผ่นบันทึกข้อมูลถาวรของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ ส. ล่อซื้อนั้นเป็นการทำซ้ำอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์หลังจากวันที่ ส. ไปล่อซื้อแล้วเพื่อมอบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำซ้ำให้แก่ ส. มิใช่ทำซ้ำโดยผู้กระทำมีเจตนากระทำผิดอยู่แล้วก่อนการล่อซื้อ น่าเชื่อว่าการกระทำผิดดังกล่าวเกิดขึ้นเนื่องจากการล่อซื้อของ ส. ซึ่งได้รับจ้างให้ล่อซื้อจากโจทก์ เท่ากับโจทก์เป็นผู้ก่อให้ผู้อื่นกระทำผิดโจทก์ย่อมไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยที่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้” พูดง่ายๆคือคนล่อซื้อก็คือคนที่ร่วมกระทำผิดนั่นเอง จึงไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะฟ้องคดีได้ 

3. ในมุมทางสังคม ผมคิดว่าการล่อซื้อเช่นนี้ เป็นพฤติกรรมที่ใจดำโหดร้ายเกินไป ทุกชีวิตยากลำบากอยู่แล้วกับปัญหาโรคระบาด ทำมาหากินก็ยากเย็นแสนเข็ญ ยังต้องมาเจอเรื่องแบบนี้ ทำให้อดสงสัยไม่ได้ว่า กรมสรรพสามิต มีนโยบายสั่งการให้เจ้าหน้าที่รีดภาษีกับผู้ประกอบการรายเล็กรายน้อยแบบนี้ เพราะการจัดเก็บรายได้ไม่ตรงเป้าหรือไม่ 

“กรณีที่เกิดขึ้น กรมสรรพสามิตต้องให้ข้อมูลต่อสาธารณะ ไม่ใช่แค่การย้าย 5 เจ้าหน้าที่ออกนอกพื้นที่ แต่ควรบอกหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนว่า ผลิตเครื่องดื่มผลไม้ขนาดไหน จึงถือว่าเข้าข่ายต้องเสียภาษีสรรพสามิต แนวทางการล่อซื้อที่เจ้าหน้าที่ทำ มีกฎหมายอะไรมารองรับ จะกำชับเจ้าหน้าที่ของกรมฯไม่ให้เกิดเหตุรีดเลือดกับปู จนเดือดร้อนไปทุกหย่อมหญ้าอย่างไร ผมเข้าใจดีว่าทุกคนต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย แต่การบังคับใช้กฎหมายต้องอยู่บนหลักนิติธรรม เพราะตัวอักษรบนหน้ากระดาษ ไม่สามารถให้ความเป็นธรรมได้ หากผู้ใช้กฎหมายไม่มีธรรมในใจ”นายเชาว์ ระบุ


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"