ชื่นชมกษัตริย์ภูฏานเสด็จพื้นที่ห่างไกลเพื่อคุมมาตรการสกัดโควิด


เพิ่มเพื่อน    

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ตลอดเวลากว่า 1 ปีที่ผ่านมา ที่เสด็จบุกป่าฝ่าภูเขาสูงไปทรงตรวจเยี่ยมเจ้าหน้าที่และพสกนิกร เพื่อทรงกำกับดูแลมาตรการควบคุมโควิด-19 ซึ่งส่งผลให้ภูฏานมีผู้เสียชีวิตเพราะโรคระบาดนี้เพียงคนเดียว

แฟ้มภาพ สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก แห่งภูฏาน ระหว่างพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2551 (Photo by Paula Bronstein/Getty Images)

    รอยเตอร์รายงานถึงพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ซึ่งพระชนมพรรษา 41 พรรษา ตลอดช่วงเวลา 14 เดือนที่ผ่านมา โดยอ้างจากคำกล่าวของนายกรัฐมนตรีโลเท เชอริง, ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำภูฏาน และภาพที่เผยแพร่ทางโซเชียลมีเดียของกษัตริย์หนุ่มแห่งภูฏานแห่งนี้

    ภาพที่ปรากฏทางอินสตาแกรมอย่างเป็นทางการของพระองค์ มีทั้งพระบรมฉายาลักษณ์ขณะเสด็จตรวจเยี่ยมเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ใกล้ชายแดนอินเดีย ที่คลื่นการระบาดของโควิด-19 ลูกที่ 2 เมื่อกว่า 2 เดือนที่ผ่านมาทำให้จำนวนผู้เสียชีวิตในอินเดียเพิ่มขึ้นเกิน 2 เท่า รวมถึงภาพที่ทรงสะพายเป้สวมชุดประจำชาติของภูฏานเดินผ่านป่าที่เต็มไปด้วยทากและงู

ภาพจาก Instagram / kingjigmekhesar

    รายงานรอยเตอร์เมื่อวันศุกร์อ้างคำกล่าวของนายกฯ เชอริง ซึ่งเป็นแพทย์ด้วย ว่าเมื่อกษัตริย์เสด็จพระราชดำเนินเป็นระยะทางหลายไมล์แล้วไปเคาะประตู เพื่อเตือนประชาชนเกี่ยวกับโรคระบาดนี้ พระราชดำรัสที่อ่อนน้อมของพระองค์ได้รับความเคารพและเชื่อฟังอย่างจริงจังมาก การเสด็จมาเองของพระองค์ทรงพลังยิ่งกว่าการออกคำแนะนำต่อประชาชน การปรากฏพระองค์ทำให้พสกนิกรมั่นใจว่า พวกเขาไม่ได้ต่อสู้กับโรคระบาดนี้เพียงลำพัง

    ภูฏานเปลี่ยนจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญเมื่อปี 2551 แต่สถาบันกษัตริย์ยังคงเป็นที่รักและเคารพในหมู่พสกนิกร

    รายงานกล่าวด้วยว่า ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา กษัตริย์จิกมีทรงพระดำเนินนาน 5 วันผ่านเส้นทางบนพื้นที่สูง 4,343 เมตร เพื่อขอบคุณเจ้าหน้าที่สาธารณสุขมูลฐานในพื้นที่ห่างไกล

ภาพจาก Instagram / kingjigmekhesar

    สำนักพระราชวังภูฏานปฏิเสธคำขอสัมภาษณ์ของรอยเตอร์ โดยเจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังผู้หนึ่งกล่าวว่า ความหวาดกลัวมากที่สุดของพระองค์คือ หากโรคระบาดนี้ลุกลามเหมือนไฟป่า ประเทศของเราอาจหมดสิ้นไป

    ประเทศเล็กๆ บนเทือกเขาหิมาลัยที่มีชายแดนติดกับอินเดียและจีนแห่งนี้ มีประชากร 700,000 คน และมีสัดส่วนแพทย์เพียง 1 คนต่อประชากร 2,000 คน

    กษัตริย์มีพระราชโอรสที่ยังทรงพระเยาว์ 2 พระองค์ การเดินทางไปยังพื้นที่ห่างไกลและเสี่ยงต่อโรคระบาดทำให้ทุกครั้งที่เสด็จกลับถึงกรุงทิมพู พระองค์ต้องประทับอยู่ภายในโรงแรมตามกฎระเบียบการกักกันโรค กษัตริย์จิกมีทรงได้รับการถวายฉีดวัคซีนเพียงโดสเดียว เหมือนกับพสกนิกรส่วนใหญ่

    รุย เปาโล เด เฮซุส ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำภูฏาน กล่าวว่า กษัตริย์จิกมีเสด็จไปยังพื้นที่ชายแดนที่มีความเสี่ยงสูงทุกแห่งครั้งแล้วครั้งเล่า เพื่อติดตามมาตรการทุกอย่างที่วางไว้ และเพื่อให้แน่ใจว่ามีการปฏิบัติอย่างดีที่สุดภายใต้ทรัพยากรที่มีจำกัด

    ถึงขณะนี้ภูฏานมีผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 แล้ว 2,013 คน เสียชีวิต 1 คน แต่ภูฏานกำลังประสบปัญหาขาดแคลนวัคซีน นายกฯ เชอริงกล่าวว่า รัฐบาลกำลังพิจารณาฉีดวัคซีนแบบผสม เพราะหลังจากประชากรได้ฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าโดสแรกแล้ว 90% วัคซีนก็หมดลง

    เส้นตายของการฉีดวัคซีนโดสที่ 2 โดยทิ้งช่วงไม่เกิน 12 สัปดาห์นั้นจะครบในเดือนมิถุนายนนี้แล้ว และรัฐบาลกำลังพยายามจัดหาวัคซีนจากแหล่งอื่นๆ มาเพิ่ม.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"