เฟ้นนักออกแบบแฟชั่นผ้าไทย หนุนภูมิปัญญาสู่สากล


เพิ่มเพื่อน    

 

 

     ทุกภูมิภาคของไทยมีภูมิปัญญาการรังสรรค์ถักทอผืนผ้า โดยดึงอัตลักษณ์ศิลปะชุมชน   เกิดช่างฝีมือท้องถิ่นสืบทอดจากรุ่นสุ่รุ่น  ตลอดจนเปิดโอกาสให้กับนักออกแบบหน้าใหม่ร่วมพัฒนาต่อยอดแฟชั่นผ้าไทย  กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม และศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ชวนประกวดออกแบบลายผ้าไทยสู่สากล เพื่อต่อยอดและพัฒนา Cultural Textile Awards 2021) ภายใต้โครงการพัฒนามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมผ้าไทยสู่สากล ประจำปี 2564  ซึ่งถือเป็นการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการผ้าทอพื้นถิ่นของไทย และนักออกแบบลายผ้าไทยรุ่นใหม่ ให้มีโอกาสนำเสนอความคิดสร้างสรรค์จากผ้าไทย ภายใต้แนวคิดหลัก “สังคมสรรค์สร้าง Social Creation” ซึ่งเป็นองค์ความรู้จากหนังสือแนวโน้มและทิศทางผ้าไทย และการออกแบบเครื่องแต่งกายด้วยผ้าไทย (Thai Texiles Trend Book Spring/Summer 2022)

     ความคืบหน้าขณะนี้มีนักออกแบบสนใจส่งผลงานเข้าประชันจำนวนมาก  รวมถึงชาย นครชัย อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.)  ลงพื้นที่ร่วมประชุมหารือกับเครือข่ายผ้าไทย ผู้ประกอบการ และตัวแทนจากสถาบันการศึกษาเกี่ยวกับกิจกรรมการประกวดนี้ที่จังหวัดเชียงใหม่  ภายในงานเชิญผู้ทรงคุณวุฒิในแวดวงแฟชั่นและผ้าไทยอย่าง ศิริชัย ทหรานนท์ ดีไซเนอร์มากฝีมือแห่งแบรนด์ THEATRE (เธียเตอร์), วิชระวิชญ์ อัครสันติสุข เจ้าของแบรนด์ WISHARAWISH (วิชระวิชญ์) หนึ่งในดีไซเนอร์ไทยที่สร้างชื่อเสียงในเวทีแฟชั่นระดับสากล พร้อมด้วย สธน ตันตราภรณ์ ที่ปรึกษาด้านภาพลักษณ์และผู้เชี่ยวชาญด้านแฟชั่น ,  ธนันท์รัฐ ธนเสฏฐการย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าไทย เจ้าของแบรนด์ Jo's Bag (โจแบ็ค) และ เปรมฤดี กุลสุ เจ้าของคอตตอนฟาร์ม ผู้เชี่ยวชาญเรื่องฝ้ายและการใช้สีในท้องถิ่น ซึ่งต่างมีผลงานพัฒนาผ้าไทยสากลจนเป็นที่ยอมรับผ่านแบรนด์ที่มีชื่อเสียง ทุกคนร่วมจุดประกายรสร้างแรงบันดาลใจและแนะเทคนิคสร้างสรรค์แฟชั่นจากผ้าไทยที่ดูทันสมัย   ถือได้ว่าเป็นประโยชน์ในการออกแบบ    

      ชาย นครชัย  กล่าวว่า การประกวดนี้เปิดโอกาสให้นักออกแบบรุ่นใหม่และผู้ประกอบการได้สร้างสรรค์พัฒนาผ้าไทยให้ได้รับความนิยมในระดับสากล ส่งเสริมการต่อยอดผลิตภัณฑ์จากผ้าไทยและเครื่องนุ่งห่มให้เป็นที่นิยมของทุกเพศ ทุกวัย ทุกโอกาส  สร้างรายได้กลับสู่ท้องถิ่น โดยการประกวดแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ผ้าไหม ผ้าฝ้าย และสิ่งทอสร้างสรรค์  ผลงานแสดงถึงความคิดสร้างสรรค์ในการถ่ายทอดแรงบันดาลใจ จนได้ผ้าไทยที่เปี่ยมไปด้วยเอกลักษณ์ ภายใต้การนำเอามรดกทางภูมิปัญญาในท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้  อาทิ งานหัตถกรรม งานช่างฝีมือ ฯลฯ

      “ นักออกแบบสามารถเลือกใช้วัสดุธรรมชาติและสีย้อมธรรมชาติจากท้องถิ่น หรือผสมผสานวัสดุเส้นใยนวัตกรรม รวมถึงเทคนิคต่างๆ ซึ่งคณะกรรมการกำหนดให้มีการใช้วัสดุและการย้อมสีธรรมชาติ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50  ผลงานออกแบบของผู้ได้รับการคัดเลือกจะได้รับการสนับสนุน พัฒนาต่อยอดเผยแพร่ให้กว้างขวาง  เป็นส่วนหนึ่งรณรงค์ให้คนไทยใช้ผ้าไทย  อีกทั้งจะผลักดันนักออกแบบสู่วงการแฟชั่นระดับประเทศต่อไป “ ชาย กล่าว

 

      ด้าน สธน ตันตราภรณ์ ผู้เชี่ยวชาญแฟชั่น  เผยทิศทางผ้าไทยผ่าน 6 เทรนด์จากหนังสือแนวโน้มและทิศทางผ้าไทย และการออกแบบเครื่องแต่งกายด้วยผ้าไทย ว่า เป็นนิมิตหมายที่ดีที่ประเทศไทยกำลังเริ่มมีเทรนด์เป็นของตัวเอง ซึ่งเกิดจากวิธีการคิดของคนไทยเอง ทั้งการคิดสี การคิดผ้า การใช้ชีวิต กล่อมเกลาจนกลายเป็นเทรนด์ สำหรับปี 2022  โดยเทรนด์แฟชั่นที่เกิดขึ้นในแต่ละฤดูกาลล้วนมีเหตุผลและที่มาเสมอ  อย่างช่วงเศรษฐกิจไม่ดี คนจะใช้สีขาวและสีดำ เพราะซื้อของที่ใช้แล้วอยู่ได้นาน เมื่อเศรษฐกิจดีขึ้นเสื้อผ้าที่มีสีสันจะขายดีมากขึ้น เพราะผู้คนเริ่มสนุกสนาน  ฉะนั้น  6 เทรนด์หลักประจำฤดูใบไม้ผลิ/ฤดูร้อน 2022 ประกอบด้วยมหัศจรรย์แห่งคุณค่า (The Wonder of Value Dusit Legacy), ความสง่างามครบมิติ( Holistic Elegance), สังคมสรรค์สร้าง (Social Creation), ความฝันแห่งวันวาน (Nostalgic Dream), ตัวแทนแห่งคลื่นลูกใหม่ (New Wave Ego) และเปลี่ยนเพื่อสิ่งที่ดีกว่า (Change for Redemption)  วัสดุธรรมชาติที่สำคัญคือภูมิปัญญาชาวบ้าน เพราะสีธรรมชาติกับวัสดุธรรมชาติมีมากขึ้น  ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องพยายามผลักดันเรื่องนี้ในอุตสาหกรรมมากขึ้น

        ผ้าฝ้ายที่ทอขึ้นจนมีเอกลักษณ์และลวดลายที่ถูกสร้างสรรค์ปรับให้เข้ากับยุคสมัย   ศิริชัย ทหรานนท์ ดีไซเนอร์มากฝีมือ  กล่าวว่า ผ้าฝ้ายมีเรื่องราวมากมาย ทั้งเรื่องของเนื้อผ้า ลายผ้า และสี    ซึ่งขึ้นอยู่กับฤดูกาลหรืออาจจะเป็นช่วงเวลา อย่างเช้า บ่าย เย็น ทุกสีสามารถใช้ได้หมด เพียงแต่เราจะมองในเรื่องผิวพรรณของผู้สวมใส่มากกว่า เช่น คนผิวขาวควรจะใส่สีอะไร ในเวลาไหน

     “ ผ้าฝ้ายไทยที่ย้อมมือมีเสน่ห์ มีความหลากหลาย มีทุกภูมิภาคในประเทศไทย อีกทั้งผ้าสามารถเพิ่มมูลค่าได้ในเรื่องราวที่กว่าจะมาเป็นผ้าสีต่างๆ มีการผสมอย่างไร คนทำผ้ามีเรื่องราวตั้งแต่ทำผ้า ย้อมผ้าของตัวเอง ส่วนคนที่ซื้อไปตัดเย็บต่อก็มีเรื่องราวของตัวเองได้อีก เด็กรุ่นใหม่ควรสร้างสรรค์ผลงานประกวดโดยไม่ลืมเอกลักษณ์และภูมิปัญญาดั้งเดิม “ ศิริชัย แนะ

                เวทีนี้เป็นโอกาสผู้รักการออกแบบ เปรมฤดี กุลสุ กล่าวว่า ผ้าพื้นเมืองไม่ว่าจะภาคไหนมีเสน่ห์ในตัวเอง  นักออกแบบในพื้นที่อาจจะยังไม่มีเวทีที่จะนำเสนอผลงานของตนเอง การออกแบบสามารถนำความดั้งเดิมกับความร่วมสมัยผสมผสานไปด้วยกัน  คนรุ่นใหม่มีมุมมองเรื่องหัตถกรรมและสามารถนำมาสร้างสรรค์เป็นผลงานได้  ส่วนการย้อมสีธรรมชาติเป็นการย้อมเชิงวิทยาศาสตร์ เทคนิคเดียวกัน แต่ผลที่ได้ออกมาจะไม่เหมือนกัน เวทีนี้หวังคนรุ่นใหม่ คนรุ่นเก่า ผู้ประกอบการจะมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ อยากสืบสาน ต่อยอด และส่งต่อภูมิปัญญาไทยสู่สากล

                ผู้สนใจสามารถส่งผลงานเข้าประกวดโดยไม่จำกัดจำนวน เพื่อชิงเงินรางวัลรวม 450,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร  ทั้งนี้ สามารถศึกษารายละเอียดการสมัคร หลักเกณฑ์การประกวด การส่งผลงาน ได้ทาง https://me-qr.com/data/pdf/149341.pdf  หรือ www.culture.go.th และสอบถามได้ที่กลุ่มเผยแพร่และต่อยอดมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม กองมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม กรมส่งเสริมวัฒนธรรม โทร. 02-2470013 ต่อ 4305 และ 4319 - 4321 ในวันและเวลาราชการ ส่งผลงานได้ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 7 ก.ค. 2564


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"