ขยายศักยภาพ’พิพิธภัณฑ์ไชยา’ แสวงหาความรู้ใหม่ทั่วสุราษฎร์ฯ


เพิ่มเพื่อน    

 

 

 

      พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เปิดตัวแบบทัศนียภาพอาคารจัดแสดงหลังใหม่ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา ซึ่งสถาปนิกมากฝีมือกรมศิลปากรได้รับแรงบันดาลใจจากสถาปัตยกรรมอุโบสถวัดจำปา โบราณสถานสำคัญของเมืองไชยา เปลี่ยนความรู้สึกแบบเก่าให้กลายเป็นความร่วมสมัยในการเรียนรู้ เหมาะสำหรับการเป็นแหล่งเรียนรู้จุดประกายให้คนสนใจประวัติศาสตร์โบราณคดี

        โครงการปรับปรุงและพัฒนาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยาครั้งใหญ่นี้ เกิดขึ้น เนื่องในวาระครบ 40 ปี ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ครั้งทรงดำรงพระอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา เมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ.2525  ซึ่งจะครบ 40 ปี ในปี 2565

 

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา  พิพิธภัณฑ์เก่าแก่คู่จังหวัดสุราษฎร์ธานี

 

      พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา ตั้งอยู่ติดวัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร ปกติถ้าไม่เกิดวิกฤตโควิดจะมีนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างประเทศพลุกพล่านเข้าชมไม่ขาด   ถือเป็นพิพิธภัณฑ์เก่าแก่คู่จังหวัด ก่อตั้งมากว่า 86 ปี  โดยพระครูโสภณเจตสิการาม อดีตเจ้าคณะอำเภอไชยา รวบรวมศิลปโบราณวัตถุมาเก็บรักษาไว้ในพระอุโบสถ พระวิหารหลวง และพระระเบียง ของวัดพระบรมธาตุไชยาฯ ต่อมากรมศิลปากรได้พิจารณารับเป็นสาขาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรียกชื่อว่า พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานีจัดเป็นพิพิธภัณฑ์ขนาดย่อม   

        การพัฒนาครั้งสำคัญเกิดขึ้น  พ.ศ. 2493  ท่านพระครูอินทปัญญาจารย์ หรือ ท่านพุทธทาสภิกขุ  เจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุไชยา จัดสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์แบบไทยประยุกต์ขึ้น ต่อมา พ.ศ.2499  กรมศิลปากรสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์เพิ่มอีกหลัง ประกอบกับพระวิหารหลวงของวัดพระบรมธาตุฯ  ทรุดโทรม วัดจะรื้อสร้างใหม่ จึงย้ายโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุทั้งหมดจากวิหารหลวงนำไปเก็บและตั้งแสดงในอาคารพิพิธภัณฑ์ใหม่นี้ โดยท่านพุทธทาสได้รับความช่วยเหลือดำเนินการจาก มจ.สุภัทรดิศ ดิศกุล  ซึ่งคือ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยาปัจจุบัน ในวาระสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี พ.ศ.2525  ใหลวง รัชกาลที่ 9  โปรดเกล้าฯ ให้พระบาทสมเด็จเจ้าอยู่หัว  เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ แทนพระองค์ ทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา วันที่ 4 ก.ย. 2525   

 

แบบทัศนียภาพอาคารหลังใหม่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา 

 

       การปรับโฉมใหม่ ศก.มอบหมายให้สำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช ศึกษา จัดทำโครงการปรับปรุงพัฒนาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา ระยะเวลา 3  ปี (ระหว่างปีงบประมาณ 2564-2566) งบฯ   80  ล้านบาท ล่าสุด  ประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการตรวจรับพัสดุโครงการปรับปรุงและพัฒนาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา และให้คำแนะนำการปรับปรุงพิพิธภัณฑสถาน

         ประทีป เพ็งตะโก กล่าวว่า  นับแต่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา เปิดให้บริการ พ.ศ.2525 ยังไม่เคยปรับปรุงครั้งใหญ่ ทำให้สภาพปัจจุบันชำรุดตามกาลเวลา ประกอบกับลักษณะกายภาพของเมืองไชยา เปลี่ยนไปจากเดิม มีการปรับพื้นที่ขยายถนนด้านหน้า ทำให้พื้นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์มีสภาพเป็นที่ลุ่ม น้ำท่วมขังเกือบทุกปี ส่งผลกระทบต่อโบราณวัตถุที่จัดแสดงและตัวอาคารพิพิธภัณฑ์เป็นอย่างมาก ตามโครงการฯ จะดำเนินการซ่อมปรับปรุงพัฒนาอาคารหลังเดิม และสร้างอาคารจัดแสดงเพิ่ม 1 หลัง พัฒนาการจัดแสดงนิทรรศการภายใน รวมทั้งปรับปรุงภูมิทัศน์ สิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อรองรับพื้นที่ใช้สอยส่วนต่าง ๆ ตามมาตรฐานพิพิธภัณฑ์ในระดับสากล สร้างความภาคภูมิใจแก่คนในชาติ และเป็นแหล่งศึกษามรดกวัฒนธรรมที่สำคัญของนักเรียน นักศึกษา ประชาชน นักท่องเที่ยวต่อไป

อวดโฉมโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ในจ.สุราษฎร์ธานี  

 

       สิ่งของที่จัดแสดงนิทรรศการ มีตั้งแต่โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และข้อมูลทางวิชาการ แสดงถึงพัฒนาการทางโบราณคดีประวัติศาสตร์ใน จ.สุราษฎร์ธานี โดยเฉพาะสมัยศรีวิชัยที่ปรากฏหลักฐานว่า เมืองไชยามีบทบาทสำคัญในฐานะศูนย์กลางทางศาสนาและการค้าที่สำคัญแห่งหนึ่งของอาณาจักรศรีวิชัยแล้ว

       “ ในอาคารพิพิธภัณฑ์หลังใหม่จะให้ความสำคัญบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับท่านพุทธทาส ที่มีคุณูปการต่องานโบราณคดีและการอนุรักษ์มรดกศิลปวัฒนธรรมในฐานะผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยาท่านแรกเพิ่มเติมด้วย “ ประทีป กล่าวแนวคิดพัฒนาพิพิธภัณฑ์

การจัดแสดงนิทรรศการ เพิ่มเติมบอกเล่าเรื่องราวท่านพุทธทาสภิกขุ  

 

      การลงพื้นที่ครั้งนี้ อธิบดี ศก.มอบนโยบายแก่ ผอ.สำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช  ภัณฑารักษ์ และนักโบราณคดี ผู้รับผิดชอบการจัดทำบทจัดแสดงนิทรรศการ ให้นำองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่ได้จากการดำเนินงานทางโบราณคดีในพื้นที่ จ.สุราษฎร์ธานีและใกล้เคียง มานำเสนอเล่าเรื่องราวให้น่าสนใจ รวมทั้งสำรวจ รวบรวม โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุที่พบในสุราษฎร์ธานี ซึ่งปัจจุบันจัดแสดงหรือเก็บรักษาในคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติต่าง ๆ มาจัดแสดงประกอบในนิทรรศการ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา อาจเป็นการขออนุมัติเคลื่อนย้ายกลับมาจัดแสดงถาวร หรือการยืมระหว่างพิพิธภัณฑ์เป็นครั้งคราวตามความเหมาะสม

       ทั้งนี้ ระหว่างการปรับปรุงและก่อสร้างอาคารหลังใหม่ พิพิธภัณฑ์ยังเปิดให้บริการผู้เข้าชมในอาคารจัดแสดงหลังที่ 1 ตามปกติ โดยงดเว้นการเก็บค่าธรรมเนียมการเข้าชม ก็หวังว่า เมื่อเสร็จสมบูรณ์พิพิธภัณฑ์ไชยาจะเป็นพื้นที่สำคัญของชาติอีกครั้ง

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"