โตเกียวเกมส์ 2020 สุดยอดอีเวนท์มหกรรมกีฬารักษ์โลก


เพิ่มเพื่อน    

 

ใครๆก็ทราบว่า โอลิมปิกเกมส์ 2020 ที่กรุงโตเกียวในครั้งนี้ นั้นเจ้าภาพญี่ปุ่น ได้เน้นถึงเรื่องกระแส รักษ์โลก ชัดเจน โดยวัสดุที่นำมาใช้ในช่วงระหว่างการแข่งขัน สามารถนำไปรีไซเคิล ใช้ใหม่ได้ รวมไปถึงของที่ระลึกให้นักกีฬา ไม่ว่าจะเป็นเหรียญรางวัล หรือ ดอกไม้ที่ระลึก เตียงนอน หรือ แม้กระทั่งสนามกีฬา 

 


เหรียญรางวัลทำจาก มือถือ และ แล็ปท็อปเก่า

ทาง ฮิโตมิ คามิซาวะ  โฆษกประจำการแข่งขันโอลิมปิกเกมส์ 2020 เปิดเผยถึงเหรียญรางวัลในครั้งนี้ ว่าทำมาจากโทรศัพท์มือถือ และ แล็ปท็อปเก่าที่ประชาชนร่วมบริจาค กว่า 6,210,000 เครื่อง น้ำหนักรวมกันเกือบ 80 ตัน ผลิตออกมาเป็นเหรียญรางวัลทั้งหมด  5,000 เหรียญ  ซึ่งฝ่ายจัดมองว่านี่เป็นอีกหนึ่งแคมเปญที่พวกเขาประสบความสำเร็จเพราะได้รับความร่วมมือจากประชาชนช่วยบริจาคเข้ามาจำนวนมาก


ช่อดอกไม้ให้กับผู้ชนะ 

ที่น่าสนใจและมีความหมายเป็นพิเศษเพราะเป็นดอกไม้ที่มาจากพื้นที่ประสบภัยในแถบตะวันออกของประเทศญี่ปุ่นที่เคยเจอเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิเมื่อปี 2011 ซึ่งมีผู้เสียชีวิตไปกว่า 19,000 คน ช่อดอกไม้จำนวน 5,000 ช่อที่ผลิตโดยสภาดอกไม้แห่งญี่ปุ่น หรือ เอ็นเอฟซี เพื่อใช้ทั้งในมหกรรมโอลิมปิกและต่อเนื่องไปถึงการแข่งขันพาราลิมปิกที่กรุงโตเกียวด้วย  ดอกไม้ที่อยู่ในช่อนี้ ได้แก่ ดอก ยูสโทมา และดอกเง็กเต็ก จากจังหวัด ฟุกูชิมะ ดอกทานตะวันจาก จังหวัดมิยางิ  ดอกเจนเชียน จากอิวาเตะ และ ใบต้นบัวดอย จากโตเกียว


'แท่นรับรางวัล'จากขยะพลาสติก

สำหรับแท่นรับรางวัลนี้  เกิดมาจากขวดพลาสติกและบรรจุภัณฑ์พลาสติกของสินค้าอุปโภคที่ใช้แล้วซึ่งประชาชน ร้านค้า โรงเรียน องค์กรต่าง ๆ และบริษัท P&G ได้ให้การสนับสนุนในการเก็บรวบรวมในระยะเวลา 9 เดือน น้ำหนักกว่า 24.5 ตัน แท่นรับรางวัลจึงเกิดจากการนำลูกบาศก์ที่ทำจากพลาสติกรีไซเคิลหลายลูกมาเรียงต่อกัน ซึ่งมีความแข็งแรง และรับน้ำหนักได้ดี

คบเพลิงโอลิมปิก

ไฮไลท์ของพิธีเปิดการแข่งขัน คือ คบเพลิง ซึ่งในครั้งนี้ เจ้าภาพ อย่างญี่ปุ่น ได้จัดทำคบเพลิง ด้วยการขึ้นรูปจากแผ่นอะลูมิเนียมแผ่นเดียวด้วยเทคโนโลยีเดียวกับการผลิตรถไฟความเร็วสูงชินคันเซ็น  โดยดีไซน์ได้แรงบันดาลใจจากรูปทรงของดอกซากุระบาน  และกว่า  30%  ของคบเพลิงเป็นอะลูมิเนียมรีไซเคิลที่เคยใช้สร้างที่พักชั่วคราวให้แก่ผู้ประสบภัยในเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิบริเวณภูมิภาคโทโฮคุเมื่อ ค.ศ.2011  นอกจากนี้ยังเป็นครั้งแรกของประวัติศาสตร์การแข่งขันโอลิมปิกที่ใช้ไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิงในการจุดคบเพลิงเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เชื้อเพลิงไฮโดรเจนผลิตจากพลังงานหมุนเวียนที่โรงงานในเมืองนามิเอะ จังหวัดฟูกูชิมะ ซึ่งเป็นสถานที่ที่เคยได้รับผลกระทบอย่างหนักจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิและอุบัติเหตุนิวเคลียร์ที่โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ฟูกูชิมะไดอิจิ ด้วยเช่นเดียวกัน

 

'หมู่บ้านนักกีฬา' กับเตียงกระดาษ

ความแปลกใหม่ของการแข่งขันในครั้งนี้ ก็คือ  เตียงนอนภายในห้องพักนักกีฬาที่ทำมาจากกล่องกระดาษรีไซเคิล ขณะที่ อาคารอเนกประสงค์ หรือ Village Plaza ที่มีขนาด 5,300 ตารางเมตร ภายในหมู่บ้านนักกีฬายังสร้างจากไม้แปรรูปจำนวนกว่า 40,000 ชิ้นที่ได้รับการบริจาคจากเทศบาล 63 แห่งทั่วประเทศ ไม้แต่ละชิ้นจะประทับชื่อของเทศบาลที่บริจาค ซึ่งเมื่อหลังจบการแข่งขัน ก็จะรื้อถอนอาคารอเนกประสงค์ ไม้เหล่านี้จะส่งกลับคืนไปยังหน่วยงานเทศบาลที่บริจาคเพื่อนำไปใช้ซ้ำหรือรีไซเคิลให้เกิดประโยชน์กับคนในชุมชน 


“สนามกีฬา” จากคอนกรีตรีไซเคิล

Musashino Forest Sports Plaza ซึ่งเป็นสถานที่ใช้ในการแข่งขันกีฬาฟันดาบและแบดมินตันใช้คอนกรีตจากมวลรวมรีไซเคิล (Recycled Aggregate Concrete) เพื่อลดปริมาณเศษวัสดุคอนกรีตจากการก่อสร้างและทดแทนวัสดุหินที่มีอยู่ตามธรรมชาติ รวมถึงการใช้เหล็ก กระเบื้องและพื้นไวนิลรีไซเคิล ส่วนสนาม Oi Hockey Stadium สถานที่สำหรับการแข่งขันกีฬาฮอกกี้ใช้หญ้าเทียมที่ทำมาจากวัสดุชีวภาพคือเส้นใยของอ้อยที่เหลือทิ้งจากการเกษตรซึ่งช่วยลดการใช้น้ำถึงสองในสามเมื่อเปรียบเทียบกับสนามฮอกกี้เดิมที่เคยใช้จัดการแข่งขันโอลิมปิกที่ผ่านมา


ข้อมูลจาก  https://olympics.com/tokyo-2020/en/paralympics/news/key-sustainability-projects-para
รูปภาพโดย ©Tokyo 2020


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"