'อว.' รับมอบระบบบริหารจัดการผู้ป่วยรอเตียง แพทย์คนเดียวดูแลผู้ป่วยนับร้อยผ่านแอพฯ ใช้จริงสัปดาห์หน้า


เพิ่มเพื่อน    


29ก.ค.64-ที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) - นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีอว. เป็นประธานรับมอบระบบบริหารจัดการผู้ป่วยรอเตียง(Patient Waitlist Management System – PWMs) จากนายอดุลย์ เขียวบริบูรณ์ ประธานคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35 ที่ร่วมกับบริษัทหัวเว่ย เทคโนโลยี ประเทศไทย จำกัด จำนวน 2 เครื่อง

โดยนายเอนก กล่าวว่า ตนขอขอบคุณนายอดุลย์ ที่ซื้อเทคโนโลยีดังกล่าวจากบริษัทหัวเว่ย เทคโนโลยี ประเทศไทย จำกัด แล้วนำมาบริจาคให้ อว. โดยระบบนี้ จะช่วยเบาแรงหมอ พยาบาลและ บุคลากรทางการแพทย์ เพราะไม่จำเป็นที่หมอ พยาบาลและบุคลาการทางการแพทย์จะต้องเดินทางไปดูแลผู้ป่วยด้วยตัวเองทุกบ้าน เพียงแค่บริหารผ่านระบบบริหารจัดการผู้ป่วยรอเตียง โดยผู้ป่วยสามารถช่วยตัวเองได้ ซึ่งเหมาะสมกับช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด – 19 ทั้งนี้ อว.จะวางแผนนำระบบบริหารจัดการผู้ป่วยรอเตียงไปใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยระบบนี้จะพัฒนาต่อและเริ่มให้ใช้จริงในสัปดาห์หน้า

“ประเมินกันว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดจะรุนแรงไปอีก 4 – 6 สัปดาห์ จากนั้นทุกอย่างจะดีขึ้น หน้าที่ของคนไทยในวันนี้คือต้องช่วยกัน เช่น ที่นายอดุลย์ เขียวบริบูรณ์ เข้ามาช่วยสู้ภัยโควิด ขณะที่ อว. มีโรงพยาบาล โรงเรียนแพทย์ กว่า 20 แห่ง มีหมอ พยาบาล เจ้าหน้าที่เทคนิคต่างๆ ที่ถือว่าดีที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ พร้อมเป็นกองหนุนช่วยในสงครามสู้โควิดและพร้อมเป็นทัพหลังที่มีคุณภาพและพร้อมที่จะให้ความร่วมมือและรับความช่วยเหลือจากทุกฝ่าย”รมว.อว. กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับ“ระบบบริหารจัดการผู้ป่วยรอเตียง” เป็นระบบที่ผสมผสานความร่วมมือระหว่างผู้ป่วยและแพทย์ โรงพยาบาล โรงพยาบาลสนาม หรือสถานดูแลสุขภาพฉุกเฉิน โดยระบบนี้จะอาศัยความร่วมมือของผู้ป่วยในการนำเข้าข้อมูลผ่านแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือ เพื่อรายงานข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วย เช่น อุณหภูมิ ออกซิเจนในเลือด ความดันเลือด หรืออาการผิดปกติต่างๆ เช่น มีไข้ ไอ เจ็บคอ เหนื่อยหอบ หายใจลำบาก ไม่รับรู้รสหรือกลิ่น มีผื่นคัน เป็นต้น เข้าไปในระบบฐานข้อมูล โดยที่แพทย์สามารถวิเคราะห์หรือวินิจฉัยอาการคนไข้เพื่อที่จะดำเนินการรักษาไม่ว่าจะให้คำปรึกษา ส่งยา เวชภัณฑ์ ไปให้คนไข้ที่บ้านหรือส่งรถพยาบาลไปรับคนไข้เข้าสู่ระบบโรงพยาบาล ในกรณีที่คนไข้มีอาการหนัก 

นอกจากนี้ คนไข้สามารถแจ้งสถานะฉุกเฉินของคนไข้เพื่อให้แพทย์ทราบ โดยที่แพทย์สามารถดูแนวโน้มข้อมูลสุขภาพและอาการผิดปกติย้อนหลัง ก่อนที่จะให้คำปรึกษาแบบ Video Conference ผ่านระบบนี้อย่างมีประสิทธิภาพ เราจึงสามารถดูแลผู้ป่วยผ่านระบบนี้ โดยที่สามารถเฝ้าดูอาการของผู้ป่วยได้ตลอดเวลาหรือ real time ทำให้แพทย์เพียงไม่กี่คน สามารถดูแลคนไข้หรือผู้ป่วยได้หลายร้อยคนในเวลาเดียวกัน อีกทั้งลดความเสี่ยงของผู้ป่วยอาการน้อยหรือไม่แสดงอาการ โดยเฉพาะผู้ป่วยสูงอายุหรือโรคเรื้องรัง ไม่ต้องเข้าโรงพยาบาล ซึ่งเป็นการเสี่ยงที่จะรับเชื้อเพิ่มเติมจากผู้ป่วยรายอื่นๆ ในระบบโรงพยาบาลได้อีกด้วย

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"