โคราชติดโควิดนิวไฮพรวด 562 ราย ดับอีก 1 คลัสเตอร์โรงงานแปรรูปไก่ 2 แห่งติดเพียบ


เพิ่มเพื่อน    

 

6 ส.ค.64- ที่ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ตอบโต้โรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโลนา 2019 ห้องประชุมสำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดนครราชสีมา นายศักดิ์สิทธิ์ สกุลริขเรศสีมา รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา และนายกรกต ธำรงวงศ์สวัสดิ์; รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา พร้อมด้วยนายแพทย์วิชาญ คิดเห็น รอง นายแพทย์สาธารณสุขจ.นครราชสีมา ประชุมคณกรรมการโรคติดต่อจังหวัดนครราชสีมา โดยมีแพทย์หญิงอารีย์ เชื้อเดช รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดฯรายงานสถานการณ์คลัสเตอร์ที่ต้องจับตามอย่างใกล้ชิด

ล่าสุดของจังหวัดนครราชสีมาพบผู้ป่วยติดเชื้อรายใหม่นิวไฮใหม่ จำนวน 562 ราย ซึ่งถือว่าเป็นสถิติสูงสุดใหม่ โดยเป็นผู้ติดเชื้อจากนอกจังหวัด จำนวน 359 ราย ติดเชื้อในจังหวัด จำนวน 209 ราย และเสียชีวิต 1 ราย รวมยอดผู้ป่วยสะสมทั้งหมด จำนวน 9,471 ราย รักษาหายแล้ว จำนวน 3,990 ราย ยังรักษาอยู่ จำนวน 5,409 ราย ผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 1 ราย ผู้เสียชีวิตสะสม จำนวน 72 ราย

โดยผู้เสียชีวิตรายที่ 72 เป็นผู้ป่วยโควิด-19 ลำดับที่ 3,512 ของจังหวัด เพศชาย อายุ 47 ปี ชาว ต.สุรนารี อ.เมืองนครราชสีมา มีประวัติสัมผัสผู้ป่วยโควิด-19 วันที่ 19 ก.ค.64 มีอาหารหอบเหนื่อย เข้ารับการรักษาที่ รพ.กรุงเทพราชสีมา ผลตรวจพบเชื้อ วันที่ 21 ก.ค.64 ส่งรักษาต่อที่ รพ.มหาราชนครราชสีมา อาการไม่ดีขึ้น และเสียชีวิตลงเมื่อเวลา 10.15 น.ของวันที่ 5 ส.ค.64.   

 โดยวันนี้( 6 ส.ค. 64 ) สถานการณ์ covid-19 จังหวัดนครราชสีมา รายงานผู้ป่วยรายใหม่ที่พบติดเชื้อมากที่สุด ติดเชื้อนอกจังหวัด 359 ราย ติดเชื้อในจังหวัด 203 ราย ส่วนอำเภอที่พบผู้ป่วยรายใหม่มากที่สุดคือ อ.ปากช่อง 88 ราย , อ.โนนสูง 65 ราย , อ.เทพารักษ์ 63 ราย , อ.เมือง 61 ราย , อ.ขามสะแกแสง 30 ราย , อ.โชคชัย 30 ราย , อ.จักราช 26 ราย , อ.พระทองคำ 24 ราย , อ.ชุมพวง 23 ราย , อ.คง 22 ราย , อ.สีคิ้ว 20 ราย นอกนั้นแต่ละอำเภอไม่ถึง 20 – 1 ราย  สรุปความเสี่ยง มาจากพื้นที่เสี่ยง/ประวัติสัมผัส รวม 481 ราย กทม.มากที่สุด 174 ราย ส่วนผู้ป่วยจาก รวม 76 ราย กทม.

 
ทั้งนี้จากกรณีที่ชาวบ้าน อ.โชคชัย ได้ตื่นตระหนกและหวาดกลัวคลัสเตอร์โรงงานแปรรูปเนื้อไก่ขนาดใหญ่ 2 แห่งใน อ.โชคชัย ซึ่งมีลูกจ้างรวมกว่า 1 หมื่นคน โดยมีคลัสเตอร์โรงงานแปรรูปเนื้อไก่ที่แรก พบผู้ติดเชื้อจำนวน 56 ราย รักษาตัวอยู่ที่ รพ.โชคชัย 6 ราย และกักตัวภายในโรงงานภายใต้การกำกับดูแล 50 ราย  โดยสาเหตุเกิดจาก มีการปนเปื้อนของเชื้อบริเวณจุดสัมผัสที่นั่งรับประทานอาหารและจุดเปลี่ยนรองเท้า ขณะนี้โรงงานได้ค้นหาเชิงรุกตรวจหาเชื้อลูกจ้าง 3,260 ราย จากจำนวนทั้งหมด 8,000 คน อยู่ระหว่างดำเนินการตรวจให้ครบทั้งหมด ขณะที่อีกแห่ง ติดเชื้อทั้งลูกจ้างคนไทยและคนลาว ขยายวงครอบครัว หลังพบผู้ป่วยรายแรก โรงงานได้ตรวจหาเชื้อกลุ่มเสี่ยงสูงจำนวน 300 ราย พบเชื้อ 60 ราย อยู่ระหว่างกักตัวภายในหอพักโรงงาน 57 ราย มีอาการหนักรักษาตัวที่ รพ.โชคชัย 2 ราย กักตัวที่บ้านพัก 1 ราย ล่าสุดได้ตรวจหาเชื้อแผนกอื่น ๆ อีกจำนวน 799 ราย พบเชื้อ 11 ราย

 ล่าสุดนายสมชาย อำพันกาญจน์ นายอำเภอโชคชัย พร้อมด้วยสาธารณสุขอำเภอโชคชัย สาธารณสุขอำเภอหนองบุญมาก ตัวแทนสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา เทศบาลตำบลท่าเยี่ยม กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ตำบลท่าเยี่ยม ร่วมประชุมกับ ผู้บริหารบริษัท โรงงานดังกล่าว  เพื่อรับฟังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และแนวทางการแก้ไขปัญหา พร้อมนี้ได้รับฟังปัญหาและความต้องการของชุมชน ของประชาชนในพื้นที่ โดยผ่าน ผอ.รพ.สต.ในพื้นที่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน โดยมีข้อสรุป ดังนี้

 1. บริษัทฯ ควบคุมการแพร่ระบาดโดยใช้มาตรการ Bubble and Seal เป็นการจำกัดพื้นที่ให้พนักงานอยู่ภายในที่พักอาศัยที่ทางโรงงานจัดหาให้ โดยมีรถรับ-ส่ง ที่พักและโรงงาน เพื่อเป็นการควบคุมไม่ให้พนักงานออกนอกพื้นที่

 2. การดูแลผู้ติดเชื้อ ทางโรงงานจะนำผู้ติดเชื้อเข้ารักษาใน community isolation (CI) ของโรงงาน โดยทางโรงงานจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์ในเบื้องต้นให้กับผู้ติดเชื้อ เช่น เครื่องวัดความดัน วัดออกซิเจน ยารักษาโรคทั้งแผนปัจจุบันและแผนไทย โดยการดูแลของ รพ.โชคชัย กรณี มีอาการฉุกเฉินจะนำส่ง รพ. เพื่อรักษาต่อไป

 3. การดูแลคนในชุมชนซึ่งเป็นบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับผู้ติดเชื้อ เมื่อพบว่ามีผู้สัมผัสผู้ป่วยในโรงงานต้องทำการกักตัว ทางโรงงานจะจัดหาเครื่องอุปโภคบริโภคไปมอบให้ เพื่อลดภาระของชุมชนในการดูแลผู้ที่ถูกกักตัว

4. กรณี พนักงานในโรงงานหยุดงานเนื่องจากเกรงว่าจะติดเชื้อ ทางโรงงานยังคงรักษาสถานภาพของพนักงาน เมื่อสถานการณ์ดีขึ้นสามารถกลับมาทำงานได้ตามปกติ

5. โรงงานมีความีความพร้อมในการใช้พื้นที่ภายในโรงงานเปิดเป็นโรงพยาบาลสนาม

 6. โรงงานมีความเห็นว่าหากปิดโรงงานจะเกิดการแพร่ระบาดเพิ่มมากขึ้น เนื่องจาก พนักงานจะต้องกลับไปพักอาศัยในชุมชนอาจนำเชื้อโควิด-19 ไปแพร่ระบาดในชุมชนได้ จึงเห็นว่า ยังคงเปิดโรงงานและใช้มาตรการ Bubble and Seal เพื่อไม่ให้เชื้อระบาดไปภายในชุมชน

 แพทย์หญิงอารีย์ เชื้อเดช รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคมีแนวโน้มสูงขึ้นแต่ยอดผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นเกินครึ่งมาจากพื้นที่เสี่ยงและเป็นผู้ป่วยจากนอกพื้นที่เข้ามารักษาในจังหวัดฯ โดยคลัสเตอร์ที่สำคัญวันนี้(6 ส.ค.) มีด้วยกัน 7 คลัสเตอร์  ที่ต้องเฝ้าระวัง และต้องเร่งควบคุมการระบาดให้ได้ ซึ่งคลัสเตอร์ที่ 1 คลัสเตอร์ บริษัทอาหาร จ.สระบุรี ผู้ป่วยอยู่ที่ อ.ด่านขุนทดติดเชื้อแล้ว 38 รายพบวงของครอบครัวเพิ่มอีก 1 ราย และพบในพื้นที่ อ.ปากช่องอีก รวมทั้งสิ้นพบ 57 ราย , คลัสเตอร์เปตอง อ.ด่านขุนทดพบติดเชื้อรวม 21 คน ,  คสัสเตอร์ ทหารอากาศ กองบิน 1 อ.เมืองนครราชสีมา กลุ่มเสี่ยงสูงเป้นทหาริอากาศติดเชื้อเพิ่ม 1 ราย โดยมีการติดรวม 23 ราย โดยตอนี้อยู่ในการดูแลของ รพ.กองบิน โดยเฉพาะคลัสเตอร์ที่สำคัญขณะนี้คือ คลัสเตอร์ โรงงานแปรรูปไก่  อ.โชคชัย  โรงงานมีการซีลพนักงาน 2,000 คน และผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อ(PCR) ข้อมูล ณ วันที่ 5 ส.ค. ผู้ป่วยยืนยันทั้งหมด 110 ราย อยู่ในวงของพนักงาน 109 ราย และวงของครอบครัวมีเพียง 1 ราย ซึ่งทางโรงงานได้มีการค้นหาเชิงรุกในกลุ่มเสี่ยงทั้งหมด ตรวจ 5 ครั้งในกลุ่ม 107 รายเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง แต่การติดเชื้อเป็นแบบกระจุก ไม่มีการกระจาย วันที่ 1 – 2 และ 4 ส.ค. รวมพบติดเชื้อ 54 ราย และ วันที่ 5 ส.ค. อีก 53 ราย

โดยมีการกระจายไปยัง อ.โชคชัย , อ.ครบุรี , อ.สูงเนิน , อ.ปักธงชัย , อ.เสิงสาง , อ.หนองบุญมาก และ จ.บุรีรัมย์ โดยทางโรงงานได้ทำการตรวจเชิกรุกจากพนักงาน 8,000 คนดำเนินการไปได้ 3,260 คนที่เหลืออยู่ระหว่างดำเนินการ ส่วนระบบกักตัวได้ทำการกักตัวแล้ว 119 ราย ซึ่งทางโรงงานได้มีจัดทำ CI ศูนย์กักกันพนักงานและจัดทำแผนทำบับเบิ้ลแอนด์ซิล และทางโรงงานมีสถานที่กักตัว CI จำนวน 2 หอพักสำหรับสีเขียว สีเหลือง ส่วนผู้เสี่ยวงสูงจะมีหอกัก 3 หอรวมจะมี รพ.โชคชัยฯดูแล สำหรับผู้สัมผัสเสี่ยงสูงทั้งหมดทั้งสิ้น 743 รายอยู่ในหอพักของโรงงาน กักตัวของภาครัฐ 238 ราย กับพนักงาน 110 ราย สรุปรวมทั้งสิ้น 987 คน ส่วนที่มีทางชุมชนมีการเสนอขอให้ปิดโรงงาน แต่จะทำให้การแพร่กระจายเชื้อไปมาก โดยทางโรงงานจะทำบับเบิ้ลแอนด์ซิลอยู่แล้วจึงสามารถตกลงกันได้ โดยบับเบิ้ลแอนด์ซิลของภาคเอกชนจะทำทั้งหมด 13 สถานที่กักตัวได้กว่า 3,400 ราย ตามค่ายลูกเสื้อ รีสอร์ท โรงแรมต่างๆ และหอพักใกล้โรงงานที่รับได้กว่า 2,200 ราย และมีการซิลในโรงงงานอีก 3,000 รายโดยใช้โดมติดแอร์ในแอร์เรียของโรงงานและส่วนครอรีดอของโรงงาน รวมทั้งสิ้นจะกักตัวได้ 8,000 คน และการดูแลอาหาร 3 มื้อ ที่นอนหมอนผ้าห่มมีพร้อม โดยในโรงงานมีทั้งสถานที่กักตัวพนักงานและกักรถที่เข้าไปในโรงงาน โดยทางโรงงานได้ทำตามมาตรการเรียบร้อยเป็นไปตามที่ไว้วางไว้  

 
ส่วนคลัสเตอร์ โรงงานแปรรูปไก่อีกแห่ง  ต.กระโทก อ.โชคชัยฯ  ณ วันที่ 5 ส.ค. 64 มีผู้ป่วยยืนยีน 55 ราย เป็นพนักงานวงที่ 1 รวม 43 รายเป็นผู้ป่วยทางเดินหายใจ วงที่ 12 รวม 12 ราย เดินทางไปรักษาด้วยตัวเองที่โรงพยาบาล 39 ราย ผู้สัมผัสเสี่ยงสูงผู้ที่เดินทางไปรักษาที่ โรงพยาบาล 16 ราย  แยกเป็นพนักงาน 4 ราย ครอบครัว 12 ราย ทางโรงงานได้ทำ เอทีเคให้พนักงาน 4,238 ราย พนักงานกว่า 6,000 คน การกระจายไปที่ อ.ครบุรี , อ.วังน้ำเขียย, อ.ปักธงชัย , อ.พระทองคำ และ อ.โชคชัย   และมีการดิวกับโรงแรมในจังหวัดเพื่อกักตัวพนักงาน โดยมีการค้นหาเชิงรุกพนักงานในพื้นที่  ใน อ.โชคชัยฯเป็นวง สองในครอบครัว รวม 7 ราย , วงสอง อ.ปักธงชัย ครอบครัว 5 ราย รวม 12 ราย โรงงานทำบับเบิ้ลแอนด์ซิล 33 สถานที่ รวม 5,800 คน มี อ.ครบุรี , อ.ปักธงชัย , อ.เมือง , อ.ปากช่อง โดยจะต้องประสานในการขออนุญาติจากทุกอำเภอในการใช้สถานที่ทำบับเบิ้ลแอนด์ซิล ซึ่งอยู่ระหว่างการประสานงานการติดต่อต่อไป   

 
ขณะที่ที่สำนักงานศูนย์คนโคราชรักจริงไม่ทิ้งกัน พรรคชาติพัฒนา อ.เมือง จ.นครราชสีมา นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ประธานที่ปรึกษาศูนย์คนโคราชรักกันจริงไม่ทิ้งกันได้วีดีโอคอนเฟอเร้นมายังที่ทำการศูนย์ฯ โดยมีนายแพทย์วรรณณัตน์ ชาญนุกูล ผู้อำนวยการศูนย์ฯ , นายประเสริฐ บุญชัยสุข  นายกเทศมนตรีนครนครราชสีมา , นายวัชรพล โตมรศักดิ์ ส.ส.นครราชสีมา ผู้นำชุมชน ประธานชุมชน อสม. ได้ร่วมกันรับมอบการแจกต้นฟ้าทะลายโจร จำนวน 12,000 ต้น แก่พี่น้องประชาชนชาว จ.นครราชสีมาในการนำไปปลูกและขยายต่อยอด เพื่อสู้ภัยโควิด-19  

 ส่วนที่ศูนย์ฉีดวัคซีนที่ห้อง MCC HALL ชั้น 4 ศูนย์การค้าดอะมอลล์ นครราชสีมา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา รพ.เทพรัตน์ฯ ได้ประกาศให้ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไปมีบัตรประชาชนภูมิลำเนาในเขตอำเภอเมืองนครราชสีมาที่ประสงค์รับวัคซีนสูตร ชิโนแวคเข็ม 1 และแอสต้าเซนิก้า เข็ม 2 สามารถลงทะเบียนรับวัคซีนหน้างาน แบบ Walk-in เป็นวันที่ 2 มีพระภิกษุสงฆ์ 20 รูป จากวัดใน อ.ครบุรี พี่น้องประชาชน ผู้สูงอายุทยอยเดินทางไปฉีดวัคซีนกันตามจำนวนรวม 500 คน โดยบุคลากรทางการแพทย์ รพ.เทพรัตน์ฯ เปิดบริการแบบฉีด Walk-in ไม่ต้องลงทะเบียน ในกลุ่มอายุ 65 ปีขึ้นไปและกลุ่มน้ำหนักตัวมากกว่า 100 กิโลกรัม และกลุ่มสตรีอายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์ และต้องเป็นคนที่มีบัตรประชาชนอยู่ในจังหวัดนครราชสีมา โดยบริการวัคซีนที่ใช้ฉีดเป็น ชิโนแวค เข็ม 1 และ แอสต้าเซนิก้า เข็ม 2 บรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคั


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"