ยื่นฝากขัง‘อานนท์ นำภา’มาตรา112


เพิ่มเพื่อน    

11 ส.ค. 2564 - พ.ต.ต.เวียงแก้ว สุภาการณ์ พนักงานสอบสวน สน.ปทุมวัน ยื่นคำร้องฝากขังทางไกลผ่านจอภาพ นายอานนท์ นำภา อายุ 36 ปีผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญากรุงเทพใต้ที่ในความผิดฐาน หมิ่นประมาทดูหมิ่นสถาบันฯ เเละข้อหาอื่นๆ ไปยื่นคำร้องขอฝากขังครั้งเเรกเป็นเวลา  12 วันตั้งเเต่วันที่ 11-22 ส.ค.
เนื่องจากการสอบสวนยังไม่เสร็จสิ้นต้องสอบสวนปากคำพยานอีก 10 ปาก และรอผลการตรวจลายพิมพ์นิ้วมือผู้ต้องหา

คำร้องระบุพฤติการณ์สรุปว่า ในวันที่วันที่ 3 ส.ค.2564 เวลา 16.00 น.ที่ลานด้านหน้าหอศิลปะกรุงเทพฯ มีกิจกรรมการชุมนุมเสกคาถาผู้พิทักษ์ปกป้องประชาชน เวลาประมาณ 17.34 น.-18.09 น. ในระหว่างดำเนินกิจกรรมการชุมชุนดังกล่าว ผู้ต้องหาได้กล่าวปราศรัยดูหมิ่นใส่ความหมิ่นประมาทสถาบันฯ ผ่านเครื่องขยายเสียงบนรถยนต์กระบะด้วยเจตนาให้เสื่อมพระเกียรติถือเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ต่อมาหลังเกิดเหตุพนักงานสอบสวน สน.ปทุมวัน ได้รับคำร้องทุกข์ไว้

วันเกิดเหตุผู้กล่าวหาที่ 2 ได้รับชมการถ่ายทอดสดการปราศรัยของผู้ต้องหาผ่านเฟซบุ๊ก และเห็นว่าข้อความที่ผู้ต้องหาปราศรัยในวันเกิดเหตุเป็นการหมิ่นประมาทดูหมิ่นสถาบันฯ จึงมาร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน เพื่อให้ดำเนินคดีกับผู้ต้องหาให้ได้รับโทษในความผิดตามประมวลกฎหมายมาตรา 112 อีกฐานหนึ่งด้วย

ต่อมาพนักงานสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐาน และขอศาลอาญากรุงเทพใต้อนุมัติออกหมายจับลงวันที่ 9 ส.ค.2564 และในวันเดียวกันได้ทำการจับกุมผู้ต้องหาได้ตามหมายจับดังกล่าว ส่งพนักงานสอบสวน สน.ปทุมวันดำเนินคดี ต่อมาพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมให้ผู้ต้องหาทราบว่า ร่วมกันฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯมาตรา 9 (2) ตามประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคงเรื่องห้ามการชุมนุม การทำกิจกรรมการมั่วสุมที่ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา โดยร่วมกันชุมนุมหรือทำกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรคในพื้นที่ที่มีประกาศหรือคำสั่งกำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด และเข้มงวด, ตามประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่องสั่งปิดสถานที่ชั่วคราว (ฉบับที่ 36) โดยร่วมกันจัดกิจกรรมรวมกลุ่มของบุคคลที่มีจำนวนรวมกันมากกว่าห้าคน”

ในชั้นสอบสวนผู้ต้องหาให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา

เหตุเกิดที่บริเวณหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร  ถนนพระรามที่ 1 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 3 ส.ค.64 ระหว่างเวลาประมาณ 15.30-19.10 น. การกระทำของผู้ต้องหาเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112,83 พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มาตรา 9 (2) ตามประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคงเรื่องห้ามการชุมนุม การทำกิจกรรม การมั่วสุมที่ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา  โดยร่วมกันชุมนุมหรือทำกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรคในพื้นที่ที่มีประกาศหรือคำสั่งกำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด, ตามประกาศกรุงเทพมหานครเรื่องสั่งปิดสถานที่ชั่วคราว (ฉบับที่36) โดยร่วมกันจัดกิจกรรมรวมกลุ่มของบุคคลที่มีจำนวนรวมกันมากกว่าห้าคน”

ท้ายคำร้องระบุว่า หากผู้ต้องหายื่นคำร้องขอประกันตัวพนักงานสอบสวนขอคัดค้านการประกันตัวว่าหากผู้ต้องหาได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวแล้ว ผู้ต้องหาจะไปทำการก่อเหตุอันตรายประการอื่นเนื่องจากตามเนื้อหาในการปราศรัยของผู้ต้องหาจากบันทึกการถอดเทปกลุ่มผู้ชุมนุมกิจกรรมเสกคาถาแฮรี่พอตเตอร์ เป็นการกล่าวถึงสถาบันฯ อันเป็นที่เคารพรักของประชาชนไทยในลักษณะที่เป็นการดูหมิ่นหมิ่นประมาทอันเป็นการกระทำที่มิบังควรอย่างยิ่ง ในฐานะประชาชนชาวไทยภายใต้พระบรมโพธิสมภารคนหนึ่ง ถือเป็นการกระทำความผิดอันร้ายแรง ผู้ต้องหามีความรู้ด้านกฎหมายและประกอบอาชีพทนายความ ยิ่งต้องเข้าใจว่าการกระทำของตนเองเป็นการลบหลู่ดูหมิ่นสถาบันฯ อันเป็นความผิด นอกจากนี้ผู้ต้องหาได้กระทำความผิดในลักษณะเดียวกันนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ไม่ได้ยำเกรงต่อกฎหมายบ้านเมือง แต่อย่างใด

หากปล่อยไปสามารถกระทำผิดในลักษณะดังกล่าวโดยไม่ได้รับการพิจารณาโทษ จะยิ่งเป็นเยี่ยงอย่างให้บุคคลอื่นกระทำตาม จะยิ่งกระทบถึงพระเกียรติคุณสถาบัน อีกทั้งยังเป็นการกระทำผิดเงื่อนไขของศาลอาญาในคดีหมายเลขดำที่ อ. 287/2564 ที่อนุญาตปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหานี้เมื่อวันที่ 1 มิ.ย.64  โดยกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ต้องหาไม่ไปกระทำกิจกรรมที่กระทำความเสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และไม่ร่วมการชุมนุมที่อาจก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมืองอีกด้วย  และด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด  อันเป็นสถานการณ์ฉุกเฉินในประเทศ พบว่ามีผู้ติดเชื้อรายใหม่ ซึ่งยังไม่แสดงอาการ แต่สามารถแพร่เชื้อโรคได้ในอัตราเร่งที่สูงมาก และมีผู้เสียชีวิตจำนวนมากได้ทวีความรุนแรงจนเสี่ยงที่จะเกิดภาวะวิกฤตด้านสาธารณสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล และในพื้นที่สี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศประกอบกับเชื้อโรคได้กลายพันธุ์เป็นหลายสายพันธ์ และสามารถแพร่กระจายได้ง่ายอีกทั้งสถานการณ์การแพร่ระบาดในต่างประเทศอัจอาจกระทบต่อประเทศไทยยังอยู่ในระดับที่รุนแรงจนไม่อาจวางใจได้

และหากผู้ต้องหาไม่ได้รับการปล่อยชั่วคราวเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครซึ่งจะรับตัวผู้ต้องหาไปทำการคุมขังนั้นก็มีมาตรการ และขั้นตอนในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด โดยเรือนจำมีประสานกับสำนักงานสาธารณสุขพื้นที่เพื่อตรวจสอบมาตรฐานในการเตรียมรองรับกรณีมีผู้ติดเชื้อได้ทันที, มีการตั้งศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (ศบค.) ประจำเรือนจำ, มีการคัดกรองและตรวจหาเชื้อไวรัสโควิดในผู้ต้องขังหากพบเชื้อให้ X-ray ปอดทุกรายรวมถึงให้ยา และรักษาให้เร็วเพื่อไม่ให้เกิดการระบาดในวงกว้าง, มีการใส่คลอรีนผสมในน้ำสำหรับอาบของผู้ต้องขัง, กรณีผู้ต้องขังป่วยมีการแจ้งให้ญาติทราบเป็นการเฉพาะรายทางโทรศัพท์หรือช่องทางอื่นอีกด้วย  รวมทั้งเชื่อว่าถ้าผู้ต้องหาได้รับการปล่อยชั่วคราวแล้วก็จะไปก่อเหตุอันตรายประการอื่นอีกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 108/1(3) จากเหตุดังกล่าวข้างต้น หากผู้ต้องหายื่นคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวพนักงานสอบสวนขอคัดค้านการปล่อยชั่วคราว

พนักงานสอบสวนมีความประสงค์ขอดำเนินการยื่นคำร้องขอฝากขัง โดยขอให้ศาลสอบถามผู้ต้องหาหรือทำการไต่สวนพยานหลักฐานในการออกหมายขังผู้ต้องหาผ่านระบบการประชุมทางจอภาพในการฝากขังครั้งต่อ ๆ ไปทุกครั้ง
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"